1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
คาดคะเนผลผลิตข้าวนาปี 2551/52 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีพื้นที่ปลูก 57.404 ล้านไร่ ผลผลิต 23.592 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 411 กิโลกรัม ทั้งพื้นที่ ผลผลิต และผลผลิต เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.03, 1.22 และ 1.23 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวในปี 2551 อยู่ในระดับสูงมากจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์ดีและมีการเอาใจใส่ดูแลมากขึ้น
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้าสูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ. - 31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51 เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551 หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ก.พ. 51 (ปรับปรุงยอด ณ วันที่ 3 มี.ค. 51)
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
หน่วย : ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวม ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) ข้าวทุกนิด เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 59,113 113,281 1,843 1,956 61,827 238,020 2.98
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ราคาข้าวในสัปดาห์นี้ค่อนข้างผันผวนราคาข้าวเปลือกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องสาเหตุหลักยังคงเป็นเพราะข้าวมีความชื้นสูงและโรงสียังคงชลอการรับซื้อ ในขณะที่ราคาข้าวสารปรับตัวสูงขึ้นจากแรงกระตุ้นของตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อใหม่ๆ เช่น อิหร่านจะนำเข้าข้าวคุณภาพดีจากไทย และฟิลิปปินส์จะเปิดประมูลนำเข้าข้าวอีกรอบเพื่อให้ได้ข้าวในปริมาณที่ต้องการ โรงสีจึงยังคงรีรอที่จะจำหน่าย
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 2 พฤษภาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.064 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 2.783 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.08
(ที่มา: จากกรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,044 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,423 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,988 บาท ราคาทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,178 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,302 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 26,275 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 23,258 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.97
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,198 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,345 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,720 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 375 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,003 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,103 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 923 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 29,103 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3,001 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,807 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 876 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,621 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,186 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,051 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 33,640 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,077 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,959 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 319 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0076 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2551/52 ประจำเดือนพฤษภาคม 2551 ว่าจะมี 432.05 ล้านตันข้าวสาร (643.08 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 427.07 ล้านตันข้าวสาร (636.50 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2550/51 ร้อยละ 1.17 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ บราซิล กัมพูชา จีน อินเดีย อิยิปต์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2551/52 ณ เดือนพฤษภาคม 2551 ว่าผลผลิต ปี 2551/52 จะมี 432.05 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.17 การใช้ในประเทศจะมี 427.97 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.84 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 82.58 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.18
สำหรับการค้าข้าวของโลก (ส่งออก-นำเข้า) คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 27.05 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 27.04 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2549/50 ร้อยละ 0.04 โดยคาดว่าบังคลาเทศ บราซิล อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ จะ ต้องการนำเข้าข้าวลดลงจากปีที่ผ่านมา ในขณะที่คิวบา จีน ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย อียู และ สหรัฐฯ คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออก คาดว่า อินเดีย และสหรัฐ จะส่งออกลดลง ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกมากขึ้นได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล จีน กัมพูชา อียิปต์ ปากีสถาน อรุกวัย เวียดนาม และไทย
2.3 ไนจีเรียงดจัดเก็บภาษีนำเข้าข้าว สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคาข้าวในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้รัฐบาลไนจีเรียตัดสินใจจะระงับการจัดเก็บภาษีนำเข้าข้าวในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม 2551 เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้มีการนำเข้าข้าวได้มากขึ้น ปัจจุบันไนจีเรียเก็บภาษีนำเข้าข้าวร้อยละ 50 และจัดเก็บภาษีข้าวที่ผลิตในประเทศร้อยละ 5 นอกจากนี้ ไนจีเรียได้ยกเลิกแผนการใช้เงิน 678 ล้านดอลลาร์ของรัฐบาลในการซื้อข้าวจากต่างประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม โดยจะนำเงินดังกล่าวไปใช้สำหรับแผนการเพิ่มผลผลิตอาหารและการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกษตรภายในประเทศในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้แทน โดยจะปล่อยให้เอกชนเป็นผู้นำเข้าข้าวต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลยังมีพันธสัญญากับประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก 3 ราย ในการรับประกันการจัดส่งข้าวแก่กลุ่มผู้นำเข้าเชิงพาณิชย์ของไนจีเรีย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12-18 พ.ค. 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
คาดคะเนผลผลิตข้าวนาปี 2551/52 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีพื้นที่ปลูก 57.404 ล้านไร่ ผลผลิต 23.592 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 411 กิโลกรัม ทั้งพื้นที่ ผลผลิต และผลผลิต เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.03, 1.22 และ 1.23 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวในปี 2551 อยู่ในระดับสูงมากจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์ดีและมีการเอาใจใส่ดูแลมากขึ้น
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้าสูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ. - 31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51 เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551 หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ก.พ. 51 (ปรับปรุงยอด ณ วันที่ 3 มี.ค. 51)
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
หน่วย : ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวม ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) ข้าวทุกนิด เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 59,113 113,281 1,843 1,956 61,827 238,020 2.98
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ราคาข้าวในสัปดาห์นี้ค่อนข้างผันผวนราคาข้าวเปลือกปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องสาเหตุหลักยังคงเป็นเพราะข้าวมีความชื้นสูงและโรงสียังคงชลอการรับซื้อ ในขณะที่ราคาข้าวสารปรับตัวสูงขึ้นจากแรงกระตุ้นของตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อใหม่ๆ เช่น อิหร่านจะนำเข้าข้าวคุณภาพดีจากไทย และฟิลิปปินส์จะเปิดประมูลนำเข้าข้าวอีกรอบเพื่อให้ได้ข้าวในปริมาณที่ต้องการ โรงสีจึงยังคงรีรอที่จะจำหน่าย
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 2 พฤษภาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.064 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 2.783 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.08
(ที่มา: จากกรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,044 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,423 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.18
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,988 บาท ราคาทรงตัวเท่าสัปดาห์ก่อน
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,178 บาท ราคาลดลงจากตันละ 12,302 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.00
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 26,275 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 23,258 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 12.97
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,198 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,345 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,228 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,720 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.44 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 375 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,003 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,103 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 923 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 29,103 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.67 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 3,001 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,807 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 876 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,621 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.74 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 1,186 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,051 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 33,640 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,077 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,959 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.41 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 319 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0076 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2551/52 ประจำเดือนพฤษภาคม 2551 ว่าจะมี 432.05 ล้านตันข้าวสาร (643.08 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 427.07 ล้านตันข้าวสาร (636.50 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2550/51 ร้อยละ 1.17 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตของประเทศผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ บราซิล กัมพูชา จีน อินเดีย อิยิปต์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2551/52 ณ เดือนพฤษภาคม 2551 ว่าผลผลิต ปี 2551/52 จะมี 432.05 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 1.17 การใช้ในประเทศจะมี 427.97 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.84 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 82.58 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.18
สำหรับการค้าข้าวของโลก (ส่งออก-นำเข้า) คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 27.05 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 27.04 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2549/50 ร้อยละ 0.04 โดยคาดว่าบังคลาเทศ บราซิล อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ จะ ต้องการนำเข้าข้าวลดลงจากปีที่ผ่านมา ในขณะที่คิวบา จีน ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย อียู และ สหรัฐฯ คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออก คาดว่า อินเดีย และสหรัฐ จะส่งออกลดลง ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกมากขึ้นได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล จีน กัมพูชา อียิปต์ ปากีสถาน อรุกวัย เวียดนาม และไทย
2.3 ไนจีเรียงดจัดเก็บภาษีนำเข้าข้าว สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคาข้าวในประเทศที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก ทำให้รัฐบาลไนจีเรียตัดสินใจจะระงับการจัดเก็บภาษีนำเข้าข้าวในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงตุลาคม 2551 เพื่อเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนได้มีการนำเข้าข้าวได้มากขึ้น ปัจจุบันไนจีเรียเก็บภาษีนำเข้าข้าวร้อยละ 50 และจัดเก็บภาษีข้าวที่ผลิตในประเทศร้อยละ 5 นอกจากนี้ ไนจีเรียได้ยกเลิกแผนการใช้เงิน 678 ล้านดอลลาร์ของรัฐบาลในการซื้อข้าวจากต่างประเทศในช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม โดยจะนำเงินดังกล่าวไปใช้สำหรับแผนการเพิ่มผลผลิตอาหารและการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเกษตรภายในประเทศในช่วง 3 ปีข้างหน้านี้แทน โดยจะปล่อยให้เอกชนเป็นผู้นำเข้าข้าวต่อไป ทั้งนี้ รัฐบาลยังมีพันธสัญญากับประเทศผู้ผลิตข้าวรายใหญ่ของโลก 3 ราย ในการรับประกันการจัดส่งข้าวแก่กลุ่มผู้นำเข้าเชิงพาณิชย์ของไนจีเรีย
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12-18 พ.ค. 2551--
-พห-