สถานการณ์การผลิตและการตลาดรายสัปดาห์ 25 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567
1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1) ข้าวนาปี ปี 2567/68 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนตุลาคม 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.020 ล้านไร่ ผลผลิต 27.007 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 435 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2566/67 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 62.098 ล้านไร่ ผลผลิต 26.934 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 431 กิโลกรัม เนื้อที่เพาะปลูกลดลงร้อยละ 0.13 ในขณะที่ผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.27 และร้อยละ 0.23 ตามลำดับ
โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะลดลง เนื่องจากเกษตรกรมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชอื่นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า เช่น อ้อยโรงงาน หรือมันสำปะหลัง สำหรับผลผลิตและผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณน้ำฝนภายหลังจากที่เพาะปลูกแล้วเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว ประกอบกับราคาที่เกษตรกรขายได้ยังจูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา ถึงแม้ว่าในบางจังหวัดประสบอุทกภัยในช่วงเดือนสิงหาคม - กันยายน 2567 มีน้ำท่วมขังเป็นเวลานานทำให้ผลผลิตเสียหาย และบางพื้นที่มีการระบาดของแมลงหวี่ขาว แต่พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าว และไม่พบการระบาดของโรคและแมลง ส่งผลให้ภาพรวมผลผลิตทั้งประเทศเพิ่มขึ้น
คาดการณ์ผลผลิตเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 - พฤษภาคม 2568 โดยเดือนธันวาคม 2567 ผลผลิตออกสู่ตลาด ปริมาณ 2.292 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 8.49 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด โดยตั้งแต่ช่วงเดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2567 มีผลผลิตออกสู่ตลาดประมาณ 26.329 ล้านตันข้าวเปลือก หรือคิดเป็นร้อยละ 97.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด คงเหลือผลผลิตที่คาดว่าจะออกสู่ตลาดอีกประมาณ 0.678 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 2.50 ของผลผลิตข้าวนาปีทั้งหมด
2) ข้าวนาปรัง ปี 2568 สศก. คาดการณ์ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2567 มีเนื้อที่เพาะปลูก 12.005 ล้านไร่ ผลผลิต 7.864 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่ 655 กิโลกรัม เมื่อเทียบกับปี 2567 ที่มีเนื้อที่เพาะปลูก 10.125 ล้านไร่ ผลผลิต 6.560 ล้านตัน ผลผลิตต่อไร่ 648 กิโลกรัม ทั้งเนื้อที่เพาะปลูก ผลผลิต และผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก ปี 2567 ร้อยละ 18.57 ร้อยละ 19.88 และร้อยละ 1.08 ตามลำดับ โดยเนื้อที่เพาะปลูกคาดว่าจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากปรากฏการณ์ลานีญาที่เริ่มขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคม ถึง กันยายน 2567 และคาดว่าจะเกิดขึ้นต่อเนื่องไปจนถึงต้นปี 2568 จะทำให้ปริมาณน้ำฝนมากกว่าปกติ รวมถึงน้ำในอ่างเก็บน้ำส่วนใหญ่และน้ำตามแหล่งน้ำธรรมชาติเมื่อต้นฤดูกาลเพาะปลูกมีปริมาณมากกว่าปีที่แล้ว จูงใจให้เกษตรบางส่วนขยายเนื้อที่เพาะปลูกในที่นาที่เคยปล่อยว่าง เพื่อปลูกชดเชยข้าวนาปีที่เสียหายจากน้ำท่วม สำหรับผลผลิตต่อไร่คาดว่าเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีน้ำเพียงพอต่อต่อการเพาะปลูกและการเจริญเติบโตของต้นข้าว
ทั้งนี้ เกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ - ตุลาคม 2568 โดยคาดว่าผลผลิตจะออกสู่ตลาดมากในช่วงเดือนมีนาคม - เมษายน 2568 ปริมาณรวม 5.33 ล้านตันข้าวเปลือก หรือร้อยละ 67.73 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด
1.2 ราคา
ข้าวเปลือกเจ้านาปีหอมมะลิ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 14,768 บาท ราคาลดลงจากตันละ 14,848 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.54
ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 9,812 บาท ราคาลดลงจากตันละ 9,915 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.03
ข้าวหอมมะลิ 100% ชั้น 1 (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 32,910 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 32,550 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.11
ข้าวขาว 5% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 16,370 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 16,050 บาท ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.99
ข้าวหอมมะลิไทย 100% (ใหม่) สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 902 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,919 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 905 ดอลลาร์สหรัฐฯ (31,144 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.33 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 225 บาท
ข้าวขาว 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 516 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,688 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 510 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,551 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.18 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 137 บาท
ข้าวนึ่ง 5% สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 513 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,585 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 516 ดอลลาร์สหรัฐฯ (17,757 บาท/ตัน) ในสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.58 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 172 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยนสัปดาห์นี้ 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.2785 บาท
2. สถานการณ์ข้าวของประเทศผู้ผลิตและผู้บริโภคที่สำคัญ
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดว่า ในปี 2568 ไทยจะมีผลผลิตประมาณ 34 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 22 ล้านตันข้าวสาร จากปกติผลผลิตเฉลี่ยที่ 31 ? 32 ล้านตันข้าวเปลือก โดยใช้บริโภคในประเทศและเป็นเมล็ดพันธุ์ประมาณ 11 ล้านตันข้าวสาร จะเห็นได้ว่าไทยมีปริมาณข้าวมากกว่าความต้องการในประเทศสูงถึง 11 ล้านตันข้าวสาร เป็นผลมาจากสภาพอากาศเอื้ออำนวย ปริมาณน้ำในทุกเขื่อนมีมากกว่าร้อยละ 80 ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพข้าวดี โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ และคาดว่าผลผลิตในฤดูนาปรังจะดีตามไปด้วย ซึ่งไทยต้องมีการบริหารจัดการข้าวส่วนเพิ่มในปี 2568 ให้ดี และอาจต้องเผชิญกับปัจจัยระยะสั้นที่สำคัญ คือ ราคาและค่าเงินบาท สำหรับด้านการส่งออก ปี 2568 เมื่ออินเดียกลับมาส่งออกข้าวขาวอีกครั้ง ซึ่งในสถานการณ์ปกติอินเดียจะส่งออกข้าวขาว 5 - 6 ล้านตัน แต่ในช่วงที่ห้ามการส่งออกจะใช้การขายแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ในปริมาณ 5 - 6 แสนตัน ดังนั้น อินเดียจะได้ส่วนแบ่งในตลาดข้าวขาวกลับคืนไป เนื่องจากราคาส่งออกข้าวอินเดียถูกกว่าข้าวไทย โดยข้าวอินเดียมีราคาเฉลี่ยตันละ 440 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 15,083 บาท)
ส่วนข้าวไทยราคาเฉลี่ยตันละ 480 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ตันละ 16,454 บาท) รวมถึงตลาดข้าวนึ่งอินเดียอาจแย่งตลาดแอฟริกาจากไทยด้วยเช่นกัน เพราะคาดว่า ในปี 2568 อินเดียจะมีปริมาณผลผลิตมากถึง 142 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จึงมีความเป็นไปได้สูงที่อินเดียจะขยายการส่งออกข้าวมากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากค่าเงินบาทอ่อนค่าและมีเสถียรภาพอาจทำให้ข้าวไทยยังคงสามารถแข่งขันได้ และคาดว่าจะส่งออกได้มากกว่า 7 ล้านตัน ในปี 2568
นายวันนิวัต กิติเรียงลาภ รองเลขาธิการสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย คาดการณ์การส่งออกข้าวของไทยปี 2568 ว่า จะมีปริมาณ 7 ล้านตัน แบ่งเป็น ข้าวขาว 3 ? 3.5 ล้านตัน ข้าวนึ่ง 1.5 ล้านตัน ข้าวหอมมะลิ 1.3 ล้านตัน
ข้าวหอมปทุม 0.36 ล้านตัน และข้าวเหนียว 0.14 ? 0.17 ล้านตัน (หากราคาข้าวเหนียวในประเทศสูงจะไม่มีการส่งออก) ทั้งนี้ หากไทยมีข้าวพื้นนุ่มประมาณ 0.3 ? 0.4 ล้านตัน จะสามารถแทรกเข้าไปในตลาดฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย ที่คาดว่าจะนำเข้าเฉลี่ย 3.2 ล้านตัน 1.0 ล้านตัน และ 0.62 ล้านตัน ตามลำดับ ซึ่งจะส่งให้ภาพรวมการส่งออกข้าวไทยมีปริมาณที่เพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ นายสมเกียรติ มรรคยาธร เลขาธิการสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวถึงสถานการณ์ของข้าวถุงในช่วงที่ผ่านมาว่า ราคาข้าวเปลือกและข้าวสารได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก แต่ข้าวถุงยังไม่มีการปรับราคา เนื่องจากมีการแข่งขันในตลาดสูง อย่างไรก็ตาม ราคาข้าวที่สูงขึ้นในช่วงที่ผ่านมากลับเป็นโอกาสในการเปิดตลาดใหม่สำหรับกลุ่ม ?ข้าวหอม? ซึ่งเป็นข้าวผสมระหว่างข้าวขาวกับข้าวหอมมะลิ โดยกลุ่มข้าวหอมนี้สามารถบริหารจัดการต้นทุนได้ ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็มีความพอใจเพราะเป็นกลุ่มข้าวพื้นนุ่มที่มีคุณภาพ แต่ราคาไม่สูงเท่าข้าวหอมมะลิและคาดว่า ในปี 2568 ราคาข้าวยังคงเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขยายตัวของตลาดข้าว โดยเฉพาะตลาดข้าวหอมมีแนวโน้มที่จะสามารถเติบโตได้ เนื่องจากกำลังซื้อของผู้บริโภคยังคงทรงตัว ในขณะที่ข้าวขาวและข้าวหอมมะลิ ยังมีการแข่งขันสูง ดังนั้น การปรับราคาจึงไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสมสำหรับธุรกิจข้าวถุงในปัจจุบัน
ที่มา กรุงเทพธุรกิจ
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.2785 บาท
ในช่วงปลายเดือนกันยายน 2567 รัฐบาลอินเดียได้ยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติและกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำ (Minimum Export Price; MEP) ที่ 490 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน (16,796 บาทต่อตัน) ก่อนที่จะมีการยกเลิกข้อกำหนดราคาส่งออกขั้นต่ำดังกล่าวเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2567 แต่การห้ามส่งออกข้าวหัก 100% ยังคงมีผลบังคับใช้ ทั้งนี้ Platts ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการด้านเครือข่ายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ระดับโลก กล่าวว่า รัฐบาลอินเดียกำลังพิจารณาการยกเลิกการห้ามส่งออกข้าวขาวหัก 100% ซึ่งคาดว่าจะช่วยกระตุ้นการส่งออกข้าวหักของอินเดียได้ และถือเป็นส่วนสำคัญในการตอบสนองความต้องการอาหาร
ด้านมนุษยธรรมของประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศ โดยเฉพาะในแอฟริกาตะวันตกที่มีความต้องการข้าวหักสูง ประกอบกับอินเดียผลิตข้าวขาวหักได้ประมาณ 15 ล้านตัน จะช่วยเพิ่มศักยภาพการส่งออกได้ประมาณ 1.6 ล้านตัน และการยกเลิกข้อจำกัดนี้จะช่วยลดการทุจริตในกระบวนการส่งออกที่เกิดขึ้นจากผู้ส่งออกบางรายที่พยายามหลีกเลี่ยงข้อบังคับการห้ามส่งออกข้าวหัก
อย่างไรก็ตาม ผู้เกี่ยวข้องในตลาดข้าวมีความคิดเห็นที่แตกต่างกันเกี่ยวกับการตัดสินใจยกเลิกการห้ามส่งออกดังกล่าวของรัฐบาลอินเดีย โดยผู้ประกอบการค้าข้าวรายหนึ่ง กล่าวว่า การอนุญาตให้ส่งออกข้าวหักจะทำให้ตลาดข้าวขาว 25% หดตัวลง เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่มักผสมข้าวหักกับข้าวขาว 25% อาจส่งผลให้อินเดียสูญเสียตลาดข้าวขาว 25% ให้กับข้าวหัก และคาดว่าราคาข้าวขาวจะได้รับผลกระทบอย่างกะทันหัน และตลาดข้าวหักอาจใช้เวลานานกว่าจะมีเสถียรภาพ อีกทั้งสต็อกข้าวขององค์การอาหารแห่งชาติ (Food Corporation of India) มีเพียงข้าวสารและข้าวเปลือกเท่านั้น ซึ่งในการผลิตเอทานอล รัฐบาลและอุตสาหกรรมเอทานอลจะต้องซื้อข้าวหักจากโรงสี แต่หากการส่งออกข้าวหักเปิดกว้างขึ้นอาจสร้างแรงกดดันต่ออุปทานข้าวหักที่มีจำกัดและส่งผลให้ราคาข้าวหักสูงขึ้นณ วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 Platts (บริษัทที่ให้บริการด้านเครือข่ายข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับพลังงาน และสินค้าโภคภัณฑ์ระดับโลก) ประเมินราคาข้าวหักจากแหล่งต่างๆ ดังนี้
ชนิดข้าว อินเดีย* ไทย ปากีสถาน เวียดนาม เมียนมา ข้าวหัก 100% A1 Super??? us/ตัน - 393 - - - บาท/ตัน - 13,471 - - - ข้าวหัก 100%????????????????? us/ตัน 320 - 372 369 - บาท/ตัน 10,969 - 12,752 12,649 - ข้าวหัก B1 และ B2??????????? us/ตัน - - - - 330 บาท/ตัน - - - - 11,312 * ราคาเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2565 ก่อนมีการห้ามส่งออกข้าวหัก
ข้อมูลของ S&P Global Commodity Insights ซึ่งเป็นผู้ให้บริการชั้นนำในด้านข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลตลาดสินค้าและพลังงาน คาดการณ์ว่าอินเดียจะส่งออกข้าวได้ 20.5 ล้านตัน ในปีการตลาด 2567/68 (ตุลาคม 2567 ? กันยายน 2568) เพิ่มขึ้นร้อยละ 38.5 เมื่อเทียบกับปี 2566/67
ที่มา สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 34.2785 บาท
ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร