ไทยมีนโยบายลดกำลังการผลิตกุ้งในปีนี้ลง 20% หรือจากที่ผลิตได้ในปี 2550 ปริมาณ 5.3 แสนตัน
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
สมาคมอาหารแช่แข็งขู่นำเข้าดัดหลังผู้เลี้ยงกุ้ง
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งขู่ หันนำเข้าวัตถุดิบแทน หลังจากที่สมาคมกุ้งไทยประกาศลดกำลังการผลิตลง 20% ระบุวัตถุดิบขาดแคลนแน่ ยันราคากุ้งเพิ่มขึ้นสูงมาก “กสิกรฯ” ชี้ตลาดส่งออกสหรัฐแข่งขันรุนแรง เวียดนาม มาเลเซีย เปรูมาแรง
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมกุ้งเหลือเพียง 4.8 แสนตัน เพื่อกระตุ้นราคากุ้งในประเทศให้สูงขึ้น แก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการอาหารแช่เยือกแข็ง โดยวัตถุดิบในการผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการ
นายพจน์กล่าวว่า เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งจะต้องหาวัตถุดิบชนิดอื่นแทน หรือหากจำเป็นจริงๆ ก็ต้องมีการนำเข้าเพื่อรักษาตลาดเอาไว้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งก็มีปัญหาจากต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 20% ไม่รวมผลกระทบจากค่าเงินบาทและราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นไม่สามารถวางแผนการตลาดได้ ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถคาดการณ์ผลประกอบการในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ได้
“ปัจจุบันกุ้ง 50 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 150 บาท ถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก แต่ทางผู้เลี้ยงยังระบุว่าราคาต่ำ เราเองก็ไม่รู้จะรับซื้อได้อย่างไรเพราะต้นทุนการผลิตของเราก็เพิ่มขึ้นมากอยู่แล้ว การต่อรองราคากับผู้นำเข้าทำได้ลำบาก เพราะที่ผ่านมาเราก็ปรับราคาขึ้นสูงมาก” นายพจน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผู้เลี้ยงและผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งไม่สามารถเจรจากันได้ ทางสมาคมฯ จะเสนอให้รัฐบาลเป็นผู้ดูแลและจัดสรรเช่นเดียวกับสินค้าอ้อย ที่รัฐบาลต้องเข้ามารับภาระส่วนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของคลัสเตอร์กุ้งในปี 2550 เป็นที่น่าพอใจแม้จะเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยง โดยสามารถผลิตกุ้งได้ทั้งสิ้น 450,000 ตัน ส่งออก 360,000 ตัน มูลค่า 80,000 ล้านบาท โดยในส่วนของปริมาณเพิ่มขึ้น 5% แต่มูลค่าลดลง 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น เป็นผลมาจากเงินบาทแข็งค่า
นางภคอร ทิพยธนเดชา เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจจุลภาค บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ในปีนี้ตลาดกุ้งคาดว่ายังขยายตัวได้ โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศที่ต้องหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อเลี่ยงผลกระทบค่าเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าถึง 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนตลาดต่างประเทศนั้น ตลาดแคนาดา สหภาพยุโรปหรืออียู และรัสเซีย มีความต้องการมากขึ้น จึงควรหาทางเจาะตลาดเข้าไปเพื่อเลี่ยงการแข่งขันในตลาดสหรัฐที่เวียดนาม มาเลเซียและเปรูเริ่มขยายตลาดส่งออกได้สูงขึ้น ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นไทยได้เปรียบคู่แข่งจากข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือเจเทปาภาษีลดลงเหลือ 0%
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 — 31 ม.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 898.24 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 488.15 ตัน สัตว์น้ำจืด 410.09 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.81 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.62 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.48 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.40 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.90 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
0.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 125.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 1.49 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 108.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.25 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.79 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.29 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.39 บาท ลดลงจากกิโลกละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 — 22 ก.พ. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 18 -24 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
สมาคมอาหารแช่แข็งขู่นำเข้าดัดหลังผู้เลี้ยงกุ้ง
สมาคมอาหารแช่เยือกแข็งขู่ หันนำเข้าวัตถุดิบแทน หลังจากที่สมาคมกุ้งไทยประกาศลดกำลังการผลิตลง 20% ระบุวัตถุดิบขาดแคลนแน่ ยันราคากุ้งเพิ่มขึ้นสูงมาก “กสิกรฯ” ชี้ตลาดส่งออกสหรัฐแข่งขันรุนแรง เวียดนาม มาเลเซีย เปรูมาแรง
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็ง เปิดเผยว่า ตามที่สมาคมกุ้งเหลือเพียง 4.8 แสนตัน เพื่อกระตุ้นราคากุ้งในประเทศให้สูงขึ้น แก้ไขปัญหาต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งนโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบกับผู้ประกอบการอาหารแช่เยือกแข็ง โดยวัตถุดิบในการผลิตมีไม่เพียงพอกับความต้องการ
นายพจน์กล่าวว่า เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งจะต้องหาวัตถุดิบชนิดอื่นแทน หรือหากจำเป็นจริงๆ ก็ต้องมีการนำเข้าเพื่อรักษาตลาดเอาไว้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งก็มีปัญหาจากต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้น 20% ไม่รวมผลกระทบจากค่าเงินบาทและราคาวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้นไม่สามารถวางแผนการตลาดได้ ซึ่งขณะนี้ไม่สามารถคาดการณ์ผลประกอบการในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ได้
“ปัจจุบันกุ้ง 50 ตัวต่อกิโลกรัม ราคา 150 บาท ถือว่าเป็นราคาที่สูงมาก แต่ทางผู้เลี้ยงยังระบุว่าราคาต่ำ เราเองก็ไม่รู้จะรับซื้อได้อย่างไรเพราะต้นทุนการผลิตของเราก็เพิ่มขึ้นมากอยู่แล้ว การต่อรองราคากับผู้นำเข้าทำได้ลำบาก เพราะที่ผ่านมาเราก็ปรับราคาขึ้นสูงมาก” นายพจน์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากผู้เลี้ยงและผู้ผลิตอาหารแช่เยือกแข็งไม่สามารถเจรจากันได้ ทางสมาคมฯ จะเสนอให้รัฐบาลเป็นผู้ดูแลและจัดสรรเช่นเดียวกับสินค้าอ้อย ที่รัฐบาลต้องเข้ามารับภาระส่วนหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดนี้ต้องหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
นายนิวัติ สุธีมีชัยกุล รองอธิบดีกรมประมง กล่าวว่า ผลการดำเนินงานของคลัสเตอร์กุ้งในปี 2550 เป็นที่น่าพอใจแม้จะเผชิญหลายปัจจัยเสี่ยง โดยสามารถผลิตกุ้งได้ทั้งสิ้น 450,000 ตัน ส่งออก 360,000 ตัน มูลค่า 80,000 ล้านบาท โดยในส่วนของปริมาณเพิ่มขึ้น 5% แต่มูลค่าลดลง 5% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น เป็นผลมาจากเงินบาทแข็งค่า
นางภคอร ทิพยธนเดชา เจ้าหน้าที่วิจัยอาวุโส ฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจจุลภาค บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ในปีนี้ตลาดกุ้งคาดว่ายังขยายตัวได้ โดยเฉพาะตลาดภายในประเทศที่ต้องหันมาให้ความสำคัญมากขึ้น เพื่อเลี่ยงผลกระทบค่าเงินบาทที่คาดว่าจะแข็งค่าถึง 32.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนตลาดต่างประเทศนั้น ตลาดแคนาดา สหภาพยุโรปหรืออียู และรัสเซีย มีความต้องการมากขึ้น จึงควรหาทางเจาะตลาดเข้าไปเพื่อเลี่ยงการแข่งขันในตลาดสหรัฐที่เวียดนาม มาเลเซียและเปรูเริ่มขยายตลาดส่งออกได้สูงขึ้น ขณะที่ตลาดญี่ปุ่นไทยได้เปรียบคู่แข่งจากข้อตกลงความร่วมมือหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น หรือเจเทปาภาษีลดลงเหลือ 0%
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (26 — 31 ม.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 898.24 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 488.15 ตัน สัตว์น้ำจืด 410.09 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.81 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.62 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.48 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 26.40 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 53.90 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.78 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 32.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.35 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 56.09 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา
0.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 122.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 123.73 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 125.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 1.49 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 108.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.25 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.79 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 9.29 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.39 บาท ลดลงจากกิโลกละ 6.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 16 — 22 ก.พ. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.70 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.90 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.80 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 18 -24 กุมภาพันธ์ 2551--
-พห-