สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 เผยสถานการณ์การผลิตเกลือสมุทรในจังหวัดชลบุรีลดลงอย่างมาก ขณะที่ความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังคงเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี คาดฤดูกาลหน้าจะดีขึ้นแน่นอน วอนชาวนาช่วยกันอนุรักษ์ เพราะเป็นแหล่งผลิตเกลือแห่งสุดท้ายของจังหวัดแล้ว
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง สถานการณ์การผลิตเกลือสมุทร พื้นที่การผลิตเกลือในจังหวัดชลบุรี ปี 2550 / 51 พบพื้นที่จาก 1,500 ไร่เหลือพื้นที่ผลิตเกลือสมุทรประมาณ 1,300 ไร่ ปรับลดลงคิดเป็นร้อยละ 13.33 จากเกษตรกร 30 รายเหลือประมาณ 27 ราย (โดยเกษตรกรถือครองพื้นที่ทำนาเกลือเฉลี่ย ประมาณ 50-60 ไร่)
สำหรับสาเหตุที่เกษตรกรบางรายเลิกทำนาเกลือและขายนาเกลือให้นายทุนอสังหาริมทรัพย์สร้างที่อยู่อาศัยบริเวณตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง เนื่องจากแหล่งการผลิตเกลืออยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมอมตะ จึงทำให้ความเจริญของเมืองแผ่ขยายเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และเกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ทำให้เกิดความยุ่งยากในการผลิตเกลือมากขึ้น รวมทั้งเมื่อมีฝนตกปริมาณมาก นิคมอุตสาหกรรมจะเร่งระบายน้ำจำนวนมากลงสู่ทะเล และเกษตรกรต้องระบายน้ำออกจากนาเกลือเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น เกษตรกรต้องรอจนกว่าน้ำจากนิคมฯ เบาบางลง (ประมาณ 7 วัน) จึงจะสามารถระบายได้ เพราะถ้าเปิดทางระบายพร้อมกัน จะทำให้น้ำจืดยิ่งทะลักกลับเข้านาเกลือมากขึ้น ทำให้ความเค็มของเกลือลดลงและต้องยืดระยะเวลาการกู้เกลือออกไปอีก
ส่วนภาวะการณ์ผลิตเกลือฤดูกาลนี้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เพราะปีนี้ฝนหมดเร็วจึงเริ่มฤดูกาลได้เร็วขึ้น ในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูกาล มีสภาพอากาศแล้งจึงทำให้ได้ผลผลิตเกลือมากขึ้นเป็น 12 - 15 เกวียนต่อไร่ เดือนที่ได้ผลผลิตเกลือสูงสุด คือปลายเดือนมีนาคม 2551 เนื่องจากฝนทิ้งช่วงนาน ทำให้ได้ผลผลิตเกลือเพิ่มขึ้นเป็น 17 - 18 เกวียนต่อไร่ สุดท้ายช่วงปลายฤดูกาลในเดือนเมษายน 2551 ได้ผลผลิตเกลือประมาณ 12-13 เกวียนต่อไร่เพราะมีฝนตกสลับแล้งตลอดทั้งเดือน
นางสุวคนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในภาพรวมแล้ว การผลิตเกลือปีนี้ดีกว่าปีที่ผ่านมา เพราะได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นโดยผลผลิตต่อไร่ต่ำสุดอยู่ที่ 7 เกวียนต่อไร่ สูงสุด 20 เกวียนต่อไร่ โดยเฉลี่ยได้ผลผลิต 15 เกวียนต่อไร่ และจำนวนครั้งกู้เกลือได้มากขึ้น จากปีที่ผ่านมา กู้เกลือได้ 15-18 ครั้ง ในขณะที่ปีนี้กู้ได้ 20 - 22 ครั้ง ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนมากขึ้น ทำให้ได้เกลือมากขึ้น สำหรับราคาเกลือที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา ตลอดทั้งฤดูกาลอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในรอบ 10 ปี โดยทรงตัวทั้งฤดูกาล ราคาเกลือดำคละเฉลี่ยเกวียนละ 1,600-1,700 บาท เกลือขาว ถังละ 25-30 บาท ดอกเกลือ ถังละ 40-45 บาท ( 1 ถังเท่ากับ 15 กิโลกรัม ) ในส่วนดอกเกลือนิยมไปทำเกลือสปา จึงทำให้มีราคาที่ดีขึ้น แต่มีปริมาณไม่มากนัก
สถานการณ์ด้านการกำหนดราคาเริ่มมีทิศทางที่เปลี่ยนไป เพราะพื้นที่การผลิตเกลือของจังหวัดชลบุรีลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกษตรกรกลับเป็นผู้กำหนดราคาได้เอง และแนวโน้มระดับราคาเกลือในฤดูกาลหน้าคาดว่าจะดีมากขึ้นเพราะปริมาณการผลิตเกลือปรับโน้มลงอย่างต่อเนื่อง และความต้องการใช้เกลือสมุทรของอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังมีการพัฒนาโดยนำเกลือไปประยุกต์ใช้กันมากขึ้น ฉะนั้น ชาวนาเกลือควรอนุรักษ์พื้นที่ทำนาเกลือสมุทรไว้ เพราะเป็นผืนดินผลิตเกลือแหล่งสุดท้ายของจังหวัดชลบุรี นางสุวคนธ์ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึง สถานการณ์การผลิตเกลือสมุทร พื้นที่การผลิตเกลือในจังหวัดชลบุรี ปี 2550 / 51 พบพื้นที่จาก 1,500 ไร่เหลือพื้นที่ผลิตเกลือสมุทรประมาณ 1,300 ไร่ ปรับลดลงคิดเป็นร้อยละ 13.33 จากเกษตรกร 30 รายเหลือประมาณ 27 ราย (โดยเกษตรกรถือครองพื้นที่ทำนาเกลือเฉลี่ย ประมาณ 50-60 ไร่)
สำหรับสาเหตุที่เกษตรกรบางรายเลิกทำนาเกลือและขายนาเกลือให้นายทุนอสังหาริมทรัพย์สร้างที่อยู่อาศัยบริเวณตำบลคลองตำหรุ อำเภอเมือง เนื่องจากแหล่งการผลิตเกลืออยู่ใกล้กับนิคมอุตสาหกรรมอมตะ จึงทำให้ความเจริญของเมืองแผ่ขยายเข้ามาอย่างต่อเนื่อง และเกิดจากสภาพอากาศแปรปรวน ฝนตกไม่ตรงตามฤดูกาล ทำให้เกิดความยุ่งยากในการผลิตเกลือมากขึ้น รวมทั้งเมื่อมีฝนตกปริมาณมาก นิคมอุตสาหกรรมจะเร่งระบายน้ำจำนวนมากลงสู่ทะเล และเกษตรกรต้องระบายน้ำออกจากนาเกลือเช่นกัน แต่ในความเป็นจริงนั้น เกษตรกรต้องรอจนกว่าน้ำจากนิคมฯ เบาบางลง (ประมาณ 7 วัน) จึงจะสามารถระบายได้ เพราะถ้าเปิดทางระบายพร้อมกัน จะทำให้น้ำจืดยิ่งทะลักกลับเข้านาเกลือมากขึ้น ทำให้ความเค็มของเกลือลดลงและต้องยืดระยะเวลาการกู้เกลือออกไปอีก
ส่วนภาวะการณ์ผลิตเกลือฤดูกาลนี้เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2550 เพราะปีนี้ฝนหมดเร็วจึงเริ่มฤดูกาลได้เร็วขึ้น ในเดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 2551 ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูกาล มีสภาพอากาศแล้งจึงทำให้ได้ผลผลิตเกลือมากขึ้นเป็น 12 - 15 เกวียนต่อไร่ เดือนที่ได้ผลผลิตเกลือสูงสุด คือปลายเดือนมีนาคม 2551 เนื่องจากฝนทิ้งช่วงนาน ทำให้ได้ผลผลิตเกลือเพิ่มขึ้นเป็น 17 - 18 เกวียนต่อไร่ สุดท้ายช่วงปลายฤดูกาลในเดือนเมษายน 2551 ได้ผลผลิตเกลือประมาณ 12-13 เกวียนต่อไร่เพราะมีฝนตกสลับแล้งตลอดทั้งเดือน
นางสุวคนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในภาพรวมแล้ว การผลิตเกลือปีนี้ดีกว่าปีที่ผ่านมา เพราะได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นโดยผลผลิตต่อไร่ต่ำสุดอยู่ที่ 7 เกวียนต่อไร่ สูงสุด 20 เกวียนต่อไร่ โดยเฉลี่ยได้ผลผลิต 15 เกวียนต่อไร่ และจำนวนครั้งกู้เกลือได้มากขึ้น จากปีที่ผ่านมา กู้เกลือได้ 15-18 ครั้ง ในขณะที่ปีนี้กู้ได้ 20 - 22 ครั้ง ประกอบกับสภาพอากาศที่ร้อนมากขึ้น ทำให้ได้เกลือมากขึ้น สำหรับราคาเกลือที่เกษตรกรขายได้ ณ ไร่นา ตลอดทั้งฤดูกาลอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในรอบ 10 ปี โดยทรงตัวทั้งฤดูกาล ราคาเกลือดำคละเฉลี่ยเกวียนละ 1,600-1,700 บาท เกลือขาว ถังละ 25-30 บาท ดอกเกลือ ถังละ 40-45 บาท ( 1 ถังเท่ากับ 15 กิโลกรัม ) ในส่วนดอกเกลือนิยมไปทำเกลือสปา จึงทำให้มีราคาที่ดีขึ้น แต่มีปริมาณไม่มากนัก
สถานการณ์ด้านการกำหนดราคาเริ่มมีทิศทางที่เปลี่ยนไป เพราะพื้นที่การผลิตเกลือของจังหวัดชลบุรีลดลงอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกษตรกรกลับเป็นผู้กำหนดราคาได้เอง และแนวโน้มระดับราคาเกลือในฤดูกาลหน้าคาดว่าจะดีมากขึ้นเพราะปริมาณการผลิตเกลือปรับโน้มลงอย่างต่อเนื่อง และความต้องการใช้เกลือสมุทรของอุตสาหกรรมต่อเนื่องยังมีการพัฒนาโดยนำเกลือไปประยุกต์ใช้กันมากขึ้น ฉะนั้น ชาวนาเกลือควรอนุรักษ์พื้นที่ทำนาเกลือสมุทรไว้ เพราะเป็นผืนดินผลิตเกลือแหล่งสุดท้ายของจังหวัดชลบุรี นางสุวคนธ์ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-