แท็ก
ปลาดุก
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (8 — 14 มี.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,210.04 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 658.62 ตัน สัตว์น้ำจืด 551.41 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.23 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.24 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 115.46 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.04 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.06 ตัน
การตลาด
รัสเซียยอมรับสินค้าสัตว์น้ำที่ผ่านการตรวจรับรองจากกรมประมง
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า รัสเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมากในการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยในปี 2549 มีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำถึง 1.5 ล้านตัน แต่ในจำนวนนี้มีการนำเข้าจากไทยเพียง 8,560 ตัน คิดเป็นร้อยละ 0.57 มีมูลค่าประมาณ 23 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น และเมื่อปี 2550 รัสเซียได้ประกาศระเบียบในการควบคุมความปลอดภัยสินค้าสัตว์น้ำ ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเข็มงวดมาตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2551 โดยระเบียบดังกล่าวมีข้อกำหนดว่าสินค้าที่จะนำเข้าไปจำหน่ายยังรัสเซียต้องผลิตจากโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองจากหน่วยงาน Federal Service for Veterinary and Phytosanitary Surveillance (FSVPS) และต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศผู้ส่งออกกำกับ ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องแจ้งสัญญาซื้อขายกับบริษัทผู้นำเข้ารัสเซียที่ จดทะเบียนอย่างถูกต้อง ให้ FSVPS ทราบก่อนส่งออกสินค้า ที่ผ่านมารัสเซียได้ส่งเจ้าหน้าที่จาก FSVPS ไปตรวจสอบ สุขอนามัยโรงงานแปรรูปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ นอร์เวย์ แคนาดา เวียดนาม จีน และไทย ผลการตรวจปรากฎว่า รัสเซียอนุญาตให้เฉพาะโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรอง สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายในรัสเซียได้ และมีไทยประเทศเดียวที่รัสเซียยอมรับข้อเสนอในการตรวจโรงงานเพียง 12 แห่ง เพื่อเป็นตัวแทนของโรงงาน จำนวน 101 แห่ง ที่กรมประมง เสนอขอการรับรองเพื่อการส่งออก อีกทั้งยอมรับรายชื่อโรงงานที่กรมประมงจะเสนอเพิ่มเติมในอนาคต โดยที่ทางรัสเซียอาจไม่ต้องเดินทางมาตรวจอีก เนื่องจากรัสเซียเชื่อมั่นในระบบการตรวจรับรองสุขอนามัยของกรมประมงที่มีมาตรฐานการดำเนินงานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อีกทั้งเห็นถึงศักยภาพของโรงงานไทย ในขณะที่เดินทางมาตรวจรับรองด้วย นับว่าเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ส่งออกที่จะเปิดตลาดสินค้าใหม่โดยเฉพาะปลาน้ำจืดจากการเพาะเลี้ยง สำหรับสินค้าสัตว์น้ำ ของไทยที่ส่งออกไปรัสเซีย ได้แก่ กุ้งแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์จากซูริมิ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแห้ง เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 116.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 0.71 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.16 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 มี.ค. — 4 เม.ย. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2551--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (8 — 14 มี.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,210.04 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 658.62 ตัน สัตว์น้ำจืด 551.41 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.23 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.24 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 115.46 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 35.04 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.06 ตัน
การตลาด
รัสเซียยอมรับสินค้าสัตว์น้ำที่ผ่านการตรวจรับรองจากกรมประมง
ดร.จิราวรรณ แย้มประยูร รองอธิบดีกรมประมง เปิดเผยว่า รัสเซียเป็นตลาดที่มีศักยภาพสูงมากในการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำ โดยในปี 2549 มีการนำเข้าสินค้าสัตว์น้ำถึง 1.5 ล้านตัน แต่ในจำนวนนี้มีการนำเข้าจากไทยเพียง 8,560 ตัน คิดเป็นร้อยละ 0.57 มีมูลค่าประมาณ 23 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น และเมื่อปี 2550 รัสเซียได้ประกาศระเบียบในการควบคุมความปลอดภัยสินค้าสัตว์น้ำ ซึ่งมีผลบังคับใช้อย่างเข็มงวดมาตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2551 โดยระเบียบดังกล่าวมีข้อกำหนดว่าสินค้าที่จะนำเข้าไปจำหน่ายยังรัสเซียต้องผลิตจากโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรองจากหน่วยงาน Federal Service for Veterinary and Phytosanitary Surveillance (FSVPS) และต้องมีใบรับรองสุขอนามัยที่ออกโดยหน่วยงานรับผิดชอบของประเทศผู้ส่งออกกำกับ ซึ่งผู้ส่งออกจะต้องแจ้งสัญญาซื้อขายกับบริษัทผู้นำเข้ารัสเซียที่ จดทะเบียนอย่างถูกต้อง ให้ FSVPS ทราบก่อนส่งออกสินค้า ที่ผ่านมารัสเซียได้ส่งเจ้าหน้าที่จาก FSVPS ไปตรวจสอบ สุขอนามัยโรงงานแปรรูปในประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ นอร์เวย์ แคนาดา เวียดนาม จีน และไทย ผลการตรวจปรากฎว่า รัสเซียอนุญาตให้เฉพาะโรงงานที่ผ่านการตรวจรับรอง สามารถส่งสินค้าไปจำหน่ายในรัสเซียได้ และมีไทยประเทศเดียวที่รัสเซียยอมรับข้อเสนอในการตรวจโรงงานเพียง 12 แห่ง เพื่อเป็นตัวแทนของโรงงาน จำนวน 101 แห่ง ที่กรมประมง เสนอขอการรับรองเพื่อการส่งออก อีกทั้งยอมรับรายชื่อโรงงานที่กรมประมงจะเสนอเพิ่มเติมในอนาคต โดยที่ทางรัสเซียอาจไม่ต้องเดินทางมาตรวจอีก เนื่องจากรัสเซียเชื่อมั่นในระบบการตรวจรับรองสุขอนามัยของกรมประมงที่มีมาตรฐานการดำเนินงานตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ อีกทั้งเห็นถึงศักยภาพของโรงงานไทย ในขณะที่เดินทางมาตรวจรับรองด้วย นับว่าเป็นโอกาสอันดีสำหรับผู้ส่งออกที่จะเปิดตลาดสินค้าใหม่โดยเฉพาะปลาน้ำจืดจากการเพาะเลี้ยง สำหรับสินค้าสัตว์น้ำ ของไทยที่ส่งออกไปรัสเซีย ได้แก่ กุ้งแช่แข็ง ปลาทูน่ากระป๋อง ผลิตภัณฑ์จากซูริมิ และผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำแห้ง เป็นต้น
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.84 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.93 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.12 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.40 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 90.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 91.43 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.43 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 117.51 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 116.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 0.71 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 115.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.16 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.22 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.11 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 29 มี.ค. — 4 เม.ย. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 26.70 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ ประจำวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน 2551--
-พห-