สศอ. ปรับประมาณการจีดีพีภาคอุตสาหกรรม ปี 51 อีกรอบ เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6 จากเดิมร้อยละ 5.3 หลังรัฐบาลมีแผนกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง ฟื้นความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุน ชี้แนวโน้มดัชนีภาวะเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น มั่นใจกลุ่มตลาดใหม่ดันการส่งออกขยายตัวได้ดี
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม หรือ Manufacturing GDP ปี 2551 เป็นร้อยละ 6.6 (6.3 - 7.0) จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5.3 โดยเห็นว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น หลังจากได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่จะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งสัดส่วนของการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนในจีดีพีเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ทั้งนี้จากการติดตามเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างๆตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2550 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีสัญญาณของการปรับตัวที่ดีขึ้น
“เครื่องชี้วัดด้านการบริโภคภาคเอกชนเกือบทุกตัวมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เห็นได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มใน 2 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 13.7 จากที่ทั้งปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในประเทศ 2 เดือนแรกปี 2551 ขยายตัวถึงร้อยละ 39.0 จากที่หดตัวร้อยละ 11.3 ในปี 2550 ในส่วนของรายได้เกษตรกรขยายตัวดีขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2550 โดยล่าสุด 2 เดือนแรกปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 20 จากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ปัจจัยสำคัญมาจากราคาผลผลิตเกษตรหลายตัวมีการขยายตัวในระดับที่สูง ซึ่งเมื่อเกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้น ย่อมทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย อาทิ รถปิคอัพ รถจักรยานยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงการนำไปชำระหนี้ต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจเกิดการหมุนขึ้น ส่วนเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน อาทิ มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน 2 เดือนแรกปี 2551 ขยายตัวถึงร้อยละ 44.7 จากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 ในปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หรือรถปิคอัพในประเทศ 2 เดือนแรกปี 2551 กลับมาขยายตัวเป็นบวกโดยขยายตัวร้อยละ 6.0 หลังจากที่ในปี 2550 ทั้งปีหดตัวที่ร้อยละ 6.0”
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า ในส่วนของการส่งออกที่คาดว่าจะมีการชะลอลงบ้างจากปี 2550 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อย่างไรก็ตามใน 2 เดือนแรกของปี 2551 ยังขยายตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 24.5 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกยังคงเติบโตได้ดีคือ
กลุ่มตลาดใหม่ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 35.9 ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ แอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 53.8 ยุโรปตะวันออก ขยายตัวร้อยละ 45.5 ตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 34.3 เป็นต้น ในขณะนี้ การส่งออกไปยังกลุ่มตลาดหลัก อาทิ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ยังมีการขยายตัวถึงร้อยละ 14.7
นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ได้แก่ เรื่องของราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่จะอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และส่งผลไปถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2551--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สศอ. ได้ปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวภาคอุตสาหกรรม หรือ Manufacturing GDP ปี 2551 เป็นร้อยละ 6.6 (6.3 - 7.0) จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 5.3 โดยเห็นว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น หลังจากได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ที่จะช่วยฟื้นความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและนักลงทุนกลับมาอีกครั้ง ซึ่งสัดส่วนของการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนในจีดีพีเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 70 ทั้งนี้จากการติดตามเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจต่างๆตั้งแต่เมื่อช่วงปลายปี 2550 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน พบว่า มีสัญญาณของการปรับตัวที่ดีขึ้น
“เครื่องชี้วัดด้านการบริโภคภาคเอกชนเกือบทุกตัวมีแนวโน้มขยายตัวดีขึ้น เห็นได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มใน 2 เดือนแรกของปีนี้ ขยายตัวร้อยละ 13.7 จากที่ทั้งปี 2550 ขยายตัวร้อยละ 4.7 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งในประเทศ 2 เดือนแรกปี 2551 ขยายตัวถึงร้อยละ 39.0 จากที่หดตัวร้อยละ 11.3 ในปี 2550 ในส่วนของรายได้เกษตรกรขยายตัวดีขึ้นมาตั้งแต่ช่วงปลายปี 2550 โดยล่าสุด 2 เดือนแรกปี 2551 ขยายตัวร้อยละ 20 จากปี 2550 ที่ขยายตัวร้อยละ 4.7 ปัจจัยสำคัญมาจากราคาผลผลิตเกษตรหลายตัวมีการขยายตัวในระดับที่สูง ซึ่งเมื่อเกษตรกรมีรายได้ที่สูงขึ้น ย่อมทำให้เกิดการจับจ่ายใช้สอย อาทิ รถปิคอัพ รถจักรยานยนต์ หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ รวมถึงการนำไปชำระหนี้ต่างๆ ทำให้เศรษฐกิจเกิดการหมุนขึ้น ส่วนเครื่องชี้ด้านการลงทุนภาคเอกชน อาทิ มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุน 2 เดือนแรกปี 2551 ขยายตัวถึงร้อยละ 44.7 จากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 0.9 ในปี 2550 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์หรือรถปิคอัพในประเทศ 2 เดือนแรกปี 2551 กลับมาขยายตัวเป็นบวกโดยขยายตัวร้อยละ 6.0 หลังจากที่ในปี 2550 ทั้งปีหดตัวที่ร้อยละ 6.0”
ดร.อรรชกา กล่าวอีกว่า ในส่วนของการส่งออกที่คาดว่าจะมีการชะลอลงบ้างจากปี 2550 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว อย่างไรก็ตามใน 2 เดือนแรกของปี 2551 ยังขยายตัวในรูปดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 24.5 โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้การส่งออกยังคงเติบโตได้ดีคือ
กลุ่มตลาดใหม่ที่ขยายตัวถึงร้อยละ 35.9 ซึ่งตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ แอฟริกา ขยายตัวร้อยละ 53.8 ยุโรปตะวันออก ขยายตัวร้อยละ 45.5 ตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 34.3 เป็นต้น ในขณะนี้ การส่งออกไปยังกลุ่มตลาดหลัก อาทิ สหรัฐฯ และญี่ปุ่น ยังมีการขยายตัวถึงร้อยละ 14.7
นอกจากนี้ปัจจัยเสี่ยงที่จะต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด ได้แก่ เรื่องของราคาน้ำมันและอัตราเงินเฟ้อที่จะอยู่ในระดับที่สูง ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน และส่งผลไปถึงการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 21-27 เมษายน 2551--
-พห-