มิ่งขวัญนำทีมเศรษฐกิจและคณะผู้ส่งออกลงใต้ พบปะชาวสวนพร้อมเจรจาซื้อขายผลไม้ส่งออกนอกโดยตรง งดพึ่งพ่อค้าคนกลาง คาดชาวสวนจะขายผลไม้ได้ราคาสูงกว่าปีที่ผ่านมา ช่วยลดปัญหาการโค่นทิ้ง ด้าน สศก.เผยผลผลิตปีนี้ลดลงกว่าครึ่ง เหตุเพราะที่ผ่านมาผลผลิตออกมากเกินความต้องการ
นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำคณะผู้ส่งออก ผู้ซื้อผลไม้ในประเทศ และผู้ซื้อผลไม้ชาวต่างประเทศมาพบปะเจรจาซื้อขายผลไม้กับชาวสวนผู้ผลิตไม้ผลของภาคใต้โดยตรง และไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางเหมือนทุกปีที่ผ่านมา คาดว่าชาวสวนผลไม้จะสามารถขายผลไม้ได้ราคาสูงกว่าเดิม
ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจได้นำรูปแบบความช่วยเหลือแบบใหม่ ด้วยการซื้อขายในระบบ F.O.B ที่ให้ผู้ซื้อตัดสินใจเองในการขนส่งและต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า มาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ของภาคใต้ โดยนำบริษัทผู้ส่งออก 5 บริษัทของประเทศไทย กลุ่มผู้ซื้อผลไม้ในประเทศไทย 7 กลุ่ม และกลุ่มผู้ซื้อผลไม้ชาวต่างประเทศ 8 ประเทศ 26 บริษัท ประกอบไปด้วย ประเทศจีน ไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินเดีย และกัมพูชา เดินทางมาเจรจาซื้อขายเงาะ ทุเรียน และมังคุดกันโดยตรงกับชาวสวนผลไม้ในภาคใต้ โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ของภาคใต้ตอนบนที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาค
โดยมีกรมเจรจาการค้าเป็นผู้ประสานงาน คาดว่าคงจะขายได้ราคาสูงกว่าทุกปี ซึ่งทุกปีที่ผ่านมาไม่เคยได้ติดต่อเจรจาการค้ากับผู้ส่งออก ผู้ซื้อในประเทศ และผู้ซื้อจากต่างประเทศโดยตรงเลย นอกจากจำหน่ายผ่านทางพ่อค้าคนกลางเท่านั้น ขณะเดียวกันจะส่งผลให้ชาวสวนผลไม้ปฏิบัติดูแลรักษาอย่างดี ทำให้ผลไม้มีคุณภาพ และเมื่อขายผลไม้ ได้ราคาดีแล้ว เกษตรกรก็จะไม่โค่นทิ้งอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 ได้คาดการณ์ปริมาณผลผลิตไม้ผลในปี 2551 พบว่าผลผลิตลดลงไปถึง 50 % เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
ทั้งนี้ เนื่องจากปีที่ผ่านมา ผลไม้ทุกชนิดให้ผลผลิตมากเกินความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้ราคาตกต่ำไม่จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา เกษตรกรได้โค่นทิ้งไปปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า นอกจากนั้นยังมีฝนตกกระจายทั่วทั้งภาค ทำให้ไม้ผลมีโอกาสพักตัวน้อยจึงมีโอกาสน้อยที่จะติดผล โดยไปแตกใบอ่อนแทน ประกอบกับปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการบำรุงดูแลรักษาไม้ผลเจริญเติบโตมีราคาแพงมาก เกษตรกรบางส่วนอาจจะไม่มีเงินซื้อ ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพลดน้อยลงในที่สุด ซึ่งหากมาตรการนี้สามารถปฏิบัติได้ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด ก็จะช่วยเหลือชาวสวนผลไม้ได้เป็นอย่างดี นายมนตรี กล่าว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 พ.ค. 2551--
-พห-
นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำคณะผู้ส่งออก ผู้ซื้อผลไม้ในประเทศ และผู้ซื้อผลไม้ชาวต่างประเทศมาพบปะเจรจาซื้อขายผลไม้กับชาวสวนผู้ผลิตไม้ผลของภาคใต้โดยตรง และไม่ผ่านพ่อค้าคนกลางเหมือนทุกปีที่ผ่านมา คาดว่าชาวสวนผลไม้จะสามารถขายผลไม้ได้ราคาสูงกว่าเดิม
ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจได้นำรูปแบบความช่วยเหลือแบบใหม่ ด้วยการซื้อขายในระบบ F.O.B ที่ให้ผู้ซื้อตัดสินใจเองในการขนส่งและต้องซื่อสัตย์ต่อลูกค้า มาช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนผลไม้ของภาคใต้ โดยนำบริษัทผู้ส่งออก 5 บริษัทของประเทศไทย กลุ่มผู้ซื้อผลไม้ในประเทศไทย 7 กลุ่ม และกลุ่มผู้ซื้อผลไม้ชาวต่างประเทศ 8 ประเทศ 26 บริษัท ประกอบไปด้วย ประเทศจีน ไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย สิงคโปร์ อินเดีย และกัมพูชา เดินทางมาเจรจาซื้อขายเงาะ ทุเรียน และมังคุดกันโดยตรงกับชาวสวนผลไม้ในภาคใต้ โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ของภาคใต้ตอนบนที่เป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาค
โดยมีกรมเจรจาการค้าเป็นผู้ประสานงาน คาดว่าคงจะขายได้ราคาสูงกว่าทุกปี ซึ่งทุกปีที่ผ่านมาไม่เคยได้ติดต่อเจรจาการค้ากับผู้ส่งออก ผู้ซื้อในประเทศ และผู้ซื้อจากต่างประเทศโดยตรงเลย นอกจากจำหน่ายผ่านทางพ่อค้าคนกลางเท่านั้น ขณะเดียวกันจะส่งผลให้ชาวสวนผลไม้ปฏิบัติดูแลรักษาอย่างดี ทำให้ผลไม้มีคุณภาพ และเมื่อขายผลไม้ ได้ราคาดีแล้ว เกษตรกรก็จะไม่โค่นทิ้งอีกต่อไป แต่อย่างไรก็ตาม สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 ได้คาดการณ์ปริมาณผลผลิตไม้ผลในปี 2551 พบว่าผลผลิตลดลงไปถึง 50 % เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว
ทั้งนี้ เนื่องจากปีที่ผ่านมา ผลไม้ทุกชนิดให้ผลผลิตมากเกินความต้องการของผู้บริโภค ส่งผลให้ราคาตกต่ำไม่จูงใจให้เกษตรกรดูแลรักษา เกษตรกรได้โค่นทิ้งไปปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า นอกจากนั้นยังมีฝนตกกระจายทั่วทั้งภาค ทำให้ไม้ผลมีโอกาสพักตัวน้อยจึงมีโอกาสน้อยที่จะติดผล โดยไปแตกใบอ่อนแทน ประกอบกับปุ๋ยเคมี ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการบำรุงดูแลรักษาไม้ผลเจริญเติบโตมีราคาแพงมาก เกษตรกรบางส่วนอาจจะไม่มีเงินซื้อ ส่งผลให้ผลผลิตและคุณภาพลดน้อยลงในที่สุด ซึ่งหากมาตรการนี้สามารถปฏิบัติได้ในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาด ก็จะช่วยเหลือชาวสวนผลไม้ได้เป็นอย่างดี นายมนตรี กล่าว
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 19-25 พ.ค. 2551--
-พห-