สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 เผย เกษตรกรโคราชหันปลูกมันสำปะหลังที่ปลูกในพื้นที่ทำนาหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีกันมากขึ้น เหตุขาดน้ำทำนาปรัง กอรปกับราคามันสำปะหลังที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี แนะเกษตรกรเฝ้าระวังเรื่อง Demand Supply และภัยธรรมชาติ ที่อาจกระทบต่อผลผลิตได้
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน มันปรัง เป็นมันสำปะหลังที่เกษตรกรปลูกในพื้นที่นาหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปี โดยปกติจะปลูกในเขตพื้นที่ชลประทานที่เกษตรกรเคยปลูกข้าวนาปรังมาก่อน หากปีใดปริมาณน้ำในอ่างหรือเขื่อนมีปริมาณน้ำไม่มากนัก และไม่สามารถปล่อยน้ำมาให้เกษตรกรทำนาปรังได้ เกษตรกรจะใช้พื้นที่นาปรังดังกล่าว หันมาปลูกมันสำปะหลังแทน ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่นาของจังหวัดนครราชสีมา จึงเรียกมันสำปะหลังที่ปลูกในพื้นที่นานี้ว่า “มันปรัง”
สำหรับการปลูกมันสำปะหลังชนิดนี้ เริ่มมีการปลูกมาประมาณ 3 — 4 ปี ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักและคุ้นหูมากนัก ประกอบกับปัจจุบัน ราคาของมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดีและค่อนข้างสูง ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีกันมากขึ้น เริ่มจากอำเภอเสิงสาง ครบุรี ในจังหวัดนครราชสีมา จนขยายมาสู่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยเกษตรกรจะเริ่มปลูกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน และปลูกมากที่สุดในช่วงเดือนมกราคม โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤษภาคมกับมิถุนายน รวมระยะเวลาประมาณ 5 — 6 เดือน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3 — 4 ตันต่อไร่
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติม ถึงสิ่งที่จะต้องจับตาและเฝ้าระวังเป็นพิเศษของการปลูกมันสำปะหลังในส่วนการขยายพื้นที่ปลูกลงสู่พื้นที่นา ซึ่งต้องคอยดูว่า จะมีผลทำให้ Demand และ Supply เปลี่ยนไปหรือไม่ และสิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ นั่นคือ ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะฝนที่ตกลงมาเร็วกว่าปกติ อาจจะกระทบต่อผลผลิตมันสำปะหลังที่ควรจะได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่เสี่ยงไม่น้อยกับการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ลุ่มมากๆ และหากเก็บเกี่ยวไม่ทัน เกษตรกรจะสูญเสียต้นทุนที่เป็นเงินสดประมาณไร่ละ 970 บาททันที
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปัจจุบัน มันปรัง เป็นมันสำปะหลังที่เกษตรกรปลูกในพื้นที่นาหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวนาปี โดยปกติจะปลูกในเขตพื้นที่ชลประทานที่เกษตรกรเคยปลูกข้าวนาปรังมาก่อน หากปีใดปริมาณน้ำในอ่างหรือเขื่อนมีปริมาณน้ำไม่มากนัก และไม่สามารถปล่อยน้ำมาให้เกษตรกรทำนาปรังได้ เกษตรกรจะใช้พื้นที่นาปรังดังกล่าว หันมาปลูกมันสำปะหลังแทน ดังนั้น กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่นาของจังหวัดนครราชสีมา จึงเรียกมันสำปะหลังที่ปลูกในพื้นที่นานี้ว่า “มันปรัง”
สำหรับการปลูกมันสำปะหลังชนิดนี้ เริ่มมีการปลูกมาประมาณ 3 — 4 ปี ซึ่งอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักและคุ้นหูมากนัก ประกอบกับปัจจุบัน ราคาของมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ดีและค่อนข้างสูง ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่นาหลังเก็บเกี่ยวข้าวนาปีกันมากขึ้น เริ่มจากอำเภอเสิงสาง ครบุรี ในจังหวัดนครราชสีมา จนขยายมาสู่จังหวัดบุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี โดยเกษตรกรจะเริ่มปลูกประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน และปลูกมากที่สุดในช่วงเดือนมกราคม โดยสามารถเก็บเกี่ยวได้ประมาณเดือนพฤษภาคมกับมิถุนายน รวมระยะเวลาประมาณ 5 — 6 เดือน ผลผลิตเฉลี่ยประมาณ 3 — 4 ตันต่อไร่
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติม ถึงสิ่งที่จะต้องจับตาและเฝ้าระวังเป็นพิเศษของการปลูกมันสำปะหลังในส่วนการขยายพื้นที่ปลูกลงสู่พื้นที่นา ซึ่งต้องคอยดูว่า จะมีผลทำให้ Demand และ Supply เปลี่ยนไปหรือไม่ และสิ่งหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษ นั่นคือ ภัยธรรมชาติ โดยเฉพาะฝนที่ตกลงมาเร็วกว่าปกติ อาจจะกระทบต่อผลผลิตมันสำปะหลังที่ควรจะได้ ซึ่งนับเป็นเรื่องที่เสี่ยงไม่น้อยกับการปลูกมันสำปะหลังในพื้นที่ลุ่มมากๆ และหากเก็บเกี่ยวไม่ทัน เกษตรกรจะสูญเสียต้นทุนที่เป็นเงินสดประมาณไร่ละ 970 บาททันที
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-