สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ออกติดตามผลโครงการขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ในพื้นที่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี และบุรีรัมย์ จำนวน 200 บ่อ พบ ร้อยละ 86 กักเก็บน้ำได้ตลอดทั้งปี ช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง แนะเกษตรกร ปลูกหญ้าแฝกป้องกันขอบสระพังทลาย
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทุ่มงบประมาณ 972 ล้านบาท ให้กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการขุดสระน้ำขนาด 1,260 ลบ.ม. ในปี 2549-2550 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตชลประทาน บรรเทาปัญหาภัยแล้ง เพิ่มผลผลิตและสร้างรายได้แก่เกษตรกร ในพื้นที่เป้าหมายซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่กระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวน 63,520 บ่อ รวม 72 จังหวัด ระยะดำเนินการ 3 ปี (ปี 2548 — 2550)
ในการนี้ ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยศูนย์ประเมิน ได้ติดตามผลการปฏิบัติงานโครงการขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ให้กับเกษตรกร ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี และบุรีรัมย์ จำนวน 200 บ่อ พบว่า สระน้ำที่ขุดตามโครงการดังกล่าว ร้อยละ 86 กักเก็บน้ำได้ตลอดทั้งปี และช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ส่วนร้อยละ 12 กักเก็บน้ำได้ไม่ตลอดปีซึ่งจะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ — พฤษภาคม และร้อยละ 2 กักเก็บน้ำไม่ได้เลย เนื่องจากไม่มีน้ำไหลเข้าประกอบกับสระที่ตื้นไป ทั้งนี้ เกษตรกรที่สามารถกักเก็บน้ำได้ส่วนใหญ่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำมาทำการเกษตรได้ โดยใช้พื้นที่บนขอบสระ และพื้นที่ใกล้ขอบสระ ปลูกพืชผักควบคู่กับการเลี้ยงปลาไว้บริโภคในครัวเรือนส่วนที่เหลือนำไปขาย และบางครัวเรือนใช้น้ำเพื่อเลี้ยงโคเนื้อในช่วงฤดูแล้ง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ควรพิจารณาปรับรูปแบบสระน้ำให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่ และในระหว่างการขุดสระ เกษตรกรพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ควรให้ผู้รับเหมานำดินที่ขุดขึ้นมาเสริมคัดดินรอบสระให้กว้างขึ้นซึ่งจะทำให้ขอบสระต่ำลง สะดวกต่อการนำน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ ในขณะเดียวกันหน้าดินที่ขุดขึ้นควรแยกกองต่างหากเพื่อนำมาเสริมด้านบน ซึ่งจะทำให้ดินด้านบนเป็นหน้าดินเดิมที่มีคุณภาพ และควรแนะนำให้เกษตรกรรู้วิธีดูแลรักษาสระให้คงสภาพที่ดีตลอดไป เช่น การส่งเสริมให้ปลูกหญ้าแฝกตามคันดินรวมถึงขอบสระเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทุ่มงบประมาณ 972 ล้านบาท ให้กรมพัฒนาที่ดินดำเนินการขุดสระน้ำขนาด 1,260 ลบ.ม. ในปี 2549-2550 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำไว้ใช้ในพื้นที่ทำการเกษตรนอกเขตชลประทาน บรรเทาปัญหาภัยแล้ง เพิ่มผลผลิตและสร้างรายได้แก่เกษตรกร ในพื้นที่เป้าหมายซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำที่กระจายอยู่ทั่วประเทศจำนวน 63,520 บ่อ รวม 72 จังหวัด ระยะดำเนินการ 3 ปี (ปี 2548 — 2550)
ในการนี้ ทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยศูนย์ประเมิน ได้ติดตามผลการปฏิบัติงานโครงการขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ช่วงเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ให้กับเกษตรกร ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ อุดรธานี และบุรีรัมย์ จำนวน 200 บ่อ พบว่า สระน้ำที่ขุดตามโครงการดังกล่าว ร้อยละ 86 กักเก็บน้ำได้ตลอดทั้งปี และช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ส่วนร้อยละ 12 กักเก็บน้ำได้ไม่ตลอดปีซึ่งจะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง โดยเฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์ — พฤษภาคม และร้อยละ 2 กักเก็บน้ำไม่ได้เลย เนื่องจากไม่มีน้ำไหลเข้าประกอบกับสระที่ตื้นไป ทั้งนี้ เกษตรกรที่สามารถกักเก็บน้ำได้ส่วนใหญ่สามารถใช้ประโยชน์จากน้ำมาทำการเกษตรได้ โดยใช้พื้นที่บนขอบสระ และพื้นที่ใกล้ขอบสระ ปลูกพืชผักควบคู่กับการเลี้ยงปลาไว้บริโภคในครัวเรือนส่วนที่เหลือนำไปขาย และบางครัวเรือนใช้น้ำเพื่อเลี้ยงโคเนื้อในช่วงฤดูแล้ง
นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ควรพิจารณาปรับรูปแบบสระน้ำให้มีความสอดคล้องกับพื้นที่ และในระหว่างการขุดสระ เกษตรกรพร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ควรให้ผู้รับเหมานำดินที่ขุดขึ้นมาเสริมคัดดินรอบสระให้กว้างขึ้นซึ่งจะทำให้ขอบสระต่ำลง สะดวกต่อการนำน้ำขึ้นมาใช้ประโยชน์ ในขณะเดียวกันหน้าดินที่ขุดขึ้นควรแยกกองต่างหากเพื่อนำมาเสริมด้านบน ซึ่งจะทำให้ดินด้านบนเป็นหน้าดินเดิมที่มีคุณภาพ และควรแนะนำให้เกษตรกรรู้วิธีดูแลรักษาสระให้คงสภาพที่ดีตลอดไป เช่น การส่งเสริมให้ปลูกหญ้าแฝกตามคันดินรวมถึงขอบสระเพื่อป้องกันการพังทลายของดิน เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-