สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ดูงานอาหรับฯ เผยดูไบเป็นแหล่งกระจายสินค้าสำคัญ ประชากรกำลังซื้อสูง แต่ไม่สามารถผลิตอาหารเองได้ เหตุสภาพประเทศไม่อำนวย ไทยไม่รอช้ารีบคว้าโอกาสทองดันผักผลไม้สู่ตลาดแขกทันที ย้ำไทยต้องรักษาคุณภาพและมาตรฐาน แม้ UAE ไม่เข้มงวดเรื่องสุขอนามัยก็ตาม
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า เปิดเผยว่า ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สศก. ได้ทำการสำรวจและดูงานศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (UAE) เนื่องจากดูไบเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในตะวันออกกลาง และมีกำลังการซื้อสูง ประกอบกับสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรเป็นอาหารให้ประชากรบริโภคได้ จึงมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าอาหารมาก โดยมีอัตราภาษีสินค้าเกษตร 0 — 5 % อีกทั้งยังไม่เข้มงวดในเรื่องมาตรการสุขอนามัย จึงเป็นโอกาสดีของไทยในการผลักดันการส่งออกผักผลไม้สดและแปรรูปไปยัง UAE
สำหรับสภาพภูมิประเทศของเมืองดูไบ ส่วนใหญ่จะเป็นทะเลทราย สภาพภูมิอากาศมีลักษณะกึ่งเขตร้อนและแห้งแล้ง ขณะเดียวกันดูไบเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของตะวันออกกลาง ทำให้มีความต้องการอาหารมาก ซึ่งต้องนำเข้าจากรัฐต่าง ๆ ใน UAE ทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ รวมถึงการกระจายสินค้าต่อไปยังรัฐต่าง ๆ ใน UAE และประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน โอมาน ซูดาน มัลดีฟ และอัฟริกา เป็นต้น
โดยเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าผัก — ผลไม้สด 0 % ยกเว้นขิงและมะพร้าวภาษี 5 % ส่วนสินค้าอาหารแปรรูปและสินค้าอุปโภคบริโภคภาษี 5 % เท่านั้น และไม่คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมทั้งภาษีการค้าสำหรับผู้ประกอบการ ทั้งนี้ให้ความสำคัญเรื่อง Food Safety ซึ่งจะต้องมี Certificate of Health และ Rule of Origin แต่ยังไม่เข้มงวดในเรื่องมาตรการสุขอนามัย
จากปี 2550 พบว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ มีการนำเข้าผลไม้กระป๋องและไม่บรรจุกระป๋องจากไทยคิดเป็นมูลค่า 282 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าสับปะรดบรรจุและไม่บรรจุกระป๋อง ร้อยละ 89 นำเข้าในรูปน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำสับปะรด น้ำองุ่น น้ำแอ๊ปเปิ้ล และน้ำผลไม้ผสมคิดเป็นมูลค่า 66 ล้านบาท รวมทั้งมีการนำเข้าผลไม้สด อบแห้ง และแช่เย็นจนแข็งชนิดต่าง ๆ ได้แก่ สับปะรด กล้วยหอม มังคุด ฝรั่ง มะม่วง ส้มเปลือกล่อน ส้มโอ มะละกอ มะพร้าวน้ำหอม แตงโม ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ลองกอง น้อยหน่า ละมุด ชมพู่ แก้วมังกร มะขามหวาน มะขามแห้ง คิดเป็นมูลค่ากว่า 274 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าในรูปผลไม้กวนและแยม ได้แก่ ทุเรียนกวน สับปะรดกวน กล้วยกวน และแยมสับปะรด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติทั้งอิหร่าน อินเดีย ฝรั่งเศส และไทย ที่เข้าไปทำธุรกิจในดูไบ ให้ความเห็นว่าสับปะรดกระป๋องของไทยมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ในขณะที่สับปะรดสดส่วนใหญ่จะนำเข้าจากฟิลิปปินส์
อย่างไรก็ตามรสชาติของผลไม้ไทยเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่อาศัยอยู่ในอาหรับฯ ซึ่งมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน และมีหลายเชื้อชาติ โดยผลไม้ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ มังคุด ส้มโอ มะพร้าวน้ำหอม นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าพืชผักและสมุนไพรจากประเทศไทย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมาก รวมทั้งตะไคร้ ใบมะกรูด ใบโหระพา และพริกขี้หนู จึงเป็นโอกาสทองของไทยในการส่งออกผักผลไม้สดและแปรรูปไปยังตลาดใหม่ที่ไม่เข้มงวดและเสรี
เลขาธิการ สศก. กล่าวย้ำว่า ในการผลักดันการส่งออกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยต้องรักษามาตรฐานคุณภาพ รวมทั้งต้องมีการแก้ไขปัญหาเรื่องการขนส่งทั้งทางเครื่องบิน และทางเรือเดินทะเล ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ทำให้ราคาผลไม้ของไทยที่จำหน่ายในดูไบแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศคู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และจีน เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า เปิดเผยว่า ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา สศก. ได้ทำการสำรวจและดูงานศักยภาพการส่งออกสับปะรดกระป๋องของไทย ณ เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ (UAE) เนื่องจากดูไบเป็นศูนย์กลางการกระจายสินค้าในตะวันออกกลาง และมีกำลังการซื้อสูง ประกอบกับสภาพภูมิประเทศไม่เอื้ออำนวย ทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าเกษตรเป็นอาหารให้ประชากรบริโภคได้ จึงมีความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าอาหารมาก โดยมีอัตราภาษีสินค้าเกษตร 0 — 5 % อีกทั้งยังไม่เข้มงวดในเรื่องมาตรการสุขอนามัย จึงเป็นโอกาสดีของไทยในการผลักดันการส่งออกผักผลไม้สดและแปรรูปไปยัง UAE
สำหรับสภาพภูมิประเทศของเมืองดูไบ ส่วนใหญ่จะเป็นทะเลทราย สภาพภูมิอากาศมีลักษณะกึ่งเขตร้อนและแห้งแล้ง ขณะเดียวกันดูไบเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของตะวันออกกลาง ทำให้มีความต้องการอาหารมาก ซึ่งต้องนำเข้าจากรัฐต่าง ๆ ใน UAE ทั้งจากประเทศเพื่อนบ้านและประเทศอื่น ๆ รวมถึงการกระจายสินค้าต่อไปยังรัฐต่าง ๆ ใน UAE และประเทศอื่น ๆ ในตะวันออกกลาง เช่น อิหร่าน โอมาน ซูดาน มัลดีฟ และอัฟริกา เป็นต้น
โดยเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าผัก — ผลไม้สด 0 % ยกเว้นขิงและมะพร้าวภาษี 5 % ส่วนสินค้าอาหารแปรรูปและสินค้าอุปโภคบริโภคภาษี 5 % เท่านั้น และไม่คิดภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) รวมทั้งภาษีการค้าสำหรับผู้ประกอบการ ทั้งนี้ให้ความสำคัญเรื่อง Food Safety ซึ่งจะต้องมี Certificate of Health และ Rule of Origin แต่ยังไม่เข้มงวดในเรื่องมาตรการสุขอนามัย
จากปี 2550 พบว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรสต์ มีการนำเข้าผลไม้กระป๋องและไม่บรรจุกระป๋องจากไทยคิดเป็นมูลค่า 282 ล้านบาท โดยเป็นการนำเข้าสับปะรดบรรจุและไม่บรรจุกระป๋อง ร้อยละ 89 นำเข้าในรูปน้ำผลไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น น้ำสับปะรด น้ำองุ่น น้ำแอ๊ปเปิ้ล และน้ำผลไม้ผสมคิดเป็นมูลค่า 66 ล้านบาท รวมทั้งมีการนำเข้าผลไม้สด อบแห้ง และแช่เย็นจนแข็งชนิดต่าง ๆ ได้แก่ สับปะรด กล้วยหอม มังคุด ฝรั่ง มะม่วง ส้มเปลือกล่อน ส้มโอ มะละกอ มะพร้าวน้ำหอม แตงโม ทุเรียน ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ลองกอง น้อยหน่า ละมุด ชมพู่ แก้วมังกร มะขามหวาน มะขามแห้ง คิดเป็นมูลค่ากว่า 274 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีการนำเข้าในรูปผลไม้กวนและแยม ได้แก่ ทุเรียนกวน สับปะรดกวน กล้วยกวน และแยมสับปะรด คิดเป็นมูลค่าประมาณ 3 ล้านบาท โดยผู้ประกอบการนำเข้าส่วนใหญ่เป็นชาวต่างชาติทั้งอิหร่าน อินเดีย ฝรั่งเศส และไทย ที่เข้าไปทำธุรกิจในดูไบ ให้ความเห็นว่าสับปะรดกระป๋องของไทยมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ในขณะที่สับปะรดสดส่วนใหญ่จะนำเข้าจากฟิลิปปินส์
อย่างไรก็ตามรสชาติของผลไม้ไทยเป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่อาศัยอยู่ในอาหรับฯ ซึ่งมีประชากรประมาณ 5 ล้านคน และมีหลายเชื้อชาติ โดยผลไม้ที่มีศักยภาพสูง ได้แก่ มังคุด ส้มโอ มะพร้าวน้ำหอม นอกจากนั้นยังมีการนำเข้าพืชผักและสมุนไพรจากประเทศไทย เช่น หน่อไม้ฝรั่ง ซึ่งเป็นที่นิยมมาก รวมทั้งตะไคร้ ใบมะกรูด ใบโหระพา และพริกขี้หนู จึงเป็นโอกาสทองของไทยในการส่งออกผักผลไม้สดและแปรรูปไปยังตลาดใหม่ที่ไม่เข้มงวดและเสรี
เลขาธิการ สศก. กล่าวย้ำว่า ในการผลักดันการส่งออกและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยต้องรักษามาตรฐานคุณภาพ รวมทั้งต้องมีการแก้ไขปัญหาเรื่องการขนส่งทั้งทางเครื่องบิน และทางเรือเดินทะเล ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงกว่าประเทศอื่น ๆ ทำให้ราคาผลไม้ของไทยที่จำหน่ายในดูไบแพงกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศคู่แข่ง เช่น อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และจีน เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-