สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โชว์ผลวิเคราะห์รายได้-รายจ่ายเกษตรกร พบ ภาพรวมมีรายได้สูงขึ้น ครัวเรือนเกษตรยากจนลดลง แต่ปัจจัยการผลิตและราคาสินค้าที่อุปโภค/บริโภคยังมีแนวโน้มสูงขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจ ย้ำ ภาครัฐเร่งพัฒนาเพิ่มความรู้แก่เกษตรกร เพื่อยกระดับรายได้และสร้างความมั่นคงในอาชีพ
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยผลการศึกษาวิจัย รายได้ — รายจ่าย ของครัวเรือนเกษตรในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เกษตรกรมีรายได้ที่สามารถนำมาจับจ่ายใช้สอยเพื่อการอุปโภคและบริโภคในครัวเรือนเฉลี่ยครัวเรือนละ 110,700 บาท/ปี ซึ่งสูงขึ้นจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ต่อปี ในองค์ประกอบของรายได้พบว่า เป็นรายได้สุทธิจากการขายผลผลิตทางการเกษตรประมาณร้อยละ 40 อีกร้อยละ 60 ได้จากการทำกิจกรรมนอกการเกษตร สำหรับรายจ่ายของเกษตรกรก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั้งในส่วนของรายจ่ายทางการเกษตรและรายจ่ายนอกการเกษตรเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5.23 และ 3.54 ต่อปี ตามลำดับ โดยรายจ่ายทางการเกษตรนั้นส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเพื่อการผลิตพืชมาโดยตลอด แต่ในระยะหลังสัดส่วนของรายจ่ายในการผลิตสัตว์ได้มีแนวโน้มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากราคาอาหารสัตว์ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อนำรายจ่ายเพื่อการอุปโภค/บริโภคมาหักออกจากรายได้แล้ว ปรากฏว่า เกษตรกรยังคงมีเงินสดคงเหลือก่อนการชำระหนี้เฉลี่ย 30,190 บาท/ครัวเรือน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ย ในอัตราร้อยละ 2.8 ต่อปี
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในอาชีพให้เกษตรกรและยกระดับรายได้ให้เพียงพอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐจำเป็นต้องหาแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนและเหมาะสมกับเกษตรกรในแต่ละกลุ่ม และเร่งดำเนินการในเรื่องการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับกับปัญหาอุทกภัย/ภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังต้องมีการต่อยอดความรู้ในการประกอบอาชีพเกษตรอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการวางแผนการผลิต การจัดการด้านการตลาด และการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ประการสำคัญ คือ ยังต้องรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากนอกฟาร์มและลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยผลการศึกษาวิจัย รายได้ — รายจ่าย ของครัวเรือนเกษตรในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ในช่วงปลายแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เกษตรกรมีรายได้ที่สามารถนำมาจับจ่ายใช้สอยเพื่อการอุปโภคและบริโภคในครัวเรือนเฉลี่ยครัวเรือนละ 110,700 บาท/ปี ซึ่งสูงขึ้นจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาในอัตราเฉลี่ยร้อยละ 3.3 ต่อปี ในองค์ประกอบของรายได้พบว่า เป็นรายได้สุทธิจากการขายผลผลิตทางการเกษตรประมาณร้อยละ 40 อีกร้อยละ 60 ได้จากการทำกิจกรรมนอกการเกษตร สำหรับรายจ่ายของเกษตรกรก็มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั้งในส่วนของรายจ่ายทางการเกษตรและรายจ่ายนอกการเกษตรเฉลี่ยในอัตราร้อยละ 5.23 และ 3.54 ต่อปี ตามลำดับ โดยรายจ่ายทางการเกษตรนั้นส่วนใหญ่เป็นรายจ่ายเพื่อการผลิตพืชมาโดยตลอด แต่ในระยะหลังสัดส่วนของรายจ่ายในการผลิตสัตว์ได้มีแนวโน้มสูงขึ้น อันเนื่องมาจากราคาอาหารสัตว์ และราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม เมื่อนำรายจ่ายเพื่อการอุปโภค/บริโภคมาหักออกจากรายได้แล้ว ปรากฏว่า เกษตรกรยังคงมีเงินสดคงเหลือก่อนการชำระหนี้เฉลี่ย 30,190 บาท/ครัวเรือน ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อ 10 ปีที่ผ่านมาเฉลี่ย ในอัตราร้อยละ 2.8 ต่อปี
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างความมั่นคงในอาชีพให้เกษตรกรและยกระดับรายได้ให้เพียงพอกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ภาครัฐจำเป็นต้องหาแนวทางการพัฒนาที่ชัดเจนและเหมาะสมกับเกษตรกรในแต่ละกลุ่ม และเร่งดำเนินการในเรื่องการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นเพื่อรองรับกับปัญหาอุทกภัย/ภัยแล้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ยังต้องมีการต่อยอดความรู้ในการประกอบอาชีพเกษตรอย่างต่อเนื่องทั้งด้านการวางแผนการผลิต การจัดการด้านการตลาด และการเพิ่มมูลค่าผลผลิต ประการสำคัญ คือ ยังต้องรณรงค์และส่งเสริมให้เกษตรกรเห็นความสำคัญของการดำเนินชีวิตโดยยึดหลักการพึ่งพาตนเองให้มากขึ้น ลดการพึ่งพาปัจจัยการผลิตจากนอกฟาร์มและลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นลงตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-