สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เผยความก้าวหน้าโครงการปรับโครงสร้างสินค้าชาเมืองเชียงราย พบเกษตรกรพร้อมผลิตชาคุณภาพดี หากได้รับการสนับสนุนอย่างทันท่วงที วอนภาครัฐเร่งสนับสนุนเงินทุนให้เร็วขึ้น ชี้จะเป็นการเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับรองรับความต้องการของตลาดต่างประเทศได้
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยศูนย์ประเมินผล ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างสินค้าชา ในพื้นที่บ้านพญาไพรเล่าจอ หมู่ 6 ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย พบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชามีเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 4,423 ไร่ แยกเป็นชาอัสสัม (พันธุ์พื้นเมือง) 3,395 ไร่ ชาอู่หลง (พันธุ์ดี) 1,028 ไร่ มีผลผลิตเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม ซึ่งผลผลิตชาสดที่ออกสู่ตลาดในขณะนี้เป็นชาพันธุ์ดีในราคาพันธุ์พื้นเมือง (ราคา ก.ก.ละ 10 — 12 บาท จากที่ควรจะจำหน่ายได้ในราคา ก.ก.ละ 40 บาท) เพราะไม่มีอุปกรณ์และเครื่องจักรในการปรับปรุงคุณภาพ
ซึ่งจากการสอบถามบริษัทผู้ผลิตชาส่งออก พบว่า มีกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทำให้ชาคุณภาพดีจากประเทศไทยขาดโอกาสในการส่งออก ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาบ้านไพรเล่าจอ มีโรงเรือนพร้อมในการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์แล้ว ขาดแต่การสนับสนุนเงินกู้ เพื่อซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตจากหน่วยงานภาครัฐ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการติดตาม ให้คำแนะนำ และเร่งรัดเพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่สามารถดำเนินการจ่ายสินเชื่อให้เกษตรกรได้โดยเร็ว เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถดำเนินการผลิตชาคุณภาพดี จำหน่ายผลผลิตชาได้ราคาดีขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับรองรับความต้องการของตลาดต่างประเทศต่อไป
สำหรับโครงการปรับโครงสร้างสินค้าชานั้น ได้รับการอนุมัติงบประมาณโครงการจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2550 วงเงิน 6,816,600 บาท และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานโครงการเพื่อรายงานผลให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม นายมณฑล กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยศูนย์ประเมินผล ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการปรับโครงสร้างสินค้าชา ในพื้นที่บ้านพญาไพรเล่าจอ หมู่ 6 ต.เทอดไทย อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย พบว่า กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชามีเนื้อที่ปลูกทั้งหมด 4,423 ไร่ แยกเป็นชาอัสสัม (พันธุ์พื้นเมือง) 3,395 ไร่ ชาอู่หลง (พันธุ์ดี) 1,028 ไร่ มีผลผลิตเก็บเกี่ยวระหว่างเดือนเมษายนถึงธันวาคม ซึ่งผลผลิตชาสดที่ออกสู่ตลาดในขณะนี้เป็นชาพันธุ์ดีในราคาพันธุ์พื้นเมือง (ราคา ก.ก.ละ 10 — 12 บาท จากที่ควรจะจำหน่ายได้ในราคา ก.ก.ละ 40 บาท) เพราะไม่มีอุปกรณ์และเครื่องจักรในการปรับปรุงคุณภาพ
ซึ่งจากการสอบถามบริษัทผู้ผลิตชาส่งออก พบว่า มีกำลังการผลิตไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาดต่างประเทศ ทำให้ชาคุณภาพดีจากประเทศไทยขาดโอกาสในการส่งออก ทั้งนี้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกชาบ้านไพรเล่าจอ มีโรงเรือนพร้อมในการติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์แล้ว ขาดแต่การสนับสนุนเงินกู้ เพื่อซื้ออุปกรณ์และเครื่องจักรในการผลิตจากหน่วยงานภาครัฐ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ทำการติดตาม ให้คำแนะนำ และเร่งรัดเพื่อให้หน่วยงานในพื้นที่สามารถดำเนินการจ่ายสินเชื่อให้เกษตรกรได้โดยเร็ว เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถดำเนินการผลิตชาคุณภาพดี จำหน่ายผลผลิตชาได้ราคาดีขึ้น และเพิ่มกำลังการผลิตสำหรับรองรับความต้องการของตลาดต่างประเทศต่อไป
สำหรับโครงการปรับโครงสร้างสินค้าชานั้น ได้รับการอนุมัติงบประมาณโครงการจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เมื่อวันที่ 5 กรกฏาคม 2550 วงเงิน 6,816,600 บาท และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการติดตามผลการดำเนินงานโครงการเพื่อรายงานผลให้คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ ทราบเป็นระยะ ๆ ตามความเหมาะสม นายมณฑล กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-