1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
คาดคะเนผลผลิตข้าวนาปี 2551/52 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีพื้นที่ปลูก 57.404 ล้านไร่ ผลผลิต 23.592 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 411 กิโลกรัม ทั้งพื้นที่ ผลผลิต และผลผลิต เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.03, 1.22 และ 1.23 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวในปี 2551 อยู่ในระดับสูงมากจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์ดีและมีการเอาใจใส่ดูแลมากขึ้น
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้าสูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ. - 31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51 เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551 หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ก.พ. 51 (ปรับปรุงยอด ณ วันที่ 3 มี.ค. 51)
หน่วย : ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวม ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) ข้าวทุกนิด เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 59,113 113,281 1,843 1,956 61,827 238,020 2.98
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ราคาข้าวในสัปดาห์นี้จากที่กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการข้าวถุงฟ้ามหาชน จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในราคาถูกนั้น ส่งผลให้ความต้องการข้าวของผู้บริโภคในตลาดลดลง ทำให้ราคาข้าวขายส่งตลาดกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ในขณะที่ราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากแรงกระตุ้นของตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อใหม่ๆ จากต่างประเทศ รวมทั้งฟิลิปปินส์จะเปิดประมูลข้าวรอบใหม่เพื่อให้ได้ข้าวในปริมาณที่ต้องการ
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 2 พฤษภาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.064 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 2.783 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.08
(ที่มา: จากกรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,482 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,004 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.57
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,035 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,988 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,359 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,178 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,138 บาท ราคาลดลงจากตันละ 26,275 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.38
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,863 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,198 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,345 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 518 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,022 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 32,556 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,003 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 32,104 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 452 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 916 ดอลลาร์สหรัฐฯ( 29,179 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,807 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.78 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 372 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,070 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 34,085 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,051 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,640 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 445 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.8552 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 สถานการณ์และการประมูลข้าวประเทศฟิลิปปินส์ องค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์จะเปิดการประมูลข้าวจากภาคเอกชน จำนวน 141,440 ตัน ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นการประมูลที่ตกค้างมาจากรอบวันที่ 9 พ.ค. ซึ่งมีการเปิดประมูลข้าว 163,000 ตัน แต่รัฐบาลสามารถประมูลไปได้เพียง 21,560 ตันเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า NFA อาจจะจัดสรรโควตาให้เอกชนนำเข้าข้าวอีกประมาณ 200,000 ตัน โดยได้รับการยกเว้นภาษีเช่นเดียวกัน (zero-duty import quota) ซึ่งคาดว่าอาจจะมีการประมูลในเดือน มิ.ย.
ทั้งนี้ ราคาข้าวได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 88% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานี้ เช่นเดียวกับราคาธัญพืชที่เพิ่มขึ้น 63% และราคาข้าวโพดที่สูงขึ้น 54% ก่อนที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. จะลดลงมาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 เนื่องจากปริมาณอุปทานจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น
ทางด้าน กระทรวงเกษตรได้รายงานว่า ผลผลิตข้าวในช่วงไตรมาแรกมีจำนวน 3.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2% จากปีที่ผ่านมา แต่ต่ำกว่าที่เคยพยากรณ์ไว้ที่ 4.02 ล้านตัน เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนหันกลับไปให้พันธุ์ข้าวปกติจากที่เคยเปลี่ยนมาใช้ข้าวลูกผสม ทั้งนี้ คาดว่าในครึ่งปีแรกจะมีผลผลิตข้าว 7.11 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.7% จากปีที่ผ่านมา และทั้งปีคาดว่าจะมีประมาณ 17.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6% จากปีที่ผ่านมา
2.1 สถานการณ์ข้าวซาอุดิอาระเบีย / สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผู้ค้าข้าวในต่างประเทศหลายรายระบุว่า ประเทศซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กำลังวางแผนที่จะนำเข้าข้าวไทยมากขึ้นในปีนี้ เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศ แทนที่จะรอให้อินเดียยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออก ถึงแม้ว่าราคาจะแพงขึ้น ซึ่งการนำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้นถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับขณะนี้
ทั้งนี้ ตามปกติแล้วซาอุดีอาระเบียจะนำเข้าข้าวบาสมาติในสัดส่วน 70% ส่วนข้าวไทยคิดเป็น 10% ในขณะเดียวกันก็ระบุว่า ซาอุดีอาระเบียอาจเริ่มลงทุนในนาข้าวของไทยภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งนำเข้าข้าวประมาณ 750,000 ตัน ส่วนใหญ่มาจากอินเดีย ปากีสถาน และอียิปต์ ก็จะนำเข้าข้าวไทยประมาณ 60,000 ตัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 พ.ค. 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
คาดคะเนผลผลิตข้าวนาปี 2551/52 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีพื้นที่ปลูก 57.404 ล้านไร่ ผลผลิต 23.592 ล้านตันข้าวเปลือก และผลผลิตต่อไร่เฉลี่ย 411 กิโลกรัม ทั้งพื้นที่ ผลผลิต และผลผลิต เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.03, 1.22 และ 1.23 ตามลำดับ เนื่องจากราคาข้าวในปี 2551 อยู่ในระดับสูงมากจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูก ใช้เมล็ดพันธุ์ดีและมีการเอาใจใส่ดูแลมากขึ้น
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้าสูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ. - 31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51 เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551 หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ก.พ. 51 (ปรับปรุงยอด ณ วันที่ 3 มี.ค. 51)
หน่วย : ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวม ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) ข้าวทุกนิด เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 59,113 113,281 1,843 1,956 61,827 238,020 2.98
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย ราคาข้าวในสัปดาห์นี้จากที่กระทรวงพาณิชย์ จัดโครงการข้าวถุงฟ้ามหาชน จำหน่ายให้แก่ผู้บริโภคในราคาถูกนั้น ส่งผลให้ความต้องการข้าวของผู้บริโภคในตลาดลดลง ทำให้ราคาข้าวขายส่งตลาดกรุงเทพฯ ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อนเล็กน้อย ในขณะที่ราคาส่งออกปรับตัวสูงขึ้นจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากแรงกระตุ้นของตลาดต่างประเทศ โดยคาดว่าจะมีคำสั่งซื้อใหม่ๆ จากต่างประเทศ รวมทั้งฟิลิปปินส์จะเปิดประมูลข้าวรอบใหม่เพื่อให้ได้ข้าวในปริมาณที่ต้องการ
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 2 พฤษภาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.064 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 2.783 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.08
(ที่มา: จากกรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,482 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 17,004 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.57
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,035 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,988 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.37
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,359 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,178 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 25,138 บาท ราคาลดลงจากตันละ 26,275 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.38
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,863 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,198 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,345 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.10 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 518 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,022 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 32,556 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,003 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 32,104 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.89 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 452 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 916 ดอลลาร์สหรัฐฯ( 29,179 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 900 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,807 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.78 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 372 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 1,070 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 34,085 บาท/ตัน) ราคาสูงขึ้นจากตันละ 1,051 ดอลลาร์สหรัฐฯ (33,640 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.81 และสูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 445 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 31.8552 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 สถานการณ์และการประมูลข้าวประเทศฟิลิปปินส์ องค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) เปิดเผยว่า ฟิลิปปินส์จะเปิดการประมูลข้าวจากภาคเอกชน จำนวน 141,440 ตัน ในสัปดาห์หน้า ซึ่งเป็นการประมูลที่ตกค้างมาจากรอบวันที่ 9 พ.ค. ซึ่งมีการเปิดประมูลข้าว 163,000 ตัน แต่รัฐบาลสามารถประมูลไปได้เพียง 21,560 ตันเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีข่าวว่า NFA อาจจะจัดสรรโควตาให้เอกชนนำเข้าข้าวอีกประมาณ 200,000 ตัน โดยได้รับการยกเว้นภาษีเช่นเดียวกัน (zero-duty import quota) ซึ่งคาดว่าอาจจะมีการประมูลในเดือน มิ.ย.
ทั้งนี้ ราคาข้าวได้เพิ่มสูงขึ้นถึง 88% ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานี้ เช่นเดียวกับราคาธัญพืชที่เพิ่มขึ้น 63% และราคาข้าวโพดที่สูงขึ้น 54% ก่อนที่ดัชนีราคาสินค้าเกษตรในเดือน เม.ย. จะลดลงมาเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2550 เนื่องจากปริมาณอุปทานจากกลุ่มประเทศผู้ส่งออกเพิ่มขึ้น
ทางด้าน กระทรวงเกษตรได้รายงานว่า ผลผลิตข้าวในช่วงไตรมาแรกมีจำนวน 3.75 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 2% จากปีที่ผ่านมา แต่ต่ำกว่าที่เคยพยากรณ์ไว้ที่ 4.02 ล้านตัน เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนหันกลับไปให้พันธุ์ข้าวปกติจากที่เคยเปลี่ยนมาใช้ข้าวลูกผสม ทั้งนี้ คาดว่าในครึ่งปีแรกจะมีผลผลิตข้าว 7.11 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 5.7% จากปีที่ผ่านมา และทั้งปีคาดว่าจะมีประมาณ 17.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 6% จากปีที่ผ่านมา
2.1 สถานการณ์ข้าวซาอุดิอาระเบีย / สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ผู้ค้าข้าวในต่างประเทศหลายรายระบุว่า ประเทศซาอุดีอาระเบีย และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์กำลังวางแผนที่จะนำเข้าข้าวไทยมากขึ้นในปีนี้ เพื่อรองรับความต้องการภายในประเทศ แทนที่จะรอให้อินเดียยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออก ถึงแม้ว่าราคาจะแพงขึ้น ซึ่งการนำเข้าข้าวไทยเพิ่มขึ้นถือเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับขณะนี้
ทั้งนี้ ตามปกติแล้วซาอุดีอาระเบียจะนำเข้าข้าวบาสมาติในสัดส่วน 70% ส่วนข้าวไทยคิดเป็น 10% ในขณะเดียวกันก็ระบุว่า ซาอุดีอาระเบียอาจเริ่มลงทุนในนาข้าวของไทยภายในสิ้นปีนี้ ขณะที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งนำเข้าข้าวประมาณ 750,000 ตัน ส่วนใหญ่มาจากอินเดีย ปากีสถาน และอียิปต์ ก็จะนำเข้าข้าวไทยประมาณ 60,000 ตัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 พ.ค. 2551--
-พห-