1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้าสูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ. - 31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51 เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551 หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ก.พ. 51 (ปรับปรุงยอด ณ. วันที่ 3 มี.ค. 51) หน่วย :ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกนิด ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 59,113 113,281 1,843 1,956 61,827 238,020 2.98
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ภาวะการณ์ซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นทุกตลาดอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสินค้ามีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกบางรายได้ชะลอการส่งมอบข้าวในช่วงนี้ เพราะไม่สามารถจัดหาข้าวได้ทัน ในขณะที่ผู้ซื้อจากต่างประเทศยังคงเสนอซื้อข้าวจากผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากประเทศผู้ส่งออกรายอื่น ๆ ทั้งเวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน ต่างประสบปัญหาอุปทานข้าวในประเทศอยู่ในภาวะตึงตัว นอกจากนี้สถานการณ์ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น
การส่งออก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 10 มีนาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2.401 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 1.399 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 71.62
(ที่มา: จากกรมการค้าต่างประเทศ)
ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,157 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,107 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,532 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,311 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.66
ราคาข้าวเปลื่อกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,632 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,279 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.65
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,815 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,735 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 771 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,153 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 763 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,979 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 174 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 544 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,042 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,556 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,486 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,541 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,336 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.20 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,205 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 601 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,828 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 552 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,348 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.88 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,480 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.3271 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
1. ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2550/51 ประจำเดือนมีนาคม 2551 ว่าจะมี 422.94 ล้านตันข้าวสาร (630.20 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 418.24 ล้านตันข้าวสาร (623.00 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2549/50 ร้อยละ 1.12 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บราซิล กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
2. บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2550/51 ณ เดือนมีนาคม 2551 ว่าผลผลิต ปี 2550/51 จะมี 422.94 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 418.24 ล้านตันข้าวสาร ของปี 2549/50 ร้อยละ 1.12ใช้ในประเทศจะมี 422.53ล้านตัน ข้าวสารเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.60 การส่งออก 29.38 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.10 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 75.17 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 10-16 มีนาคม 2551--
-พห-
1.1 โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้าสูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ. - 31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51 เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551 หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ก.พ. 51 (ปรับปรุงยอด ณ. วันที่ 3 มี.ค. 51) หน่วย :ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวมข้าวทุกนิด ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 59,113 113,281 1,843 1,956 61,827 238,020 2.98
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ภาวะการณ์ซื้อขายในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในประเทศยังคงปรับตัวสูงขึ้นทุกตลาดอย่างต่อเนื่องจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสินค้ามีไม่เพียงพอกับความต้องการ ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกบางรายได้ชะลอการส่งมอบข้าวในช่วงนี้ เพราะไม่สามารถจัดหาข้าวได้ทัน ในขณะที่ผู้ซื้อจากต่างประเทศยังคงเสนอซื้อข้าวจากผู้ส่งออกอย่างต่อเนื่อง สืบเนื่องจากประเทศผู้ส่งออกรายอื่น ๆ ทั้งเวียดนาม อินเดีย และปากีสถาน ต่างประสบปัญหาอุปทานข้าวในประเทศอยู่ในภาวะตึงตัว นอกจากนี้สถานการณ์ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้น
การส่งออก
ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 10 มีนาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 2.401 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 1.399 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อน ร้อยละ 71.62
(ที่มา: จากกรมการค้าต่างประเทศ)
ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,157 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,107 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.41
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,532 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,311 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.66
ราคาข้าวเปลื่อกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 8,632 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 8,279 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.65
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,815 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 14,735 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.33
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 771 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,153 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 763 ดอลลาร์สหรัฐฯ (23,979 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.05 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 174 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 544 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,042 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 495 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,556 บาท/ตัน)ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.90 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,486 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 528 ดอลลาร์สหรัฐฯ (16,541 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 488 ดอลลาร์สหรัฐฯ (15,336 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.20 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,205 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 601 ดอลลาร์สหรัฐฯ (18,828 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 552 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,348 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.88 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,480 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.3271 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
1. ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2550/51 ประจำเดือนมีนาคม 2551 ว่าจะมี 422.94 ล้านตันข้าวสาร (630.20 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 418.24 ล้านตันข้าวสาร (623.00 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2549/50 ร้อยละ 1.12 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บราซิล กัมพูชา จีน อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม
2. บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2550/51 ณ เดือนมีนาคม 2551 ว่าผลผลิต ปี 2550/51 จะมี 422.94 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 418.24 ล้านตันข้าวสาร ของปี 2549/50 ร้อยละ 1.12ใช้ในประเทศจะมี 422.53ล้านตัน ข้าวสารเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.60 การส่งออก 29.38 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.10 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 75.17 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.55
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 10-16 มีนาคม 2551--
-พห-