สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดบ้านต้อนรับ คณะประเมินผล Independent External Evaluation (IEE) จากประเทศอิตาลี ร่วมหารือแนวทางการปรับปรุงการให้บริการข้อมูลสถิติและการพยากรณ์ทางการเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ หวังนำมาประยุกต์ใช้ วิเคราะห์ และวางแผนนโยบายทางการเกษตรของประเทศต่อไป
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการเดินทางมาร่วมประชุมหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจ ของคณะประเมินผล Independent External Evaluation (IEE) ซึ่งนำโดย Mr. John Dunmore จากกรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อประเมินผลงานด้านสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) พร้อมหารือถึงแนวทางการปรับปรุงการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการประเมินผลทางสถิติของคณะ IEE จะเน้นในด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานให้ตรงตามภารกิจกรอบการทำงานของ FAO ความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของประเทศสมาชิก รวมถึงประสิทธิภาพ คุณภาพ และปัญหาต่างๆ ของข้อมูลทางสถิติ เป็นต้น ซึ่งจากการประชุมหารือครั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ขอให้ FAO ปรับแก้ไขข้อมูลสถิติจำนวนผู้อดอยากของประเทศไทยให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง จากเดิมที่ FAO ได้นำเสนอสูงเกินความเป็นจริง
ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรนับมีบทบาทในฐานะเลขานุการคณะกรรมการความมั่นคงด้านอาหาร (Committee on Food Security: CFS) ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการความมั่นคงทางอาหาร และรายงานความก้าวหน้า สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของไทยต่อ FAO ซึ่งภายหลังการประชุมหารือในครั้งนี้ ทางคณะ IEE จะได้เดินทางไปหารือกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคต่างๆ ทั้งเอชีย ลาตินอเมริกา และอัฟริกาต่อไป และจะได้รวบรวมผลการหารือไปเสนอต่อที่ประชุม Programme Committee ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน กันยายน ที่จะถึงนี้ โดยเน้นถึงประเด็นความต้องการด้านสถิติของประเทศสมาชิก FAO ใน ศตวรรษที่ 21 คุณภาพการให้บริการข้อมูลด้านสถิติ การบริหารโครงสร้างและปัจจัยของงานสถิติ รวมถึงความร่วมมือของ FAO กับองค์กร/สถาบันต่างๆ เป็นต้น
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้หน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีบทบาทเป็นทั้งผู้ใช้และผู้ให้ข้อมูลทางสถิติกับ FAO แต่เนื่องจากส่วนใหญ่จะดำเนินการให้ข้อมูลผ่านทางแบบสอบถาม ทำให้ความสัมพันธ์ด้านการจัดทำข้อมูลร่วมกันกับ FAO นั้นยังค่อนข้างน้อย ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะได้มีความร่วมมือในการให้ข้อมูลทางสถิติกันมากขึ้น เพราะ FAO นับได้ว่าเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดว่าเป็นแหล่งข้อมูลด้านวิชาการที่ใหญ่ที่สุด อีกทั้งมีเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูลสถิติและการพยากรณ์ทางการเกษตรที่ทันสมัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งไทยได้เล็งเห็นความสำคัญ และมีความต้องการให้ FAO เข้ามาช่วยเหลือและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ด้านการนำข้อมูลสถิติมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์และวางแผนนโยบายทางการเกษตรของประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการเดินทางมาร่วมประชุมหารือกับสำนักงานเศรษฐกิจ ของคณะประเมินผล Independent External Evaluation (IEE) ซึ่งนำโดย Mr. John Dunmore จากกรุงโรม ประเทศอิตาลี เมื่อวันที่ 8 เมษายน ที่ผ่านมา เพื่อประเมินผลงานด้านสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization: FAO) พร้อมหารือถึงแนวทางการปรับปรุงการให้บริการเพื่อตอบสนองความต้องการของประเทศสมาชิกได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางการประเมินผลทางสถิติของคณะ IEE จะเน้นในด้านต่างๆ อย่างครอบคลุม ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินงานให้ตรงตามภารกิจกรอบการทำงานของ FAO ความสามารถที่จะตอบสนองความต้องการของประเทศสมาชิก รวมถึงประสิทธิภาพ คุณภาพ และปัญหาต่างๆ ของข้อมูลทางสถิติ เป็นต้น ซึ่งจากการประชุมหารือครั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ขอให้ FAO ปรับแก้ไขข้อมูลสถิติจำนวนผู้อดอยากของประเทศไทยให้ตรงกับสภาพความเป็นจริง จากเดิมที่ FAO ได้นำเสนอสูงเกินความเป็นจริง
ที่ผ่านมาสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรนับมีบทบาทในฐานะเลขานุการคณะกรรมการความมั่นคงด้านอาหาร (Committee on Food Security: CFS) ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการความมั่นคงทางอาหาร และรายงานความก้าวหน้า สถานการณ์ความมั่นคงทางอาหารของไทยต่อ FAO ซึ่งภายหลังการประชุมหารือในครั้งนี้ ทางคณะ IEE จะได้เดินทางไปหารือกับประเทศสมาชิกในภูมิภาคต่างๆ ทั้งเอชีย ลาตินอเมริกา และอัฟริกาต่อไป และจะได้รวบรวมผลการหารือไปเสนอต่อที่ประชุม Programme Committee ซึ่งจะจัดขึ้นในเดือน กันยายน ที่จะถึงนี้ โดยเน้นถึงประเด็นความต้องการด้านสถิติของประเทศสมาชิก FAO ใน ศตวรรษที่ 21 คุณภาพการให้บริการข้อมูลด้านสถิติ การบริหารโครงสร้างและปัจจัยของงานสถิติ รวมถึงความร่วมมือของ FAO กับองค์กร/สถาบันต่างๆ เป็นต้น
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้หน่วยงานต่างๆ ในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีบทบาทเป็นทั้งผู้ใช้และผู้ให้ข้อมูลทางสถิติกับ FAO แต่เนื่องจากส่วนใหญ่จะดำเนินการให้ข้อมูลผ่านทางแบบสอบถาม ทำให้ความสัมพันธ์ด้านการจัดทำข้อมูลร่วมกันกับ FAO นั้นยังค่อนข้างน้อย ซึ่งคาดว่าในอนาคตจะได้มีความร่วมมือในการให้ข้อมูลทางสถิติกันมากขึ้น เพราะ FAO นับได้ว่าเป็นองค์กรระหว่างประเทศที่จัดว่าเป็นแหล่งข้อมูลด้านวิชาการที่ใหญ่ที่สุด อีกทั้งมีเทคโนโลยีในการรวบรวมข้อมูลสถิติและการพยากรณ์ทางการเกษตรที่ทันสมัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งไทยได้เล็งเห็นความสำคัญ และมีความต้องการให้ FAO เข้ามาช่วยเหลือและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพของเจ้าหน้าที่ด้านการนำข้อมูลสถิติมาประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์และวางแผนนโยบายทางการเกษตรของประเทศต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-