กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เผยว่า การผลิตสินค้าเกษตรที่เป็นพืชอาหารของไทยยังคงมีปริมาณมากไม่เฉพาะการบริโภคภายในประเทศ แต่ยังคงพอที่จะตอบสนองความต้องการของโลก แม้ว่าเกษตรกรไทยบางส่วนจะปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกจากเดิมที่เป็น ข้าว พืชไร่ ไม้ผล เป็นพืชพลังงานทดแทนซึ่งให้ผลตอบแทนที่มากกว่าก็ตาม
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า จากที่ธนาคารโลกและ UN หวั่นวิตกเรื่องวิกฤตอาหารขาดแคลน และราคาอาหารแพงนั้น สำหรับประเทศไทยยืนยันว่าเราจะเป็นประเทศที่มีการผลิตสินค้าเกษตรที่แข็งแกร่ง อันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ คาดว่าไทยจะเป็นผู้นำทางการผลิตอาหารที่สำคัญของโลกอย่างแน่นอน ส่วนสถานการณ์ข้าวที่ราคาพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงนี้ เนื่องจากในปีนี้ประเทศที่เคยเป็นผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ เช่น เวียตนาม อินเดีย ประสบปัญหาทำให้ผลิตข้าวได้ลดลง ไม่สามารถส่งออกได้ตามเป้า และประเทศที่นำเข้าข้าว เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็ประสบปัญหาภัยธรรมชาติไม่สามารถผลิตข้าวได้ตามปกติทำให้ต้องนำเข้าข้าวมากขึ้น ส่งผลต่อราคาข้าวตามที่ทราบโดยทั่วกันอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงผลิตข้าวได้ปริมาณมากเกินความต้องการบริโภคภายในประเทศ แม้ว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรไทยจะเปลี่ยนไปปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และความต้องการน้ำไม่มากนัก
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ที่ทำการเกษตรของประเทศไทยในขณะนี้มีประมาณ 130.28 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดทั่วประเทศประมาณ 320.7 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 40.62 % ของพื้นที่ทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นเนื้อที่นาถึงประมาณ 67.5 ล้านไร่ ขณะที่แต่ละปีปลูกข้าวนาปีประมาณ 57 ล้านไร่และนาปรังประมาณ 11 ล้านไร่ สำหรับพืชไร่มีประมาณ 27.5 ล้านไร่ และไม้ผลไม้ยืนต้น 27.7 ล้านไร่ ที่เหลือเป็นพืชอื่นๆ แม้ว่าพืชพลังงานทดแทนจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็มีนโยบายส่งเสริมแนะนำเกษตรกรให้ปลูกพืชที่เหมาะสมกับคุณภาพและลักษณะของดิน รวมทั้งปัจจัยของน้ำในพื้นที่ของตนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิต การบริหารจัดการพื้นที่และปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิด สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรของประเทศไทยยังเพียงพอสำหรับการส่งออกเพื่อเลี้ยงชาวโลก
นอกจากนี้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นเป็น 1.13 ล้านล้านบาทในปี 2550 จาก 0.85 ล้านล้านบาทในปี 2546 ในจำนวนนี้มีสินค้าเกษตรส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา สับประรด เป็นต้น รวมทั้งสินค้า ท๊อปเทนอีกมาก ทั้ง ไม้ผล ปศุสัตว์และประมง การผลิตสินค้าเกษตรของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2546-2550 โดยผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจาก 29.57 ล้านตันเป็น 30.19 ล้านตัน มันสำปะหลังเพิ่มจาก 19.7 ล้านตันเป็น 26.9 ล้านตัน มีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 6.98 ปาล์มน้ำมันผลิตได้ถึง 6.4 ล้านตันจาก 4.9 ล้านตันมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.21 สุกรผลิตได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 ล้านตัว สำหรับปริมาณการผลิตและมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ในปี 2550 มีมูลค่าถึง 152,450 ล้านบาทสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยยังคงส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น แม้ว่าในบางปีจะประสบปัญหาภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม ภัยแล้ง อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันและปุ๋ยเคมียังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรขยับตัวเพิ่มขึ้นไม่สอดคล้องกับต้นทุนมากนัก เมื่อเทียบกับต้นทุนราคาค่าน้ำมัน ค่าขนส่ง ปุ๋ยเคมี รวมทั้งค่าครองชีพอื่นก็เพิ่มขึ้นตลอดเวลา อาจทำให้เกษตรกรไทยไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนและค่าครองชีพไม่ไหว ทำให้ต้องไม่เปลี่ยนอาชีพเป็นอย่างอื่น เมื่อถึงเวลานั้นทั้งชาวไทยและชาวโลกก็คงต้องเดือดร้อนเพราะอาหารขาดแคลน และราคาอาหารก็คงพุ่งสูงขึ้นมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก เพื่อสร้างความสมดุลของราคาระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า จากที่ธนาคารโลกและ UN หวั่นวิตกเรื่องวิกฤตอาหารขาดแคลน และราคาอาหารแพงนั้น สำหรับประเทศไทยยืนยันว่าเราจะเป็นประเทศที่มีการผลิตสินค้าเกษตรที่แข็งแกร่ง อันเนื่องมาจากสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ คาดว่าไทยจะเป็นผู้นำทางการผลิตอาหารที่สำคัญของโลกอย่างแน่นอน ส่วนสถานการณ์ข้าวที่ราคาพุ่งสูงขึ้นมากในช่วงนี้ เนื่องจากในปีนี้ประเทศที่เคยเป็นผู้ส่งออกข้าวที่สำคัญ เช่น เวียตนาม อินเดีย ประสบปัญหาทำให้ผลิตข้าวได้ลดลง ไม่สามารถส่งออกได้ตามเป้า และประเทศที่นำเข้าข้าว เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ก็ประสบปัญหาภัยธรรมชาติไม่สามารถผลิตข้าวได้ตามปกติทำให้ต้องนำเข้าข้าวมากขึ้น ส่งผลต่อราคาข้าวตามที่ทราบโดยทั่วกันอยู่แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม ไทยยังคงผลิตข้าวได้ปริมาณมากเกินความต้องการบริโภคภายในประเทศ แม้ว่าในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา เกษตรกรไทยจะเปลี่ยนไปปลูกพืชพลังงานทดแทน เช่น ปาล์มน้ำมัน และมันสำปะหลัง เนื่องจากให้ผลตอบแทนที่สูงกว่า และความต้องการน้ำไม่มากนัก
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวเพิ่มเติมว่า พื้นที่ที่ทำการเกษตรของประเทศไทยในขณะนี้มีประมาณ 130.28 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมดทั่วประเทศประมาณ 320.7 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 40.62 % ของพื้นที่ทั้งหมด ในจำนวนนี้เป็นเนื้อที่นาถึงประมาณ 67.5 ล้านไร่ ขณะที่แต่ละปีปลูกข้าวนาปีประมาณ 57 ล้านไร่และนาปรังประมาณ 11 ล้านไร่ สำหรับพืชไร่มีประมาณ 27.5 ล้านไร่ และไม้ผลไม้ยืนต้น 27.7 ล้านไร่ ที่เหลือเป็นพืชอื่นๆ แม้ว่าพืชพลังงานทดแทนจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า แต่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็มีนโยบายส่งเสริมแนะนำเกษตรกรให้ปลูกพืชที่เหมาะสมกับคุณภาพและลักษณะของดิน รวมทั้งปัจจัยของน้ำในพื้นที่ของตนเพื่อเพิ่มผลผลิตให้มากขึ้น และเป็นการลดต้นทุนการผลิต การบริหารจัดการพื้นที่และปัจจัยการผลิตที่เหมาะสมกับการปลูกพืชแต่ละชนิด สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้การผลิตสินค้าเกษตรของประเทศไทยยังเพียงพอสำหรับการส่งออกเพื่อเลี้ยงชาวโลก
นอกจากนี้ประเทศไทยมีมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ เพิ่มขึ้นเป็น 1.13 ล้านล้านบาทในปี 2550 จาก 0.85 ล้านล้านบาทในปี 2546 ในจำนวนนี้มีสินค้าเกษตรส่งออกเป็นอันดับ 1 ของโลก เช่น ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา สับประรด เป็นต้น รวมทั้งสินค้า ท๊อปเทนอีกมาก ทั้ง ไม้ผล ปศุสัตว์และประมง การผลิตสินค้าเกษตรของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี ตั้งแต่ปี 2546-2550 โดยผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้นจาก 29.57 ล้านตันเป็น 30.19 ล้านตัน มันสำปะหลังเพิ่มจาก 19.7 ล้านตันเป็น 26.9 ล้านตัน มีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 6.98 ปาล์มน้ำมันผลิตได้ถึง 6.4 ล้านตันจาก 4.9 ล้านตันมีอัตราการขยายตัวร้อยละ 8.21 สุกรผลิตได้เพิ่มขึ้นเกือบ 2 ล้านตัว สำหรับปริมาณการผลิตและมูลค่าสัตว์น้ำที่จับได้ในปี 2550 มีมูลค่าถึง 152,450 ล้านบาทสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
โฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวทิ้งท้ายว่า ประเทศไทยยังคงส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารเพิ่มขึ้น แม้ว่าในบางปีจะประสบปัญหาภัยธรรมชาติ เช่นน้ำท่วม ภัยแล้ง อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันและปุ๋ยเคมียังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ราคาสินค้าเกษตรขยับตัวเพิ่มขึ้นไม่สอดคล้องกับต้นทุนมากนัก เมื่อเทียบกับต้นทุนราคาค่าน้ำมัน ค่าขนส่ง ปุ๋ยเคมี รวมทั้งค่าครองชีพอื่นก็เพิ่มขึ้นตลอดเวลา อาจทำให้เกษตรกรไทยไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนและค่าครองชีพไม่ไหว ทำให้ต้องไม่เปลี่ยนอาชีพเป็นอย่างอื่น เมื่อถึงเวลานั้นทั้งชาวไทยและชาวโลกก็คงต้องเดือดร้อนเพราะอาหารขาดแคลน และราคาอาหารก็คงพุ่งสูงขึ้นมากอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะฉะนั้นทุกภาคส่วนจะต้องตระหนักในเรื่องนี้ให้มาก เพื่อสร้างความสมดุลของราคาระหว่างผู้ผลิตกับผู้บริโภค
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-