ราคายางแผ่นดิบชั้น 3 ตลาดหาดใหญ่ สัปดาห์นี้ 84.88 บาท/กิโลกรัม
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
จากสถิติการผลิตยางของโลกปี 2550 โลกผลิตยางได้ประมาณ 22.74 ล้านตันโดยแยกเป็นยางธรรมชาติ 9.47 ล้านตัน และยาง
สังเคราะห์ 13.27 ล้านตัน หรือคิดเป็นยางธรรมชาติ 41.64 % และยางสังเคราะห์ 58.36 % ในขณะที่ทั่วโลกมีการใช้ยางทั้งสิ้น 22.63
ล้านตัน ซึ่งแสดงว่ามีการใช้เกือบเต็มกำลังผลิต ในจำนวนการใช้นี้แยกเป็นการใช้ผลผลิตจากยางธรรมชาติ 9.54 ล้านตัน หรือคิดเป็น 42.16 %
และยางสังเคราะห์ 13.09 ล้านตัน หรือคิดเป็น 57.84 % ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้มากที่สุดคือไทย โดยในปี 2550 สามารถผลิตได้ถึง
2.95 ล้านตัน หรือ 31.15 % ของการผลิตของโลก ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้รองลงไปจากไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย
เวียดนาม และจีน ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า จีน มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนเพื่อสนองความต้องการใช้ใน
ประเทศ และเวียดนามได้มีการสนับสนุนการปลูกยางเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งจะทำให้เป็นคู่แข่งที่สำคัญอีกประเทศหนึ่ง ในปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกยางของไทย
ได้ขยายไปทั่วทุกภูมิภาคโดยภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมานานที่สุดและสำคัญที่สุด ในปี 2550 มีพื้นที่ให้ผลผลิตใน 14 จังหวัดรวมประมาณ 9.31 ล้าน
ไร่ โดยพื้นที่ให้ผลมากที่สุดที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี 1.55 ล้านไร่ ส่วนภาคตะวันออกและภาคกลางมีพื้นที่ให้ผล รวม 1.2 ล้านไร่ ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือมีพื้นที่ให้ผลผลิตรวม 0.52 ล้านไร่ โดยให้ผลผลิตมากที่สุดที่จังหวัดหนองคาย 0.12 ล้านไร่ และภาคเหนือซึ่งปลูกน้อยที่สุดเมื่อเทียบ
กับภาคอื่นๆ โดยปลูกใน 17 จังหวัด รวมมีพื้นที่ให้ผลผลิต 0.009 ล้านไร่
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.65 บาท สูงขึ้นจาก 82.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.74 บาท หรือร้อยละ 0.89
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.15 บาท สูงขึ้นจาก 82.41 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.74 บาท หรือร้อยละ 0.90
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.65 บาท สูงขึ้นจาก 81.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.74 บาท หรือร้อยละ 0.90
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.29 บาท สูงขึ้นจาก 81.62 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.67 บาท หรือร้อยละ 0.82
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.64 บาท สูงขึ้นจาก 80.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.75 หรือร้อยละ 0.93
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.66 บาท สูงขึ้นจาก 80.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.01 บาท หรือร้อยละ 1.25
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.52 บาท สูงขึ้นจาก 41.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.84 บาท หรือร้อยละ 2.02
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.75 บาท สูงขึ้นจาก 38.17 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.58 บาท หรือร้อยละ 1.52
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.49 บาท ลดลงจาก 80.10 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.61 บาท หรือร้อยละ 0.76
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2551
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจาก 92.62 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.24 บาท หรือร้อยละ 0.26
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.71 บาท สูงขึ้นจาก 91.47 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.24 บาท หรือร้อยละ 0.26
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.31 บาท ลดลงจาก 62.37 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.06 บาท
หรือร้อยละ 0.10
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.61 บาท สูงขึ้นจาก 92.37 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.24 บาท หรือร้อยละ 0.26
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.46 บาท สูงขึ้นจาก 91.22 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.24 บาท หรือร้อยละ 0.26
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.06 บาท ลดลงจาก 62.12 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.06 บาท
หรือร้อยละ 0.10
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
มณฑลยูนนานมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งสิ้น 146,700 เฮกแตร์ เป็นเมืองที่มีพื้นที่ปลูกยางมากเป็นอันดับ 2 ของจีน ขณะนี้ต้นยางกำลัง
ประสบกับโรคราน้ำค้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตน้ำยางลดลง มีพื้นที่ที่ติดโรคนี้ประ มาณ 1 ใน 5 ของพื้นที่ปลูกยางของยูนนาน(ประมาณ
66,670 เฮกแตร์) โดยบริษัท Yunnan Natural Rubber Industry Co. ได้รับผลกระทบจากเชื้อโรคนี้ในพื้นที่ 1 ใน 3 ซึ่งจะ
ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตในช่วงฤดูกรีดยางของบริษัทฯลดลงจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 20 - 30 แต่ Li Min ผู้จัดการบริษัท Yunnan
Natural Rubber Industry Co. กล่าวว่าเชื้อโรคดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาสำคัญของบริษัทเนื่องจากมีวิธีการป้องกันอย่างดี นอกจากนี้เขากล่าว
ว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากอุณหภูมิที่ผิดปกติ คือ อุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดจากปรากฏการณ์ลานีญ่า ทำ
ให้ในช่วงเดือนมกราคมเกิดหิมะตกอย่างหนักและมีน้ำแข็งในเมืองหลวงและทางตอนใต้ของจีน มีผู้เสียชีวิต 129 คน การคมนาคมเสียหาย สูญเสีย
ทางด้านธุรกิจ 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เชื้อโรคราน้ำค้างนี้จะทำให้ใบที่งอกออกมาใหม่เหี่ยวแห้งและร่วง และจะทำให้ต้นยางตายได้ในที่สุด เริ่มมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดย
การใช้ผงกำมะถัน บริษัทผู้ปลูกยางต้องหาทางป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2551
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 401.55 เซนต์สิงคโปร์( 91.14 บาท) สูงขึ้นจาก 399.63 เซนต์สิงคโปร์
( 90.93 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.92 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 0.48
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 282.40 เซนต์สหรัฐ( 90.29 บาท) สูงขึ้นจาก 280.81 เซนต์สหรัฐ
(90.67 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.59 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 297.68 เยน ( 88.44 บาท) ลดลงจาก 297.70 เยน (88.70 บาท)
ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.02 เยน หรือร้อยละ 0.01
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 25 ก.พ.- 2 มี.ค. 2551--
-พห-
1. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาภายในประเทศ
จากสถิติการผลิตยางของโลกปี 2550 โลกผลิตยางได้ประมาณ 22.74 ล้านตันโดยแยกเป็นยางธรรมชาติ 9.47 ล้านตัน และยาง
สังเคราะห์ 13.27 ล้านตัน หรือคิดเป็นยางธรรมชาติ 41.64 % และยางสังเคราะห์ 58.36 % ในขณะที่ทั่วโลกมีการใช้ยางทั้งสิ้น 22.63
ล้านตัน ซึ่งแสดงว่ามีการใช้เกือบเต็มกำลังผลิต ในจำนวนการใช้นี้แยกเป็นการใช้ผลผลิตจากยางธรรมชาติ 9.54 ล้านตัน หรือคิดเป็น 42.16 %
และยางสังเคราะห์ 13.09 ล้านตัน หรือคิดเป็น 57.84 % ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้มากที่สุดคือไทย โดยในปี 2550 สามารถผลิตได้ถึง
2.95 ล้านตัน หรือ 31.15 % ของการผลิตของโลก ประเทศที่ผลิตยางธรรมชาติได้รองลงไปจากไทย ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย อินเดีย
เวียดนาม และจีน ตามลำดับ เป็นที่น่าสังเกตว่า จีน มีการขยายพื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดนเพื่อสนองความต้องการใช้ใน
ประเทศ และเวียดนามได้มีการสนับสนุนการปลูกยางเพิ่มขึ้นเช่นกันซึ่งจะทำให้เป็นคู่แข่งที่สำคัญอีกประเทศหนึ่ง ในปัจจุบันพื้นที่เพาะปลูกยางของไทย
ได้ขยายไปทั่วทุกภูมิภาคโดยภาคใต้ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมานานที่สุดและสำคัญที่สุด ในปี 2550 มีพื้นที่ให้ผลผลิตใน 14 จังหวัดรวมประมาณ 9.31 ล้าน
ไร่ โดยพื้นที่ให้ผลมากที่สุดที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี 1.55 ล้านไร่ ส่วนภาคตะวันออกและภาคกลางมีพื้นที่ให้ผล รวม 1.2 ล้านไร่ ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือมีพื้นที่ให้ผลผลิตรวม 0.52 ล้านไร่ โดยให้ผลผลิตมากที่สุดที่จังหวัดหนองคาย 0.12 ล้านไร่ และภาคเหนือซึ่งปลูกน้อยที่สุดเมื่อเทียบ
กับภาคอื่นๆ โดยปลูกใน 17 จังหวัด รวมมีพื้นที่ให้ผลผลิต 0.009 ล้านไร่
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
1. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.65 บาท สูงขึ้นจาก 82.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.74 บาท หรือร้อยละ 0.89
2. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 2 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 83.15 บาท สูงขึ้นจาก 82.41 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.74 บาท หรือร้อยละ 0.90
3. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.65 บาท สูงขึ้นจาก 81.91 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.74 บาท หรือร้อยละ 0.90
4. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 4 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 82.29 บาท สูงขึ้นจาก 81.62 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.67 บาท หรือร้อยละ 0.82
5. ยางแผ่นดิบคุณภาพที่ 5 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.64 บาท สูงขึ้นจาก 80.89 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.75 หรือร้อยละ 0.93
6. ยางแผ่นดิบคละราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 81.66 บาท สูงขึ้นจาก 80.65 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
1.01 บาท หรือร้อยละ 1.25
7. ยางก้อนคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.52 บาท สูงขึ้นจาก 41.68 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.84 บาท หรือร้อยละ 2.02
8. เศษยางคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 38.75 บาท สูงขึ้นจาก 38.17 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.58 บาท หรือร้อยละ 1.52
9. น้ำยางข้นคละ ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 79.49 บาท ลดลงจาก 80.10 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.61 บาท หรือร้อยละ 0.76
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี. ซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2551
ณ ท่าเรือกรุงเทพ
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.86 บาท สูงขึ้นจาก 92.62 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.24 บาท หรือร้อยละ 0.26
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.71 บาท สูงขึ้นจาก 91.47 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.24 บาท หรือร้อยละ 0.26
3. น้ำยางข้น ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.31 บาท ลดลงจาก 62.37 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.06 บาท
หรือร้อยละ 0.10
ณ ท่าเรือสงขลา
1. ยางแผ่นรมควันชั้น 1 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.61 บาท สูงขึ้นจาก 92.37 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.24 บาท หรือร้อยละ 0.26
2. ยางแผ่นรมควันชั้น 3 ราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 91.46 บาท สูงขึ้นจาก 91.22 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ
0.24 บาท หรือร้อยละ 0.26
3. น้ำยางข้นราคาเฉลี่ยกิโลกรัมละ 62.06 บาท ลดลงจาก 62.12 บาท ของสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.06 บาท
หรือร้อยละ 0.10
2. สรุปภาวะการผลิตการตลาดและราคาในตลาดต่างประเทศ
มณฑลยูนนานมีพื้นที่ปลูกยางพาราทั้งสิ้น 146,700 เฮกแตร์ เป็นเมืองที่มีพื้นที่ปลูกยางมากเป็นอันดับ 2 ของจีน ขณะนี้ต้นยางกำลัง
ประสบกับโรคราน้ำค้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตน้ำยางลดลง มีพื้นที่ที่ติดโรคนี้ประ มาณ 1 ใน 5 ของพื้นที่ปลูกยางของยูนนาน(ประมาณ
66,670 เฮกแตร์) โดยบริษัท Yunnan Natural Rubber Industry Co. ได้รับผลกระทบจากเชื้อโรคนี้ในพื้นที่ 1 ใน 3 ซึ่งจะ
ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตในช่วงฤดูกรีดยางของบริษัทฯลดลงจากปีที่แล้วประมาณร้อยละ 20 - 30 แต่ Li Min ผู้จัดการบริษัท Yunnan
Natural Rubber Industry Co. กล่าวว่าเชื้อโรคดังกล่าวไม่ใช่ปัญหาสำคัญของบริษัทเนื่องจากมีวิธีการป้องกันอย่างดี นอกจากนี้เขากล่าว
ว่าปัญหาดังกล่าวเกิดจากอุณหภูมิที่ผิดปกติ คือ อุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง เป็นผลให้เชื้อโรคขยายตัวอย่างรวดเร็ว และเกิดจากปรากฏการณ์ลานีญ่า ทำ
ให้ในช่วงเดือนมกราคมเกิดหิมะตกอย่างหนักและมีน้ำแข็งในเมืองหลวงและทางตอนใต้ของจีน มีผู้เสียชีวิต 129 คน การคมนาคมเสียหาย สูญเสีย
ทางด้านธุรกิจ 21 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ
เชื้อโรคราน้ำค้างนี้จะทำให้ใบที่งอกออกมาใหม่เหี่ยวแห้งและร่วง และจะทำให้ต้นยางตายได้ในที่สุด เริ่มมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนโดย
การใช้ผงกำมะถัน บริษัทผู้ปลูกยางต้องหาทางป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว
ราคาต่างประเทศซื้อขายล่วงหน้าส่งมอบเดือนเมษายน 2551
ยางแผ่นรมควันชั้น 1
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 401.55 เซนต์สิงคโปร์( 91.14 บาท) สูงขึ้นจาก 399.63 เซนต์สิงคโปร์
( 90.93 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.92 เซนสิงคโปร์ หรือร้อยละ 0.48
ยางแผ่นรมควันชั้น 3
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดสิงคโปร์เฉลี่ยกิโลกรัมละ 282.40 เซนต์สหรัฐ( 90.29 บาท) สูงขึ้นจาก 280.81 เซนต์สหรัฐ
(90.67 บาท) ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 1.59 เซนต์สหรัฐ หรือร้อยละ 0.57
ราคาซื้อขายล่วงหน้าตลาดโตเกียว เฉลี่ยกิโลกรัมละ 297.68 เยน ( 88.44 บาท) ลดลงจาก 297.70 เยน (88.70 บาท)
ในสัปดาห์ที่แล้วกิโลกรัมละ 0.02 เยน หรือร้อยละ 0.01
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 25 ก.พ.- 2 มี.ค. 2551--
-พห-