สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 เผย ผลตอบแทนและโครงสร้างตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ปีการเพาะปลูก 2549/50 พบว่าเกษตรกรได้รับผลกำไรดี ส่วนปัญหาสำคัญ คือการขาดแคลนน้ำและศัตรูพืช
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินยังโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ จังหวัดพัทลุง และศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ถวายข้าวสังข์หยด (ซ้อมมือ) โดยพระองค์โปรดให้นำข้าวสังข์หยดกลับมาฟื้นฟูปลูกใหม่ เพื่อเผยแพร่และรักษาพันธุ์ข้าวไว้ โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวสังข์หยดให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ และได้รับคำประกาศรับรองให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เรียกว่า ข้าวจีไอ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 จึงได้ศึกษาผลตอบแทนและโครงสร้างตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ปีการเพาะปลูก 2549/50 เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำมาประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายแนวทางในการผลิตของเกษตรกร และแนวทางในการพัฒนาของภาครัฐ
จากการศึกษาพบว่า การผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงมีต้นทุนการผลิตทั้งหมดประมาณไร่ละ 2,457 บาท ผลผลิตที่เกษตรกรได้รับเฉลี่ยประมาณไร่ละ 340 กก. ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ประมาณ กก. ละ 11 บาท. และเมื่อนำมาคำนวณหากำไรสุทธิจะอยู่ที่ 1,275 บาท/ไร่ โดยผลผลิตที่ได้รับเกษตรกรจะใช้บริโภคและทำพันธุ์ร้อยละ 26 ขายร้อยละ 74 ซึ่งโครงสร้างตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ประกอบด้วย 2 ระดับ คือ ตลาดระดับท้องถิ่น และตลาดระดับภูมิภาคและปลายทาง
ด้านการตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ปริมาณข้าวเปลือก จะเคลื่อนย้ายไหลออกจากเกษตรกรผ่านโรงสีร้อยละ 40 และสถาบันเกษตรกร(กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร)ร้อยละ 33 โดยโรงสีจะนำผลผลิตข้าวเปลือกไปแปรรูปเป็นข้าวสาร ข้าวกล้อง และข้าวซ้อมมือ รวมทั้งส่งไปจำหน่ายยังตลาดชายแดนไทย-มาเลเซีย ตลาดทุ่งสง และตลาดอื่นๆ
สำหรับสถาบันเกษตรกร(กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร) สามารถนำไปผลิตเป็นข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ จำหน่ายตลาดภายในจังหวัดและตลาดในต่างจังหวัด ส่วนปัญหาการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงนั้น เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องน้ำ รองลงมาเป็นปัญหาศัตรูพืช ปัจจัยการผลิต และอื่นๆ ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินยังโครงการฟาร์มตัวอย่างตามพระราชดำริฯ จังหวัดพัทลุง และศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้ถวายข้าวสังข์หยด (ซ้อมมือ) โดยพระองค์โปรดให้นำข้าวสังข์หยดกลับมาฟื้นฟูปลูกใหม่ เพื่อเผยแพร่และรักษาพันธุ์ข้าวไว้ โดยศูนย์วิจัยข้าวพัทลุงได้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์ข้าวสังข์หยดให้เป็นสายพันธุ์บริสุทธิ์ และได้รับคำประกาศรับรองให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เรียกว่า ข้าวจีไอ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ โดยใช้ชื่อว่า “ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง” ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2549
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 9 จึงได้ศึกษาผลตอบแทนและโครงสร้างตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ปีการเพาะปลูก 2549/50 เพื่อใช้เป็นข้อมูลนำมาประกอบการตัดสินใจในการกำหนดนโยบายแนวทางในการผลิตของเกษตรกร และแนวทางในการพัฒนาของภาครัฐ
จากการศึกษาพบว่า การผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงมีต้นทุนการผลิตทั้งหมดประมาณไร่ละ 2,457 บาท ผลผลิตที่เกษตรกรได้รับเฉลี่ยประมาณไร่ละ 340 กก. ราคาเฉลี่ยที่เกษตรกรขายได้ประมาณ กก. ละ 11 บาท. และเมื่อนำมาคำนวณหากำไรสุทธิจะอยู่ที่ 1,275 บาท/ไร่ โดยผลผลิตที่ได้รับเกษตรกรจะใช้บริโภคและทำพันธุ์ร้อยละ 26 ขายร้อยละ 74 ซึ่งโครงสร้างตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ประกอบด้วย 2 ระดับ คือ ตลาดระดับท้องถิ่น และตลาดระดับภูมิภาคและปลายทาง
ด้านการตลาดข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง ปริมาณข้าวเปลือก จะเคลื่อนย้ายไหลออกจากเกษตรกรผ่านโรงสีร้อยละ 40 และสถาบันเกษตรกร(กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร)ร้อยละ 33 โดยโรงสีจะนำผลผลิตข้าวเปลือกไปแปรรูปเป็นข้าวสาร ข้าวกล้อง และข้าวซ้อมมือ รวมทั้งส่งไปจำหน่ายยังตลาดชายแดนไทย-มาเลเซีย ตลาดทุ่งสง และตลาดอื่นๆ
สำหรับสถาบันเกษตรกร(กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร) สามารถนำไปผลิตเป็นข้าวกล้องและข้าวซ้อมมือ จำหน่ายตลาดภายในจังหวัดและตลาดในต่างจังหวัด ส่วนปัญหาการผลิตข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงนั้น เกษตรกรประสบปัญหาเรื่องน้ำ รองลงมาเป็นปัญหาศัตรูพืช ปัจจัยการผลิต และอื่นๆ ตามลำดับ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-