สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10 - 16 เมษายน 2563
สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1) แผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562เห็นชอบแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63และมติที่ประชุม นบข.ครั้งที่ 2/2562 เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เห็นชอบในหลักการตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2562/63 ตามมติ
ที่ประชุมคณะอนุกรรมการกำกับติดตามแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2562 การดำเนินงานประกอบด้วย 5 ช่วง ดังนี้
ช่วงที่ 1 การกำหนดอุปสงค์ อุปทานข้าว ได้กำหนดอุปสงค์ 32.48 ล้านตันข้าวเปลือกอุปทาน 34.16 ล้านตันข้าวเปลือก
ช่วงที่ 2 ช่วงการผลิตข้าว ได้แก่
1.1) การกำหนดพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าว เป้าหมายรอบที่ 1 จำนวน 58.99 ล้านไร่
โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ประกาศพื้นที่เป้าหมายส่งเสริมการปลูกข้าวแล้ว เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และรอบที่ 2จำนวน 13.81 ล้านไร่
1.2) การขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว เป้าหมาย รอบที่ 1 จำนวน 4.00 ล้านครัวเรือน และ รอบที่ 2 จำนวน 0.30 ล้านครัวเรือน
1.3) การจัดการปัจจัยการผลิต ได้แก่ โครงการผลิตและกระจายเมล็ดพันธุ์ดี และควบคุมค่าเช่าที่นา
1.4) การปรับปรุงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ การจัดรูปที่ดินและปรับระดับพื้นที่นา
1.5) การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าว ได้แก่ (1) โครงการระบบส่งเสริมเกษตรแบบแปลงใหญ่ (นาแปลงใหญ่) (2) โครงการส่งเสริมการผลิตและการตลาดข้าวพันธุ์ กข43 (3) โครงการส่งเสริมระบบเกษตรแบบแม่นยำสูง (4) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิคุณภาพชั้นเลิศ (5) โครงการส่งเสริมการผลิตข้าวอินทรีย์ (6) โครงการรักษาระดับปริมาณการผลิตและคุณภาพข้าวหอมมะลิ (7) โครงการปรับเปลี่ยนระบบการผลิตข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำ 13 ทุ่ง (8) โครงการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมกับการปลูกข้าวไปเป็นพืชอื่น (Zoning by Agri-Map) (9) โครงการส่งเสริมการปลูกพืชหลากหลาย (10) โครงการปลูกพืชปุ๋ยสด และ (11) โครงการประกันภัยพืชผล
ช่วงที่ 3 ช่วงการเก็บเกี่ยวและหลังเก็บเกี่ยว ได้แก่ (1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการรถเกี่ยวนวดข้าว และ (2) โครงการยกระดับมาตรฐานโรงสี กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน เพื่อเพิ่มศักยภาพการเชื่อมโยงตลาดข้าวนาแปลงใหญ่
ช่วงที่ 4 ช่วงการตลาดในประเทศได้แก่ (1) โครงการเชื่อมโยงตลาดข้าวอินทรีย์และข้าว GAP ครบวงจร(2) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ข้าวของไทยทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ พ.ศ. 2563-2565 (3) โครงการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมและสร้างการรับรู้ถึงคุณประโยชน์ของการบริโภคผลผลิตภัณฑ์น้ำนมข้าว(4) โครงการรณรงค์บริโภคข้าวสาร Q และข้าวพันธุ์ กข43 ปีการผลิต 2561/62 (5) โครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยว และปรับปรุงคุณภาพข้าว (6) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมข้าวและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร (7) โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ผู้ประกอบการในการเก็บสต็อก และ (8) โครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือก
ช่วงที่ 5 ช่วงการตลาดต่างประเทศได้แก่ (1) การจัดหาและเชื่อมโยงตลาดต่างประเทศ (2) การส่งเสริมภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ข้าว ผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรมข้าว (3) การส่งเสริมพัฒนาการค้าสินค้ามาตรฐานและปกป้องคุ้มครองเครื่องหมายการค้า/เครื่องหมายรับรองข้าวหอมมะลิไทย และ (4) การประชาสัมพันธ์การบริโภคข้าวและผลิตภัณฑ์ของไทยทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกข้าว ปี 2562/63 รอบที่ 1 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 21,495.74 ล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงด้านราคาไม่ให้ประสบปัญหาขาดทุน ลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาราคาข้าว และให้กลไกตลาดทำงานเป็นปกติ โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
2.1) ชนิดข้าว ราคา และปริมาณประกันรายได้ (ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15%) โดยชดเชยเป็นจำนวนตันในแต่ละชนิดข้าว ดังนี้
ชนิดข้าว ราคาประกันรายได้ ครัวเรือนละไม่เกิน (บาท/ตัน) (ตัน) ข้าวเปลือกหอมมะลิ 15,000 14 ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ 14,000 16 ข้าวเปลือกเจ้า 10,000 30 ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี 11,000 25 ข้าวเปลือกเหนียว 12,000 16 กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ได้สิทธิ์ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิด เมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุดและได้สิทธิ์ตามลำดับระยะเวลาที่แจ้งเก็บเกี่ยวข้าวแต่ละชนิด
2.2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ปลูกข้าวระหว่างวันที่ 1 เมษายน - 31 ตุลาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ระหว่างวันที่ 16 มิถุนายน 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563
2.3) ระยะเวลาที่ใช้สิทธิขอชดเชย เกษตรกรสามารถใช้สิทธิระหว่างวันที่ 15 ตุลาคม 2562 - 28 กุมภาพันธ์ 2563 ยกเว้นภาคใต้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 31 พฤษภาคม 2563 โดยสามารถใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยวเป็นต้นไป ยกเว้นเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวก่อนวันที่กำหนดให้ใช้สิทธิได้ตั้งแต่วันเริ่มโครงการ
2.4) การประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการฯ ได้ประกาศราคาอ้างอิง งวดที่ 1 - 4 ทุก 15 วัน โดยจ่ายเงินครั้งแรก ในวันที่ 15 ตุลาคม 2562 สำหรับเกษตรกรได้รับสิทธิตั้งแต่วันที่เก็บเกี่ยว - 15 ตุลาคม 2562 สำหรับงวดที่ 5 เป็นต้นไป ได้ปรับการประกาศใหม่เป็นทุกวันศุกร์ (ทุก 7 วัน) เพื่อให้ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงมีความสอดคล้องกับข้อเท็จจริงในช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวและจำหน่ายข้าว
3) โครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63
มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2562 เห็นชอบในหลักการโครงการสนับสนุนต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 ภายในกรอบวงเงินงบประมาณ 25,482.06 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกร และช่วยลดต้นทุนการผลิต โดยดำเนินการในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ดังนี้
3.1) กลุ่มเป้าหมาย เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี ปีการผลิต 2562/63 (รอบที่ 1) ประมาณ 4.31 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่
3.2) ระยะเวลาจ่ายเงินสนับสนุน ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 31 ธันวาคม 2562 ยกเว้นภาคใต้ ตั้งแต่ 1 สิงหาคม – 30 เมษายน 2563
มติที่ประชุม คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2562 เห็นชอบโครงการช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าว ปีการผลิต 2562/63 จำนวน 26,458.89 ล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรสามารถดำรงชีพอยู่ได้ และลดภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวข้าวและปรับปรุงคุณภาพข้าวให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น รวมถึง เพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร
4.1) กลุ่มเป้าหมาย เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวปี 2562 กับกรมส่งเสริมการเกษตร (กสก.) จำนวนประมาณ 4.57 ล้านครัวเรือน โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือค่าเก็บเกี่ยวและปรับปรุงคุณภาพข้าวเฉพาะเกษตรกรรายย่อย อัตราไร่ละ 500 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 20 ไร่ หรือครัวเรือนละไม่เกิน 10,000 บาท โดยพื้นที่เพาะปลูกที่ได้รับการช่วยเหลือต้องไม่ซ้ำซ้อนกับพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ได้รับเงินช่วยเหลือจากโครงการเยียวยาผู้ประสบภัยธรรมชาติจากรัฐบาลแล้ว เว้นแต่เกษตรกรจะนำพื้นที่ประสบภัยนั้นไปแจ้ง กสก. เพื่อเพาะปลูกข้าวใหม่ทันในช่วงเวลาเพาะปลูกรอบที่ 1
4.2) ระยะเวลาโครงการ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2562 - 30 กันยายน 2563
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 14,391 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,154 บาทเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.67
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 9,485 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 9,233 บาทเมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.73
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 34,950 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 33,700 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.70
ข้าวขาว5% (ใหม่) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 17,230 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,575 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.95
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่ ) สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,142 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,046 บาท/ตัน) ราคา
สูงขึ้นจากตันละ 1,133 ดอลลาร์สหรัฐฯ (36,902 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.79 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 144 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 569 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,458 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 579 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,858 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.72 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 400 บาท
ข้าวขาว 25% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 539 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,485 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 547 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,816 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.46 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 331 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 566 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,361 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 576 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,760 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.73 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 399 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.4395
“เวียดนาม” แตะเบรกส่งออกข้าว 2 เดือน เหลือเดือนละ 4 แสนตัน ดันราคาส่งออกข้าวขาว 5% ไทยขยับเฉียด 600 เหรียญสหรัฐ ด้าน “เอเซียฯ” เตือนรับมือค้าโลกป่วนจากปัญหาค่าเงิน-สภาพคล่องลามเทรดเดอร์โลกเบี้ยวหนี้
นายสมบัติ เฉลิมวุฒินันท์ ประธานบริษัท เอเซีย โกลเด้นไรซ์ จำกัด เปิดเผยว่า จากการที่รัฐบาลเวียดนามประกาศให้จำกัดปริมาณการส่งออกข้าวในช่วง 2 เดือน เฉลี่ยเดือนละ 400,000 ตัน จากปกติที่เวียดนามจะส่งออกเดือนละ600,000 - 650,000 ตัน จากผลผลิตข้าวฤดูกาลหลักของเวียดนามกำลังจะหมดฤดูในช่วงเมษายนนี้ จึงต้องการให้มีสต็อกข้าวสำหรับบริโภคภายในประเทศ ในช่วงที่มีการระบาดของโควิด-19 นั้น จึงน่าจะส่งผลดี ทำให้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทยมีโอกาสที่จะได้รับออร์เดอร์ส่งออกเพิ่มขึ้นในช่วงสั้นๆ และขณะนี้ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวไทย โดยเฉพาะข้าวขาว 5% ตันละ 565-575 เหรียญสหรัฐ ปรับสูงขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา ที่ตันละ 500-510 เหรียญสหรัฐ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเวียดนามจะลดปริมาณการส่งออกข้าวแล้ว แต่สถานการณ์การส่งออกยังค่อนข้างจะต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก เพราะขณะนี้ตลาดค้าข้าวโลกมีการแข่งขันรุนแรง ผู้ขายยังมีมากกว่าผู้ซื้อ จึงมีการปล่อยเครดิตกันเป็นเวลานาน และทำให้เกิดปัญหาการผิดนัดชำระหนี้ในบางราย เช่น กรณีบริษัท ฟินิกซ์ โบรกเกอร์รายใหญ่ของโลกในตลาดแอฟริกา ติดปัญหาผิดนัดชำระหนี้ค่าข้าวกับผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทยหลายราย ซึ่งขณะนี้ ทางบริษัทโบรกเกอร์ประสานเจรจาเพื่อขอเคลียร์แล้ว เบื้องต้นคาดว่าเกิดจากทางเทรดเดอร์เสียหายจากธุรกิจอื่น และมาจากปัญหาค่าเงิน ซึ่งกำลังเจรจากับทางสถาบันการเงินอยู่ โดยสถาบันการเงินทั่วโลกก็เริ่มบีบและเบรกการให้สินเชื่อกลุ่ม
เทรดเดอร์แล้ว เบื้องต้นคาดการณ์ว่าความเสียหายกรณีดังกล่าวไม่มากนัก เพราะทางบริษัท เอเชียฯ ได้เตรียมความพร้อม เพิ่มความระมัดระวังล่วงหน้าไว้แล้ว เพราะทราบดีว่าตลาดข้าวหากเกิดการผิดนัดชำระหนี้ จะไม่สามารถฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้ ผู้ประกอบการส่งออกข้าวแต่ละรายจึงได้เตรียมป้องกันตัวเองเป็นอย่างดี”
โดยรายงานข่าวระบุว่า บริษัท ฟินิกซ์ ผิดนัดชำระหนี้ผู้ประกอบการส่งออกข้าวไทย จำนวน 5 ราย รวมมูลค่าประมาณ 300 ล้านบาท
ที่มา : ประชาชาติธุรกิจ
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกในตลาดกระเตื้องสูงขึ้นเป็นลำดับ เพราะนอกจากจะเกิดจากมาตรการส่งเสริมให้ชายนาเก็บสต็อกข้าวไว้ โดยได้รับเงินชดเชยแล้ว ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการสูงขึ้น เช่น ญี่ปุ่น ซึ่งได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ติดตามสถานการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เกษตรกรขายข้าวเปลือกได้ในราคาที่ดีที่สุด ขณะเดียวกันต้องติดตามราคาข้าวสารบรรจุถุงสำหรับบริโภคและการส่งออกข้าวควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้สถานการณ์ข้าวของไทยกับภัยของโควิด-19 เกิดความสมดุลที่สุด
ด้านนายชูเกียรติ โอกาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกเจ้าที่ความชื้นไม่เกิน 15% ที่ผู้ส่งออกและโรงสีรับซื้อจากชาวนาอยู่ที่ตันละ 10,000-10,900 บาท ซึ่งสูงสุดในช่วงไม่ต่ำกว่า 10 ปี เนื่องจากความต้องการข้าวในตลาดโลกเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากผลกระทบภัยแล้งและการระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ผู้นำเข้ารายใหญ่จำนวนมากต้องเพิ่มสต็อกข้าวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย แอฟริกา เป็นต้น หลังจากผู้ส่งออกบางประเทศชะลอส่งออกข้าวชั่วคราวแล้ว ทั้งนี้ หากการระบาดยังมีต่อเนื่อง คาดว่า ราคาข้าวเปลือกเจ้าของไทยอาจปรับขึ้นไปถึงตันละ 14,000-15,000 บาท ซึ่งถือว่าเป็นราคาสูงและอาจเป็นยุคทองของชาวนาอีกครั้ง และที่สำคัญหากฝนตกตามฤดูกาล เชื่อว่าจะทำให้เกษตรกรหันไปปลูกข้าวเจ้ากันมากขึ้น แต่ผู้บริโภคก็ต้องเข้าใจว่าในเร็วๆ นี้ ราคาข้าวสารถุงอาจปรับขึ้นบ้าง เพราะจะเป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง ที่ไม่ใช่มาจากนโยบายของภาครัฐ
“ในช่วงต้นปีราคาส่งออกข้าวขาวไทยประมาณตันละ 380 ดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ปัจจุบันอยู่ที่ตันละ 577 ดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นเกือบ 200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ส่วนข้าวสารเดิมอยู่ที่กิโลกรัมละ 11.50 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 17.50 บาท หรือเพิ่ม 6 บาทต่อกิโลกรัม แต่มีหลายประเทศแย่งกันซื้อ เพราะผู้ส่งออกข้าวอย่างเวียดนาม กัมพูชา จีน อินเดีย เมียนมา เป็นต้น ประกาศหยุดส่งออกข้าวขาวชั่วคราว”
ที่มา : ไทยรัฐ
นายกรัฐมนตรีเหวียน ซวน ฟุก กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ยกเลิกมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวที่เคยประเทศเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2563 และเดิมที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ถึงปลายเดือนพฤษภาคมนี้ เพื่อรักษาเสถียรภาพของความมั่นคงทางอาหารภายในประเทศ ท่ามกลางวิกฤติการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
อนึ่ง มีรายงานว่าในตอนนั้นกระทรวงการค้าไม่เห็นด้วยเท่าใดนักกับมาตรการดังกล่าวของนายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลว่าเวียดนามปลูกข้าวได้เองและมีการสำรองข้าวไว้บริโภคภายในประเทศมากเกินความต้องการถึง 6.7 ล้านตันเฉพาะปีนี้ ดังนั้นการส่งออกข้าวของเวียดนามควรเดินหน้าต่อไปตามปกติ แต่กระทรวงการคลังจัดทำแผนระงับการส่งออกข้าวเผื่อไว้ถึงกลางเดือนมิถุนายนนี้
อย่างไรก็ตาม หลังยกเลิกแผนการ นายกรัฐมนตรีเวียดนามมอบหมายให้กระทรวงการคลังเป็นผู้ควบคุมการส่งออกข้าว และเตรียมจัดซื้อข้าว 190,000 ตัน ในปีนี้ เพื่อสำรองไว้สำหรับการบริโคภายในประเทศ โดยเบื้องต้นมีรายงานว่า สำนักงานศุลกากรแห่งชาติจะระงับการส่งออกข้าวทันทีที่ครบโควตา
ปัจจุบันเวียดนามเป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากอินเดีย และไทย ทั้งปริมาณข้าวจากเอเชียครองส่วนแบ่งในตลาดโลกมากถึงร้อยละ 90 ขณะที่อุปสงค์อยู่ในระดับเท่ากัน และในวิโฟติโรคระบาดเช่นนี้ ความต้องการอาหารบนโลกย่อมสูงขึ้นกว่าปกติ และข้าวเป็นหนึ่งในนั้น โดยข้อมูลจากสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทยที่เปิดเผยกับสำนักงานรอยเตอร์ ระบุว่าราคาเมล็ดข้าวหักเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 ภายในสัปดาห์เดียว ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม-1 เมษายน 2563 ถือเป็นราคาสูงที่สุดนับตั้งแต่ปลายเดือนเมษายน 2556
ที่มา : เดลินิวส์
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร