สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร มั่นใจ สถานการณ์พริกไทยปีนี้สดใส ราคายังปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีการเปิดตลาดสินค้าพริกไทยภายใต้ AFTA แนะเกษตรกรอย่ากังวล หันปรับตัวให้ได้กับสถานการณ์
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ไทยได้มีการเปิดตลาดพริกไทยภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA) โดยไม่จำกัดปริมาณนำเข้า อัตราภาษีร้อยละ 5 ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ อาจส่งผลให้ราคาซื้อขายปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม จากการลดลงของผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ของไทย เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และแก้วมังกร ทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาจึงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมีนาคม ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 150-155 บาท สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.71 และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีก ประกอบกับมีเกษตรกรรายใหญ่เก็บผลผลิตไว้เพื่อรอราคา ทำให้ขณะนี้ราคาถูกกำหนดโดยเกษตรกรผู้ขาย ซึ่งภาวะเช่นนี้ อาจจะมีผลทำให้ราคาไม่ปรับตัวลดลงมากนัก อีกทั้งพริกไทยจันทบุรียังมีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพโดยเฉพาะกลิ่นและรสชาติ ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการในประเทศ
ดังนั้น คาดว่าอนาคตพริกไทยหลังเปิด AFTA จะยังคงสดใสต่อไป หากเกษตรกรมีการปรับตัวเตรียมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ ซึ่งแนวทางดำเนินการ ได้แก่ การรักษาระดับผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ โดยควบคุมพื้นที่ปลูกไม่เกิน 18,000 ไร่ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมหลังจากปลูกพริกไทยมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ปรับเปลี่ยนการปลูกเป็นพริกไทยอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี กำหนดมาตรฐานพริกไทยและผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกและแปรรูป เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 ไทยได้มีการเปิดตลาดพริกไทยภายใต้ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (Asean Free Trade Area : AFTA) โดยไม่จำกัดปริมาณนำเข้า อัตราภาษีร้อยละ 5 ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านในปริมาณมากขึ้น โดยเฉพาะเวียดนามซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ อาจส่งผลให้ราคาซื้อขายปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตาม จากการลดลงของผลผลิตโดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นแหล่งผลิตรายใหญ่ของไทย เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า เช่น ยางพารา ปาล์มน้ำมัน และแก้วมังกร ทำให้ปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดน้อย ราคาจึงปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนมีนาคม ราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ระหว่างกิโลกรัมละ 150-155 บาท สูงขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันในปีที่ผ่านมาร้อยละ 9.71 และมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นอีก ประกอบกับมีเกษตรกรรายใหญ่เก็บผลผลิตไว้เพื่อรอราคา ทำให้ขณะนี้ราคาถูกกำหนดโดยเกษตรกรผู้ขาย ซึ่งภาวะเช่นนี้ อาจจะมีผลทำให้ราคาไม่ปรับตัวลดลงมากนัก อีกทั้งพริกไทยจันทบุรียังมีข้อได้เปรียบในเรื่องคุณภาพโดยเฉพาะกลิ่นและรสชาติ ทำให้เป็นที่ต้องการของผู้ประกอบการในประเทศ
ดังนั้น คาดว่าอนาคตพริกไทยหลังเปิด AFTA จะยังคงสดใสต่อไป หากเกษตรกรมีการปรับตัวเตรียมรับกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้รับการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมจากภาครัฐ ซึ่งแนวทางดำเนินการ ได้แก่ การรักษาระดับผลผลิตให้เพียงพอกับความต้องการใช้ในประเทศ โดยควบคุมพื้นที่ปลูกไม่เกิน 18,000 ไร่ สนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อฟื้นฟูสภาพดินที่เสื่อมโทรมหลังจากปลูกพริกไทยมาเป็นเวลานานหลายสิบปี ปรับเปลี่ยนการปลูกเป็นพริกไทยอินทรีย์แทนการใช้สารเคมี กำหนดมาตรฐานพริกไทยและผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้ได้มาตรฐานสากล รวมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการปลูกและแปรรูป เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-