1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
คนเลี้ยงกุ้งบุกพาณิชย์ จี้ลดค่าอาหาร-ขาดทุนหนัก บ่อร้างกว่าครึ่ง
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภาคกลาง นำโดย นายสมปอง ชาววังไทร นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์ไทย ประมาณ 15 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนางพิกุล ทักษิณาจารย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอความช่วยเหลือหลังประสบปัญหาภาวะขาดทุนจากราคาต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะอาหารเลี้ยงกุ้งเพิ่มสูงขึ้น
นายสมปองระบุว่า ตั้งแต่ปลายปี 2550 ที่ผ่านมา ราคาต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะอาหารเลี้ยงกุ้ง เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% จึงต้องการให้กรมการค้าภายในเป็นสื่อกลางเข้าเจรจากับกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์ให้ปรับลดราคาจำหน่ายลง แต่ต้องไม่ลดคุณภาพอาหารสัตว์ โดยปัจจุบันอาหารกุ้งอยู่ที่ราคาถุงละ 80 บาท
“กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยกำลังประสบปัญหาจากค่าเงินบาท การส่งออกติดลบ ปัญหามาตรการกีดกันทางการค้า และประสบภาวะขาดทุน เพราะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ไฟฟ้า รวมถึงอาหารสัตว์ไปมาก ส่งผลให้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องเร่งจับกุ้งออกมาจำหน่าย ทั้งๆ ที่ขนาดกุ้งยังโตไม่เต็มที่ โดยมีผู้เลี้ยงกุ้งขาดทุนจนต้องปิดกิจการ กลายเป็นบ่อร้างไปแล้วกว่า 50%” นายสมปอง กล่าว
ด้านนางพิกุลกล่าวว่า ในสัปดาห์นี้กรมจะเรียกผู้ผลิตอาหารสัตว์มาหารือสาเหตุที่อาหารสัตว์มีราคาเพิ่มสูงขึ้น เพราะกรมเคยขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตอาหารสัตว์ให้ตรึงราคาจำหน่ายไว้ก่อน ซึ่งผู้ผลิตยินดีให้ความร่วมมือ ทั้งนี้จะมอบหนังสือร้องเรียนของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต่อนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณาช่วยเหลือต่อไป ส่วนจะนำโครงการธงฟ้ามาช่วยเหลือหรือไม่นั้นต้องดูเหตุผลก่อน เพราะผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ประสบปัญหาจำนวนผลผลิตล้นตลาดและราคากุ้งตกต่ำ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 — 6 มี.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 898.24 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 488.15 ตัน สัตว์น้ำจืด 410.09 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.59 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.28 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.63 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 19.56 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.78 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.46 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 123.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 6.59 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 108.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.75 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.79 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.37 บาท ลดลงจากกิโลกละ 6.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 25 — 29 ก.พ. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 25 ก.พ.- 2 มี.ค. 2551--
-พห-
การผลิต
คนเลี้ยงกุ้งบุกพาณิชย์ จี้ลดค่าอาหาร-ขาดทุนหนัก บ่อร้างกว่าครึ่ง
เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภาคกลาง นำโดย นายสมปอง ชาววังไทร นายกสมาคมเพาะเลี้ยงสัตว์ไทย ประมาณ 15 คน เดินทางเข้ายื่นหนังสือต่อนางพิกุล ทักษิณาจารย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เพื่อขอความช่วยเหลือหลังประสบปัญหาภาวะขาดทุนจากราคาต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะอาหารเลี้ยงกุ้งเพิ่มสูงขึ้น
นายสมปองระบุว่า ตั้งแต่ปลายปี 2550 ที่ผ่านมา ราคาต้นทุนวัตถุดิบโดยเฉพาะอาหารเลี้ยงกุ้ง เพิ่มสูงขึ้นกว่า 50% จึงต้องการให้กรมการค้าภายในเป็นสื่อกลางเข้าเจรจากับกลุ่มผู้ผลิตอาหารสัตว์ให้ปรับลดราคาจำหน่ายลง แต่ต้องไม่ลดคุณภาพอาหารสัตว์ โดยปัจจุบันอาหารกุ้งอยู่ที่ราคาถุงละ 80 บาท
“กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งรายย่อยกำลังประสบปัญหาจากค่าเงินบาท การส่งออกติดลบ ปัญหามาตรการกีดกันทางการค้า และประสบภาวะขาดทุน เพราะมีการปรับขึ้นราคาน้ำมัน ไฟฟ้า รวมถึงอาหารสัตว์ไปมาก ส่งผลให้ผู้เลี้ยงกุ้งต้องเร่งจับกุ้งออกมาจำหน่าย ทั้งๆ ที่ขนาดกุ้งยังโตไม่เต็มที่ โดยมีผู้เลี้ยงกุ้งขาดทุนจนต้องปิดกิจการ กลายเป็นบ่อร้างไปแล้วกว่า 50%” นายสมปอง กล่าว
ด้านนางพิกุลกล่าวว่า ในสัปดาห์นี้กรมจะเรียกผู้ผลิตอาหารสัตว์มาหารือสาเหตุที่อาหารสัตว์มีราคาเพิ่มสูงขึ้น เพราะกรมเคยขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตอาหารสัตว์ให้ตรึงราคาจำหน่ายไว้ก่อน ซึ่งผู้ผลิตยินดีให้ความร่วมมือ ทั้งนี้จะมอบหนังสือร้องเรียนของกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งต่อนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อพิจารณาช่วยเหลือต่อไป ส่วนจะนำโครงการธงฟ้ามาช่วยเหลือหรือไม่นั้นต้องดูเหตุผลก่อน เพราะผู้เลี้ยงกุ้งประสบปัญหาต้นทุนการเลี้ยงเพิ่มขึ้น ไม่ใช่ประสบปัญหาจำนวนผลผลิตล้นตลาดและราคากุ้งตกต่ำ
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (1 — 6 มี.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 898.24 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 488.15 ตัน สัตว์น้ำจืด 410.09 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.59 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.28 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.63 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 19.56 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 66.78 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.32 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.78 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.46 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.66 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.35 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 3.31 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.14 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 123.73 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 6.59 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 105.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 108.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.75 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.79 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 6.37 บาท ลดลงจากกิโลกละ 6.39 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 25 — 29 ก.พ. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 24.91 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 24.70 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.21 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 25 ก.พ.- 2 มี.ค. 2551--
-พห-