สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 10 - 16 เมษายน 2563
สุกร
ภาวะตลาดสุกรสัปดาห์นี้ ราคาสุกรมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ลดลงเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากความต้องการบริโภคเนื้อสุกรลดลงจากที่ผ่านมาได้เตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ทำให้ผู้บริโภคหันไปซื้ออาหารประเภทโปรตีนที่ราคาถูกกว่าเนื้อหมู บางบริโภคอาหารอื่นๆที่ซื้อไว้ก่อนหน้านี้ ขณะที่ผลผลิตสุกรออกสู่ตลาดในภาวะปกติ แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะลดลงเล็กน้อย
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 67.44 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.72 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 68.90 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 66.43 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 67.53 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 66.54 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 1,800 บาท ลดลงจากตัวละ 1,900 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 5.26
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิต ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 65.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 67.50 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 2.96
ไก่เนื้อ
สัปดาห์นี้ราคาไก่เนื้อมีชีวิตที่เกษตรกรขายได้ค่อนข้างทรงตัวจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากผลผลิตไก่เนื้อออกสู่ตลาดใกล้เคียงกับความต้องการบริโภคที่อ่อนตัวลงเล็กน้อย แนวโน้มสัปดาห์หน้าคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.88 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.05 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 35.00 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 39.21 บาท ภาคใต้ กิโลกรัมละ 40.23 บาท และภาคตะวันออกเฉียงเหนือไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 6.50 บาท ลดลงจากตัวละ 850 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 23.53
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตหน้าโรงฆ่า จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.50 บาท และราคาขายส่งไก่สดทั้งตัวรวมเครื่องใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 45.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่ไก่
สัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้สูงขึ้นเล็กน้อยจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาวะการเตรียมตัวรับมือกับสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิค-19 ของประชาชนเริ่มเข้าสู่ปกติ ส่งผลให้มีความต้องการบริโภคไข่ไก่มากขึ้นEgg Board) เพื่อกำกับดูแลและพัฒนาไก่ไข่และผลิตภัณฑ์ทั้งระบบ โดยมีหน่วยงานจากภาครัฐ ภาคเอกชน และกลุ่มเกษตรกร ร่วมกันวางแผนการผลิตและการตลาด รวมทั้งแก้ไขปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อให้เกิดความมั่นใจว่าจะมีผลผลิตไข่ไก่เพียงพอต่อความต้องการภายในประเทศ พร้อมทั้งหามาตรการรองรับหากเกิดกรณีไข่ไก่ล้นตลาด หาตลาดส่งออกเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการบริหารจัดการต้องเกิดความสมดุลเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาไข่ไก่ทั้งต่อเกษตรกรผู้เลี้ยง ผู้ประกอบการร้านค้า และผู้บริโภค แนวโน้มคาดว่าสัปดาห์หน้าราคาจะทรงตัว
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 304 บาท สูงขึ้นจากร้อยฟองละ 301 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.00 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 319 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 310 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 298 บาท และภาคใต้ไม่มีรายงาน ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี. ในสัปดาห์นี้ ตัวละ 26.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งไข่ไก่ (เฉลี่ยเบอร์ 0-4) ในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 315บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศร้อยฟองละ 360 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมาโดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ ร้อยฟองละ 372 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 389 บาท ภาคกลาง ร้อยฟองละ 322 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 351 บาท
ราคาขายส่งไข่เป็ดคละ ณ แหล่งผลิตภาคกลาง จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 380 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โคเนื้อ
ราคาโคพันธุ์ลูกผสม (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้ เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 90.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 90.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 0.09 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 89.78 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 86.91 บาท ภาคกลาง กิโลกรัมละ 87.50 บาท และภาคใต้ กิโลกรัมละ 102.86 บาท
กระบือ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศกิโลกรัมละ 67.26 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 68.38 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา ร้อยละ 1.64 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 90.12 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 62.85 บาท ภาคกลางและภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร