สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผย รัสเซียมอบสิทธิประโยชน์ทางการค้า และลดอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าน้ำผลไม้ให้ไทย รองรับตลาดและเศรษฐกิจที่กำลังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ย้ำไทยมีโอกาสเข้าครองส่วนแบ่งการตลาดได้แน่นอน
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2550 มีการเติบโตถึงร้อยละ 8.1 ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของชาวรัสเซียเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีข้อมูลจาก Fruit and Vegetable Market ระบุว่า ในปี พ.ศ.2550 ตลาดน้ำผลไม้ขยายตัวถึงร้อยละ 12.9 ซึ่งคิดเป็นปริมาณน้ำผลไม้เท่ากับ 3.1 พันล้านลิตร (รวมถึงปริมาณน้ำผลไม้สำหรับเด็ก 135 ล้านลิตร) ทั้งนี้พบว่า ตลาดน้ำผลไม้สำหรับเด็กขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 28 ในขณะที่ตลาดน้ำผลไม้สำหรับผู้ใหญ่ขยายตัวร้อยละ 9.8 ซึ่งตัวเลขสถิติดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นจากเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาถึงเกือบ 2 เท่าตัว
อย่างไรก็ดี รัสเซียเป็นประเทศที่มีเพียงฤดูร้อนและฤดูหนาวเท่านั้น และเนื่องจากเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ ระดับอุณหภูมิจะแตกต่างตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปีของรัสเซียฝั่งยุโรป ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส จึงไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ทำให้มีปริมาณผักและผลไม้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ อีกทั้งมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้ผลิตน้ำผักหรือผลไม้จึงเน้นให้ผู้บริโภคเห็นถึงประโยชน์ของสารอาหารที่ได้รับจากการดื่มน้ำผัหรือผลไม้ และยังสามารถประหยัดกว่าการบริโภคผักและผลไม้โดยตรง
เลขาธิการ สศก. กล่าวย้ำว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศส่งออกน้ำสับปะรดรายสำคัญของตลาดโลก มีศักยภาพที่จะสามารถส่งออกน้ำสับปะรด รวมถึงน้ำผลไม้ชนิดอื่นไปยังรัสเซียได้ อีกทั้งไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้า (GSP) จากรัสเซียด้วย โดยมีความได้เปรียบทางการค้าด้านอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าน้ำผลไม้เพียงร้อยละ 7.5 ในขณะที่อัตราภาษีศุลกากรปกติอยู่ที่ร้อยละ 10 จากปัจจัยความพร้อมของไทยดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสในการเข้าครองส่วนแบ่งตลาดน้ำผลไม้ของรัสเซียได้เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากประเทศสหพันธรัฐรัสเซีย มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี พ.ศ.2550 มีการเติบโตถึงร้อยละ 8.1 ส่งผลให้พฤติกรรมการบริโภคน้ำผลไม้ของชาวรัสเซียเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งมีข้อมูลจาก Fruit and Vegetable Market ระบุว่า ในปี พ.ศ.2550 ตลาดน้ำผลไม้ขยายตัวถึงร้อยละ 12.9 ซึ่งคิดเป็นปริมาณน้ำผลไม้เท่ากับ 3.1 พันล้านลิตร (รวมถึงปริมาณน้ำผลไม้สำหรับเด็ก 135 ล้านลิตร) ทั้งนี้พบว่า ตลาดน้ำผลไม้สำหรับเด็กขยายตัวสูงสุดถึงร้อยละ 28 ในขณะที่ตลาดน้ำผลไม้สำหรับผู้ใหญ่ขยายตัวร้อยละ 9.8 ซึ่งตัวเลขสถิติดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้นจากเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมาถึงเกือบ 2 เท่าตัว
อย่างไรก็ดี รัสเซียเป็นประเทศที่มีเพียงฤดูร้อนและฤดูหนาวเท่านั้น และเนื่องจากเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ ระดับอุณหภูมิจะแตกต่างตามพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอุณหภูมิโดยเฉลี่ยทั้งปีของรัสเซียฝั่งยุโรป ต่ำกว่า 0 องศาเซลเซียส จึงไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก ทำให้มีปริมาณผักและผลไม้ไม่เพียงพอต่อความต้องการในประเทศ อีกทั้งมีราคาค่อนข้างสูง ดังนั้น ผู้ผลิตน้ำผักหรือผลไม้จึงเน้นให้ผู้บริโภคเห็นถึงประโยชน์ของสารอาหารที่ได้รับจากการดื่มน้ำผัหรือผลไม้ และยังสามารถประหยัดกว่าการบริโภคผักและผลไม้โดยตรง
เลขาธิการ สศก. กล่าวย้ำว่า ปัจจุบันไทยเป็นประเทศส่งออกน้ำสับปะรดรายสำคัญของตลาดโลก มีศักยภาพที่จะสามารถส่งออกน้ำสับปะรด รวมถึงน้ำผลไม้ชนิดอื่นไปยังรัสเซียได้ อีกทั้งไทยได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้า (GSP) จากรัสเซียด้วย โดยมีความได้เปรียบทางการค้าด้านอัตราภาษีศุลกากรนำเข้าน้ำผลไม้เพียงร้อยละ 7.5 ในขณะที่อัตราภาษีศุลกากรปกติอยู่ที่ร้อยละ 10 จากปัจจัยความพร้อมของไทยดังกล่าวน่าจะเป็นโอกาสในการเข้าครองส่วนแบ่งตลาดน้ำผลไม้ของรัสเซียได้เป็นอย่างดี
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-