สศท.6 ขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตรกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ระยะ 5 ปี ผลักดันการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน เกษตรกรรายได้สูง

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday August 23, 2023 14:13 —สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร

สศท.6 ขับเคลื่อนแผนพัฒนาการเกษตรกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 ระยะ 5 ปีผลักดันการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร ทรัพยากรเกษตรยั่งยืน เกษตรกรรายได้สูง

นายกฤช เอี่ยมฐานนท์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงการจัดทำแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 พ.ศ. 2566 ? 2570 ซึ่ง สศท.6 ในฐานะหน่วยงานหลักผู้รับผิดชอบจัดทำแผนฯ ได้จัดประชุมเพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2566 มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนจากหน่วยงานทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนจากภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาคการศึกษา และผู้แทนเกษตรกร ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ณ ห้องประชุมสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 และผ่านระบบการประชุมทางไกล

สำหรับแผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 พ.ศ. 2566 ? 2570 (จังหวัดนครนายก จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดสระแก้ว จังหวัดจันทบุรี จังหวัดตราด) เป็นการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำแผนฯ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาการเกษตรในระดับพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ เพิ่มรายได้ให้ครัวเรือนเกษตรกร ยกระดับสินค้าเกษตรให้มีคุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการเกษตร รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรทางการเกษตร ด้วยวิสัยทัศน์ ?เกษตรกรรายได้สูง สินค้าเกษตรมีคุณภาพ ปลอดภัย ทรัพยากรเกษตรและสิ่งแวดล้อมมีความสมดุลและยั่งยืน? โดยมี 4 ประเด็นการพัฒนา ดังนี้

ประเด็นการพัฒนาที่ 1 ส่งเสริมสนับสนุนการผลิตและเพิ่มมูลค่าผลผลิตสินค้าเกษตรให้ได้ผลตอบแทนสูงและตอบสนองความต้องการของตลาด ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรที่ตรงตามความต้องการของตลาด มีคุณภาพ ปลอดภัยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตรอัตลักษณ์ พัฒนาการผลิตการตลาดด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวและการให้บริการเชิงสุขภาพ เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และผลิตสินค้าเกษตรให้มีความหลากหลายเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาด เพิ่มช่วงเวลาที่ออกสู่ตลาดและกระจายการใช้แรงงานของเกษตรกร

ประเด็นการพัฒนาที่ 2 เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทาน ส่งเสริมให้เกษตรกร องค์กรเกษตรกรมีการแปรรูป สร้างมูลค่าเพิ่มเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายส่งไปจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ พัฒนาตลาดและระบบโลจิสติกส์สินค้าเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปทั้งในและต่างประเทศ ส่งเสริมสนับสนุนให้มีการบริหารจัดการสินค้าโดยการมีส่วนของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งในระดับจังหวัด และส่งเสริมการนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ในการบริหารจัดการเพื่อเพิ่มมูลค่าและลดการสูญเสีย

ประเด็นการพัฒนาที่ 3 บริหารจัดการทรัพยากรทางการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืน ส่งเสริมการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรที่ผลิตตามแนวทาง BCG ที่ใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ เพิ่มมูลค่าสินค้า ใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการทำเกษตรแบบยั่งยืนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อความเสี่ยงต่างๆ ประเด็นการพัฒนาที่ 4 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกทางการเกษตร พัฒนาการวิจัยให้มีความครบถ้วน ทันสถานการณ์ พัฒนากฎระเบียบ ขั้นตอนการส่งออกที่เอื้อประโยชน์ต่อเกษตรกร องค์กรเกษตรกรและผู้ประกอบการ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการเกษตร ฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อม พัฒนาการช่วยเหลือเกษตรกรทั้งในแบบทั่วไปและแบบมีเงื่อนไขเพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับเกษตรกร และพัฒนาการค้าและความร่วมมือในด้านต่างๆกับประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตการตลาด

ทั้งนี้ จากการประชุมดังกล่าวที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างแผนฯ ซึ่งภายหลังจากนี้ สศท.6 จะดำเนินการเผยแพร่แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออก 2 พ.ศ. 2566 ? 2570 ทางเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร www.oae.go.th ในช่วงเดือนกันยายน 2566 โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำแผนฯ ไปเป็นกรอบแนวทางและใช้เป็นข้อมูลประกอบการจัดทำแผนงาน/โครงการ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณทั้งจากงบประมาณปกติของหน่วยงาน งบจังหวัด งบกลุ่มจังหวัดรวมทั้งแหล่งเงินอื่นๆเพื่อยกระดับการพัฒนาการเกษตรในระดับพื้นที่ต่อไป หากหน่วยงานหรือผู้ใดที่สนใจข้อมูลเชิงลึกของแผนฯ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สศท.6 โทร. 03 835 1398 หรืออีเมล zone6@oae.go.th

******************************************************

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์ / ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี

ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ