สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 เร่งพัฒนาเดินหน้าเป็นวิทยากรเสนอแนะกระบวนการจัดทำ ผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) สาขาเกษตรกรรมฯ แก่คณะเจ้าหน้าที่จังหวัดชลบุรี คาด แผนการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปี 51 จะแล้วเสร็จส่งให้สำนักงานคลังจังหวัดชลบุรีภายในเดือนสิงหาคม 2551 นี้
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 เห็นชอบให้การจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เป็นภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด และมีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงกระบวนการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ให้ถูกต้องตามหลักการ และให้มีคุณภาพ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปใช้ประกอบการจัดทำตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการประจำปี ทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยงาน ประกอบกับในปีงบประมาณ 2551 กรมบัญชีกลาง และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ร่วมกันกำหนดร่างตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในปีงบประมาณ 2551 ขึ้น ซึ่งเกณฑ์ชี้วัดจะแตกต่างจากปีที่ผ่านมาคือ จากเดิมที่วัดจากอัตราการเติบโต หรือการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (Growth Rate) มาเป็นการวัดระดับชั้นของความสำเร็จ (Milestone) ของงานแทน ซึ่งแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับของหน่วยงานดำเนินการเป็นหลัก และจากการกำหนดเกณฑ์ชี้วัดดังกล่าว จังหวัดชลบุรี จึงได้กำหนดกรอบระยะเวลาแผนการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปีงบประมาณ 2551 ให้แล้วเสร็จสามารถส่งให้สำนักงานคลังจังหวัดได้ภายในเดือนสิงหาคม 2551
สำหรับการจัดทำข้อมูล GPP ภาคการเกษตร สศข. 6 ในฐานะหน่วยงานที่ปรึกษา ได้สนับสนุนช่วยเหลือ แนะนำ และเร่งพัฒนากระบวนการจัดทำ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับจังหวัดอย่างเต็มที่ ซึ่งความคืบหน้าล่าสุด สศข.6 ได้ร่วมประชุมให้ข้อเสนอแนะแก่จังหวัดชลบุรี พร้อมเป็นวิทยากรเสนอแนะการจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวม สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ และสาขาประมง แก่คณะเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำข้อมูลจากจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 ณ ห้องประชุมพิพิธโภคัย ศาลากลางจังหวัดชลบุรี เพื่อให้การจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดปีงบประมาณ 2551 มีความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และสามารถบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2550 เห็นชอบให้การจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) เป็นภารกิจของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด และมีมติเห็นชอบให้ปรับปรุงกระบวนการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) ให้ถูกต้องตามหลักการ และให้มีคุณภาพ เพื่อให้หน่วยงานต่างๆ สามารถนำไปใช้ประกอบการจัดทำตัวชี้วัดผลการปฏิบัติราชการประจำปี ทั้งระดับบุคคลและระดับหน่วยงาน ประกอบกับในปีงบประมาณ 2551 กรมบัญชีกลาง และ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ร่วมกันกำหนดร่างตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดในปีงบประมาณ 2551 ขึ้น ซึ่งเกณฑ์ชี้วัดจะแตกต่างจากปีที่ผ่านมาคือ จากเดิมที่วัดจากอัตราการเติบโต หรือการขยายตัวของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (Growth Rate) มาเป็นการวัดระดับชั้นของความสำเร็จ (Milestone) ของงานแทน ซึ่งแบ่งเกณฑ์การให้คะแนนเป็น 5 ระดับ พิจารณาจากความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามเป้าหมายแต่ละระดับของหน่วยงานดำเนินการเป็นหลัก และจากการกำหนดเกณฑ์ชี้วัดดังกล่าว จังหวัดชลบุรี จึงได้กำหนดกรอบระยะเวลาแผนการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด ปีงบประมาณ 2551 ให้แล้วเสร็จสามารถส่งให้สำนักงานคลังจังหวัดได้ภายในเดือนสิงหาคม 2551
สำหรับการจัดทำข้อมูล GPP ภาคการเกษตร สศข. 6 ในฐานะหน่วยงานที่ปรึกษา ได้สนับสนุนช่วยเหลือ แนะนำ และเร่งพัฒนากระบวนการจัดทำ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในระดับจังหวัดอย่างเต็มที่ ซึ่งความคืบหน้าล่าสุด สศข.6 ได้ร่วมประชุมให้ข้อเสนอแนะแก่จังหวัดชลบุรี พร้อมเป็นวิทยากรเสนอแนะการจัดทำข้อมูลผลิตภัณฑ์มวลรวม สาขาเกษตรกรรม การล่าสัตว์และการป่าไม้ และสาขาประมง แก่คณะเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำข้อมูลจากจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2551 ณ ห้องประชุมพิพิธโภคัย ศาลากลางจังหวัดชลบุรี เพื่อให้การจัดทำสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัดปีงบประมาณ 2551 มีความก้าวหน้าของขั้นตอนการดำเนินงานตามตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพการจัดทำผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด และสามารถบรรลุเป้าหมายตามตัวชี้วัดดังกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-