1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
‘สาหร่ายเซลล์เดียว’ ผลิตเป็นอาหารเสริมกุ้ง...ต้นทุนต่ำ
ดร. วิเชียร ยงมานิตชัย อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาวิจัยการนำสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium จากป่าชายเลนของประเทศไทย มาทำการเพาะเลี้ยง และสามารถนำมาสกัด DHA (docosahexaenoic) ที่มีปริมาณสูง จนถือได้ว่าเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีศักยภาพในการผลิตทางอุตสาหกรรม สาหร่ายเซลล์เดียวนี้มีศักยภาพสูง เนื่องจากการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีปริมาณไขมันสะสมในเซลล์สูง และมีสัดส่วนของ DHA ในไขมันสูงมากกว่า 35% ของกรดไขมันทั้งหมด ซึ่งข้อดีของการผลิต DHA จากสาหร่ายเซลล์เดียวอยู่ที่สาหร่ายนี้สามารถสะสมกรดไขมันในเซลล์ได้ในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีอัตราการเจริญเติบโตสูงในแหล่งอาหารที่ไม่ซับซ้อนมีความหลากหลาย และราคาถูก จึงเป็นการลดค่าใช้จ่ายในด้านวัตถุดิบ การผลิต DHA จากสาหร่าย สามารถทำได้ตลอดปีไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และสภาพภูมิประเทศ สำหรับประเทศไทยมีสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดนี้ที่สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงไปสู่การผลิต DHA ทางการค้าได้
จากการวิจัยที่นำสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ไปทดลองกับการเลี้ยงลูกกุ้งขาว พบว่าได้ผลที่ดีมาก จึงเชื่อว่า DHA จากสาหร่ายเซลล์เดียวเหมาะที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งได้เป็นอย่างดี การวิจัยที่จะนำสาหร่ายไปเป็นอาหารลูกกุ้งจะลดปัญหาโรคระบาดและการแตกขนาดของกุ้งได้เป็นอย่างดี ทางการแพทย์เชื่อว่ากรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3เป็นสารตั้งต้นการสังเคราะห์สารคล้ายฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรค บางชนิด การเสริม DHA จากสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ในการเพาะเลี้ยงระยะเริ่มแรกจะมีผลทำให้ลูกกุ้งแข็งแรง ลดปัญหาการแตกขนาด และสามารถเติบโตได้ตามปกติ เมื่อนำไปเลี้ยงในบ่อดิน นอกจากนี้ DHA จาก Schizochytrium ยังมีคุณภาพสูง สามารถทำให้มีความบริสุทธิ์จนถึงระดับนำไปใช้ทางโภชนาการ เพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับมนุษย์ได้ ที่สำคัญในประเทศไทยมีสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ที่สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงไปสู่การผลิต DHA เป็นอุตสาหกรรมเพื่อเลี้ยงลูกกุ้งหรือ ผสมกับอาหารกุ้งได้ในปริมาณมาก
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9 — 20 เม.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,075.63 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 615.56 ตัน สัตว์น้ำจืด 460.07 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.18 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.34 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.93 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 13.63 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.61 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.01 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.75 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 5.96 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.21 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่าน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.03 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 10—16 พ.ค.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.81 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12-18 พ.ค. 2551--
-พห-
การผลิต
‘สาหร่ายเซลล์เดียว’ ผลิตเป็นอาหารเสริมกุ้ง...ต้นทุนต่ำ
ดร. วิเชียร ยงมานิตชัย อาจารย์ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ศึกษาวิจัยการนำสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium จากป่าชายเลนของประเทศไทย มาทำการเพาะเลี้ยง และสามารถนำมาสกัด DHA (docosahexaenoic) ที่มีปริมาณสูง จนถือได้ว่าเป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่มีศักยภาพในการผลิตทางอุตสาหกรรม สาหร่ายเซลล์เดียวนี้มีศักยภาพสูง เนื่องจากการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว มีปริมาณไขมันสะสมในเซลล์สูง และมีสัดส่วนของ DHA ในไขมันสูงมากกว่า 35% ของกรดไขมันทั้งหมด ซึ่งข้อดีของการผลิต DHA จากสาหร่ายเซลล์เดียวอยู่ที่สาหร่ายนี้สามารถสะสมกรดไขมันในเซลล์ได้ในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังมีอัตราการเจริญเติบโตสูงในแหล่งอาหารที่ไม่ซับซ้อนมีความหลากหลาย และราคาถูก จึงเป็นการลดค่าใช้จ่ายในด้านวัตถุดิบ การผลิต DHA จากสาหร่าย สามารถทำได้ตลอดปีไม่ขึ้นอยู่กับฤดูกาล และสภาพภูมิประเทศ สำหรับประเทศไทยมีสาหร่ายเซลล์เดียวชนิดนี้ที่สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงไปสู่การผลิต DHA ทางการค้าได้
จากการวิจัยที่นำสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ไปทดลองกับการเลี้ยงลูกกุ้งขาว พบว่าได้ผลที่ดีมาก จึงเชื่อว่า DHA จากสาหร่ายเซลล์เดียวเหมาะที่จะนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเลี้ยงกุ้งได้เป็นอย่างดี การวิจัยที่จะนำสาหร่ายไปเป็นอาหารลูกกุ้งจะลดปัญหาโรคระบาดและการแตกขนาดของกุ้งได้เป็นอย่างดี ทางการแพทย์เชื่อว่ากรดไขมันในกลุ่มโอเมก้า-3เป็นสารตั้งต้นการสังเคราะห์สารคล้ายฮอร์โมนที่มีคุณสมบัติในการต่อต้านเชื้อโรค บางชนิด การเสริม DHA จากสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ในการเพาะเลี้ยงระยะเริ่มแรกจะมีผลทำให้ลูกกุ้งแข็งแรง ลดปัญหาการแตกขนาด และสามารถเติบโตได้ตามปกติ เมื่อนำไปเลี้ยงในบ่อดิน นอกจากนี้ DHA จาก Schizochytrium ยังมีคุณภาพสูง สามารถทำให้มีความบริสุทธิ์จนถึงระดับนำไปใช้ทางโภชนาการ เพื่อเป็นอาหารเสริมสำหรับมนุษย์ได้ ที่สำคัญในประเทศไทยมีสาหร่ายเซลล์เดียว Schizochytrium ที่สามารถพัฒนาการเพาะเลี้ยงไปสู่การผลิต DHA เป็นอุตสาหกรรมเพื่อเลี้ยงลูกกุ้งหรือ ผสมกับอาหารกุ้งได้ในปริมาณมาก
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (9 — 20 เม.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,075.63 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 615.56 ตัน สัตว์น้ำจืด 460.07 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.18 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.34 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.93 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 13.63 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 100.61 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.34 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.26 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.01 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 91.25 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.75 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 122.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 5.96 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 112.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 115.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 49.21 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่าน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.33 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.03 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 10—16 พ.ค.2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.40 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 26.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.81 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 12-18 พ.ค. 2551--
-พห-