สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยหลังติดตามงานพัฒนาสินค้าประมงในท้องที่ราชบุรีและนครนายก พบสินค้าประมงน้ำจืดบางชนิดมีอัตราการส่งออกมากขึ้น ทั้งตลาดสหรัฐฯ ยุโรปและรัสเซีย ชี้เพราะการส่งเสริมการเลี้ยงให้มีมาตรฐานและปลอดภัย
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการออกติดตามงานพัฒนาสินค้าประมงให้ได้มาตรฐาน (Food Safety) ในท้องที่จังหวัดราชบุรีและนครนายก พบว่า สินค้าประมงน้ำจืดบางชนิด มีอัตราการส่งออกมากขึ้น สามารถส่งออกได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันตลาดส่งออกปลาน้ำจืดของไทยมีมากขึ้น ทั้งในตลาดสหรัฐฯ ยุโรปและรัสเซีย อันเป็นผลมาจากการส่งเสริมการเลี้ยงปลาน้ำจืดให้มีมาตรฐานความปลอดภัย
จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อให้ไทยเป็นครัวของโลก ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กรมประมง ได้ส่งเสริมให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ทำให้ในปัจจุบันมีฟาร์มเพาะเลี้ยงผ่านการรับรองระดับ Safety Level จำนวน 250 ฟาร์ม และการรับรอง GAP (Good Agriculture Practice) จำนวน 10 ฟาร์ม ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการส่งออกปลาน้ำจืดได้แก่ ปลานิล และปลาสวาย ไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างเช่นกรณีของฟาร์มเลี้ยงปลาของเกษตรกร อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับ Safety Level มีตัวแทนบริษัทจากประเทศเวียดนาม ได้มาติดต่อขอซื้อปลาสวายเพื่อแปรรูปเบื้องต้น (เนื้อปลาสดแช่แข็ง) แล้วส่งไปจำหน่ายในประเทศเวียดนาม จำนวน 205 ตัน ราคาตันละ 13,000 บาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 2.7 ล้านบาท
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการดำเนินงานนโยบายดังกล่าวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้ ผู้ซื้อทั้งในและนอกประเทศ มีความเชื่อถือในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าประมงเพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากฟาร์มเลี้ยงปลาที่ผ่านการรับรองแล้ว ในระดับของผู้รวบรวมปลาน้ำจืดเข้าห้องเย็น จะรวบรวมปลาจากฟาร์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของกรมประมงเท่านั้น จึงมั่นใจได้ว่าปลามีคุณภาพไม่มีปัญหาสารตกค้าง ส่งผลให้ฟาร์มปลามีตลาดรับซื้อเป็นประจำ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการออกติดตามงานพัฒนาสินค้าประมงให้ได้มาตรฐาน (Food Safety) ในท้องที่จังหวัดราชบุรีและนครนายก พบว่า สินค้าประมงน้ำจืดบางชนิด มีอัตราการส่งออกมากขึ้น สามารถส่งออกได้อย่างยั่งยืน ซึ่งในปัจจุบันตลาดส่งออกปลาน้ำจืดของไทยมีมากขึ้น ทั้งในตลาดสหรัฐฯ ยุโรปและรัสเซีย อันเป็นผลมาจากการส่งเสริมการเลี้ยงปลาน้ำจืดให้มีมาตรฐานความปลอดภัย
จากการที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ดำเนินนโยบายความปลอดภัยด้านอาหารเพื่อให้ไทยเป็นครัวของโลก ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา กรมประมง ได้ส่งเสริมให้ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดเข้าสู่ระบบฟาร์มมาตรฐานความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้แก่ผู้บริโภค ทำให้ในปัจจุบันมีฟาร์มเพาะเลี้ยงผ่านการรับรองระดับ Safety Level จำนวน 250 ฟาร์ม และการรับรอง GAP (Good Agriculture Practice) จำนวน 10 ฟาร์ม ส่งผลให้เกิดความมั่นใจในการส่งออกปลาน้ำจืดได้แก่ ปลานิล และปลาสวาย ไปต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
อย่างเช่นกรณีของฟาร์มเลี้ยงปลาของเกษตรกร อำเภอปากพลี จังหวัดนครนายก ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานระดับ Safety Level มีตัวแทนบริษัทจากประเทศเวียดนาม ได้มาติดต่อขอซื้อปลาสวายเพื่อแปรรูปเบื้องต้น (เนื้อปลาสดแช่แข็ง) แล้วส่งไปจำหน่ายในประเทศเวียดนาม จำนวน 205 ตัน ราคาตันละ 13,000 บาท รวมมูลค่าทั้งสิ้น 2.7 ล้านบาท
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ผลการดำเนินงานนโยบายดังกล่าวของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำให้ ผู้ซื้อทั้งในและนอกประเทศ มีความเชื่อถือในด้านคุณภาพและความปลอดภัยของสินค้าประมงเพิ่มมากขึ้น เพราะนอกจากฟาร์มเลี้ยงปลาที่ผ่านการรับรองแล้ว ในระดับของผู้รวบรวมปลาน้ำจืดเข้าห้องเย็น จะรวบรวมปลาจากฟาร์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของกรมประมงเท่านั้น จึงมั่นใจได้ว่าปลามีคุณภาพไม่มีปัญหาสารตกค้าง ส่งผลให้ฟาร์มปลามีตลาดรับซื้อเป็นประจำ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-