สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แจง ผลงานเด่นในรอบปีที่ผ่านมาในการเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น JTEPA โดยผลความตกลงมี 2 ด้าน คือ ด้านการเปิดตลาดสินค้าเกษตรระหว่างกัน และด้านความร่วมมือ : ด้านเกษตร ป่าไม้ และประมง เผย เริ่มบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2550
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศที่สำคัญหลายประการ โดยมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ คือ มุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดแก่เกษตรกรไทยเป็นที่ตั้ง โดยตามภารกิจแล้วจะสามารถแบ่งภารกิจงานหลักได้ 2 ด้าน คือ (1) งานเจรจาการค้าสินค้าเกษตร และ (2) งานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ โดยผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในรอบปีที่ผ่านมาคือ การเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ซึ่งได้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 โดยผลความตกลงที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ (1) ด้านการเปิดตลาดสินค้าเกษตรระหว่างกัน โดยสินค้าเกษตรของไทยที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าของญี่ปุ่น เช่น ไก่ กุ้ง ปลาหมึก ทูน่ากระป๋อง ปลาปรุงแต่ง กระเจี๊ยบเขียว ผลไม้เมืองร้อน (เช่น ทุเรียน มะละกอ มะม่วง มังคุด) และสินค้าเกษตรของไทยที่ญี่ปุ่นให้โควตาพิเศษในการส่งออก เช่น เนื้อหมูและแฮมแปรรูป กล้วยสด สับปะรดสด กากน้ำตาล และสำหรับสินค้าเกษตรที่ไทยจะต้องเปิดตลาดให้แก่ญี่ปุ่น เช่น แอปเปิล พีช แพร์ พรุน มะนาวฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ แตงโม และแตงอื่นๆ (2) ด้านความร่วมมือ : ด้านเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งจากผลการเปิดตลาดโดยลดภาษีเพียงอย่างเดียว มิได้เป็นหลักประกันว่าสินค้าเกษตรไทยจะเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารมาก
ดังนั้น ความสำเร็จในการเจรจาเรื่องความร่วมมือด้านเกษตร ป่าไม้ และประมงกับญี่ปุ่น ทำให้ไทยมีกลไกถาวรในแก้ไขปัญหาการค้าสินค้าเกษตรกับญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงการขยายและส่งเสริมการค้าระหว่างสหกรณ์ของสองประเทศด้วย โดยสรุปแล้ว ผลจากความตกลง JTEPA จะส่งผลดีต่อภาคการเกษตรของไทย โดยจะมีโอกาสส่งออกสินค้าเกษตรไปญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นก็ตาม อานิสงส์ดังกล่าวอาจจะไม่ตกผลึกลงไปสู่เกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เท่ากับผลความตกลงในด้านความร่วมมือระหว่างสหกรณ์การเกษตรไทยและสหกรณ์การเกษตรญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริงแล้ว ยังจะเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ภาคการเกษตรของไทย ซึ่งสอดคล้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานไว้อีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เป็นหน่วยงานซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในด้านเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศที่สำคัญหลายประการ โดยมีหลักการดำเนินงานที่สำคัญ คือ มุ่งเน้นประโยชน์ที่จะเกิดแก่เกษตรกรไทยเป็นที่ตั้ง โดยตามภารกิจแล้วจะสามารถแบ่งภารกิจงานหลักได้ 2 ด้าน คือ (1) งานเจรจาการค้าสินค้าเกษตร และ (2) งานความร่วมมือด้านเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ โดยผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในรอบปีที่ผ่านมาคือ การเจรจาจัดทำความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement : JTEPA) ซึ่งได้เริ่มมีผลบังคับใช้แล้ว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2550 โดยผลความตกลงที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ (1) ด้านการเปิดตลาดสินค้าเกษตรระหว่างกัน โดยสินค้าเกษตรของไทยที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีนำเข้าของญี่ปุ่น เช่น ไก่ กุ้ง ปลาหมึก ทูน่ากระป๋อง ปลาปรุงแต่ง กระเจี๊ยบเขียว ผลไม้เมืองร้อน (เช่น ทุเรียน มะละกอ มะม่วง มังคุด) และสินค้าเกษตรของไทยที่ญี่ปุ่นให้โควตาพิเศษในการส่งออก เช่น เนื้อหมูและแฮมแปรรูป กล้วยสด สับปะรดสด กากน้ำตาล และสำหรับสินค้าเกษตรที่ไทยจะต้องเปิดตลาดให้แก่ญี่ปุ่น เช่น แอปเปิล พีช แพร์ พรุน มะนาวฝรั่ง สตรอเบอร์รี่ แตงโม และแตงอื่นๆ (2) ด้านความร่วมมือ : ด้านเกษตร ป่าไม้ และประมง ซึ่งจากผลการเปิดตลาดโดยลดภาษีเพียงอย่างเดียว มิได้เป็นหลักประกันว่าสินค้าเกษตรไทยจะเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นได้ เนื่องจากญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความเข้มงวดในเรื่องคุณภาพและความปลอดภัยด้านอาหารมาก
ดังนั้น ความสำเร็จในการเจรจาเรื่องความร่วมมือด้านเกษตร ป่าไม้ และประมงกับญี่ปุ่น ทำให้ไทยมีกลไกถาวรในแก้ไขปัญหาการค้าสินค้าเกษตรกับญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงการขยายและส่งเสริมการค้าระหว่างสหกรณ์ของสองประเทศด้วย โดยสรุปแล้ว ผลจากความตกลง JTEPA จะส่งผลดีต่อภาคการเกษตรของไทย โดยจะมีโอกาสส่งออกสินค้าเกษตรไปญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น แต่กระนั้นก็ตาม อานิสงส์ดังกล่าวอาจจะไม่ตกผลึกลงไปสู่เกษตรกรอย่างเต็มเม็ดเต็มหน่วย เท่ากับผลความตกลงในด้านความร่วมมือระหว่างสหกรณ์การเกษตรไทยและสหกรณ์การเกษตรญี่ปุ่น ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรอย่างแท้จริงแล้ว ยังจะเป็นการส่งเสริมองค์ความรู้และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ภาคการเกษตรของไทย ซึ่งสอดคล้องกับแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานไว้อีกด้วย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-