สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 เผย แนวโน้มการเพาะปลูกมันสำปะหลังในอุบลและศรีสะเกษเพิ่มมากเป็นประวัติการณ์ เหตุจากราคามันที่พุ่งสูงต่อเนื่อง บวกกับการจัดตั้งโรงงานผลิตเอทานอล ซึ่งจะแล้วเสร็จในปี 52 คาด มีกำลังผลิตวันละ 6 แสนลิตร และต้องการหัวมันถึง 5 พันตัน/วัน
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัด ศรีสะเกษนั้น แต่เดิมมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมากแต่พื้นที่ปลูกเริ่มลดลงจนถึงปี พ.ศ. 2545 โดยอุบลราชธานีมีพื้นที่ปลูกน้อยที่สุดคือ 70,954 ไร่ และศรีสะเกษ 43,566 ไร่ แต่ภายหลังปี พ.ศ. 2546 พื้นที่ปลูกทั้งสองจังหวัดเริ่มเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากราคาหัวมันสดที่กำลังมีราคาสูงขึ้น จนในปี 2550 ที่ผ่านมา พบว่า พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดอุบลราชธานีมีจำนวนถึง 104,934 ไร่ ส่วนศรีสะเกษมีจำนวน 84,767 ไร่ และคาดว่าในปีเพาะปลูก 2551 นี้ จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะมีสาเหตุจากการที่ราคามันที่พุ่งสูงแล้ว สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่เตรียมจัดตั้งโรงงานเอทานอลขึ้นในเขตอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี โดยบริษัทอุบลเกษตรพลังงานจำกัดนั้น คาดว่าจะใช้หัวมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ซึ่งมีกำลังผลิตวันละ 600,000 ลิตร และต้องการหัวมันสดประมาณ 5,000 ตัน/วัน โดยโรงงานจะแล้วเสร็จในปี 2552 และจะสามารถเริ่มรับซื้อหัวมันสำปะหลังสดได้ตั้งแต่กลางปี 2551 นี้
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวิเคราะห์กำลังการผลิตและความต้องการวัตถุดิบในแต่ละวันของบริษัทอุบลเกษตรพลังงานจำกัด พบว่า จะต้องมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพื่อผลิตวัตถุดิบให้แก่โรงงานเป็นจำนวนถึง 450,000 — 520,000 ไร่ ต่อปี (ผลผลิตเฉลี่ยที่ 4 และ 3.5 ตัน/ไร่) ในขณะที่พื้นที่ปลูกในอุบลราชธานีและศรีสะเกษมีเพียงประมาณ 200,000 ไร่ ทำให้มันสำปะหลังกลายเป็นพืชทองของทั้งสองจังหวัดรวมไปถึงจังหวัดข้างเคียงด้วย เช่น อำนาจเจริญ และยโสธร เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) จังหวัดนครราชสีมา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จังหวัดอุบลราชธานีและจังหวัด ศรีสะเกษนั้น แต่เดิมมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเป็นจำนวนมากแต่พื้นที่ปลูกเริ่มลดลงจนถึงปี พ.ศ. 2545 โดยอุบลราชธานีมีพื้นที่ปลูกน้อยที่สุดคือ 70,954 ไร่ และศรีสะเกษ 43,566 ไร่ แต่ภายหลังปี พ.ศ. 2546 พื้นที่ปลูกทั้งสองจังหวัดเริ่มเพิ่มมากขึ้น เนื่องมาจากราคาหัวมันสดที่กำลังมีราคาสูงขึ้น จนในปี 2550 ที่ผ่านมา พบว่า พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังในจังหวัดอุบลราชธานีมีจำนวนถึง 104,934 ไร่ ส่วนศรีสะเกษมีจำนวน 84,767 ไร่ และคาดว่าในปีเพาะปลูก 2551 นี้ จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นกว่าทุกปีที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะมีสาเหตุจากการที่ราคามันที่พุ่งสูงแล้ว สาเหตุสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การที่เตรียมจัดตั้งโรงงานเอทานอลขึ้นในเขตอำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี โดยบริษัทอุบลเกษตรพลังงานจำกัดนั้น คาดว่าจะใช้หัวมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล ซึ่งมีกำลังผลิตวันละ 600,000 ลิตร และต้องการหัวมันสดประมาณ 5,000 ตัน/วัน โดยโรงงานจะแล้วเสร็จในปี 2552 และจะสามารถเริ่มรับซื้อหัวมันสำปะหลังสดได้ตั้งแต่กลางปี 2551 นี้
นายอุดม กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อวิเคราะห์กำลังการผลิตและความต้องการวัตถุดิบในแต่ละวันของบริษัทอุบลเกษตรพลังงานจำกัด พบว่า จะต้องมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเพื่อผลิตวัตถุดิบให้แก่โรงงานเป็นจำนวนถึง 450,000 — 520,000 ไร่ ต่อปี (ผลผลิตเฉลี่ยที่ 4 และ 3.5 ตัน/ไร่) ในขณะที่พื้นที่ปลูกในอุบลราชธานีและศรีสะเกษมีเพียงประมาณ 200,000 ไร่ ทำให้มันสำปะหลังกลายเป็นพืชทองของทั้งสองจังหวัดรวมไปถึงจังหวัดข้างเคียงด้วย เช่น อำนาจเจริญ และยโสธร เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-