สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 12 - 18 สิงหาคม 2567
- ไม่มีรายงาน
- บริษัทที่ปรึกษา Archer Consulting เชื่อว่าสถานะของกลุ่มกองทุนและนักเก็งกำไรมีแนวโน้มที่จะเข้าซื้อน้ำตาลคืนจากตลาดเพื่อปิดบัญชีตั๋วขาย (Short Covering) เนื่องจากกลุ่มกองทุนและนักเก็งกำไรประเมินถึงผลผลิตของบราซิลที่คาดว่าจะมีปริมาณเพิ่มสูงขึ้น โดย Archer Consulting กล่าวว่า ภาพรวมในตลาดส่วนใหญ่มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าปี 2567/2568 ในภาคกลาง ? ใต้ของบราซิลจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบที่ประมาณ 605 ล้านตัน
แต่ปริมาณผลผลิตอาจลดลงเหลือที่ประมาณ 586 ล้านตัน หากสภาพอากาศในหนึ่งเดือนข้างหน้ายังคงมีความแห้งแล้ง และกล่าวเสริมว่า กลุ่มผู้สังเกตการณ์ตลาดได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ปริมาณผลผลิตในภาคกลาง ?ใต้ของบราซิล รวมถึงยังคงต้องติดตามรายงานของ Unica ในช่วงครึ่งหลังของเดือนกรกฎาคม 2567 ที่คาดว่าจะสามารถให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับปริมาณผลผลิตอ้อยในภาคกลาง ? ใต้ของบราซิลได้ละเอียดมากยิ่งขึ้น
- สำนักงานกำกับดูแลน้ำตาล (SRA) ของประเทศฟิลิปปินส์มีคำสั่งลงวันที่ 8 สิงหาคม 2567 อนุญาตให้นำเข้าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์จำนวน 240,000 ตัน โดยการนำเข้าน้ำตาลจำนวนดังกล่าวคาดว่าจะเข้าสู่ฟิลิปปินส์ในช่วงประมาณกลางเดือนกันยายน 2567 และจะถูกจัดประเภทเป็นน้ำตาลสำรองภายในประเทศ โดย SRA คาดการณ์ว่า การเปิดหีบของฟิลิปปินส์จะเริ่มต้นล่าช้า เนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญ (El Nino) ทำให้อ้อยเกิดความเสียหาย ด้านสมาคมสหพันธ์แรงงานของฟิลิปปินส์ เรียกร้องว่า สมาคมสหพันธ์แรงงานจำเป็นต้องได้มีส่วนร่วมอยู่ในการอภิปรายของคณะผู้มีส่วนได้เสียของอุตสาหกรรมน้ำตาล
- กลุ่มผู้ค้าน้ำตาลของประเทศอินเดีย คาดการณ์ว่า การปรับขึ้นราคาเอทานอลจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำตาลภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม หากมีการยกเลิกข้อจำกัดด้านการนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอลอาจสนับสนุนราคาน้ำตาลภายในประเทศของอินเดียให้ปรับตัวสูงขึ้นได้ ด้านประธานโรงงานน้ำตาล Balrampur Chini Mills กล่าวว่า รัฐบาลอินเดียอาจขึ้นราคาเอทานอล และยกเลิกข้อจำกัดการนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอลสำหรับปี 2567/2568 และคาดการณ์ว่า อุปทานน้ำตาลของอินเดียยังคงมีเพียงพอเพื่อรักษาระดับราคาน้ำตาลภายในประเทศให้คงที่ โดยกล่าวเสริมว่า อินเดียน่าจะมีน้ำตาลส่วนเกิน (Surplus) เพียงพอที่จะส่งออกได้ 2 ล้านตัน ในปีหน้า แม้จะมีการนำน้ำตาลไปใช้ผลิตเป็นเอทานอลแล้ว 4.00 - 4.50 ล้านตัน
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร