สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 เผย ปริมาณน้ำนมดิบปี 51 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จาก 9.72 กก./ตัว เป็น 10.20 กก./ตัว เหตุจากเกษตรกรปรับลดปริมาณการเลี้ยงโคนม คัดเลือกโคนมที่อายุมาก และให้น้ำนมน้อยออกขายโรงฆ่าสัตว์แทน เหลือแต่โคนมสาวที่ให้ปริมาณน้ำนมมากขึ้นแทน
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ผ่านมาในปีนี้ ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตปศุสัตว์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะราคาอาหารที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย ในขณะที่ราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้นั้นค่อนข้างต่ำ อีกทั้งรัฐบาลได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มีผลให้เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำฟาร์มเพื่อเข้าสู่มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยบางส่วนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกต้องเลิกเลี้ยงไป เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนและรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้
จากสถานการณ์ดังกล่าว ยังมีประเด็นการจ้างแรงงานในการรีดน้ำนมหายากและมีราคาสูงโดยเฉพาะแรงงานภายในประเทศ ส่วนแรงงานต่างด้าวยังเป็นปัญหาและไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดรายได้ไม่คุ้มกับการลงทุน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเขตพื้นที่จังหวัดนครนายก จันทบุรี ฉะเชิงเทราและชลบุรี จึงได้ปรับลดปริมาณการเลี้ยงโคนม จากปี 2550 จำนวน 40, 591, 21และ 95ตัว ตามลำดับ หรือลดลงร้อยละ 15.81, 11.89, 10.19 และ 2.52 ตามลำดับ โดยการคัดโคนมที่มีอายุมากและให้นมน้อยออกขายโรงฆ่าสัตว์ สำหรับลูกโคนมที่เกิดใหม่ก็จะเลี้ยงเฉพาะเพศเมีย ส่วนเพศผู้จะเลี้ยงเพียง 1 เดือน ก็จะขายไปในราคาตัวละ 600 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างต่ำและคงที่มาประมาณ 2 ปีแล้วและโคนมเพศผู้ที่ขายออกไปนั้น พบว่า จะถูกส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์ทันทีเพราะการเลี้ยงดูจะยากกว่าลูกโคเนื้อทั่วไป
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 นั้น ปริมาณน้ำนมดิบโดยรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการคัดโคนมที่มีอายุมากและให้ปริมาณน้ำนมน้อยออกขาย โดยมีโคนมสาวที่รีดน้ำนมได้จำนวนมากขึ้นมาทดแทน ปริมาณการให้น้ำนมของโคนมโดยเฉลี่ยประมาณ 9.72 กิโลกรัม/ตัว จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10.20 กิโลกรัม/ตัว เนื่องจากราคาน้ำนมดิบมีราคาสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรหันมาดูแลมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ผ่านมาในปีนี้ ยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการผลิตปศุสัตว์ในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะราคาอาหารที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นด้วย ในขณะที่ราคาน้ำนมดิบที่เกษตรกรขายได้นั้นค่อนข้างต่ำ อีกทั้งรัฐบาลได้เปิดการค้าเสรีกับประเทศต่าง ๆ เช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ มีผลให้เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำฟาร์มเพื่อเข้าสู่มาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ส่งผลให้เกษตรกรรายย่อยบางส่วนในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกต้องเลิกเลี้ยงไป เนื่องจากขาดเงินทุนหมุนเวียนและรายได้ไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และมีรายได้ไม่เพียงพอต่อการชำระหนี้
จากสถานการณ์ดังกล่าว ยังมีประเด็นการจ้างแรงงานในการรีดน้ำนมหายากและมีราคาสูงโดยเฉพาะแรงงานภายในประเทศ ส่วนแรงงานต่างด้าวยังเป็นปัญหาและไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดรายได้ไม่คุ้มกับการลงทุน เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมในเขตพื้นที่จังหวัดนครนายก จันทบุรี ฉะเชิงเทราและชลบุรี จึงได้ปรับลดปริมาณการเลี้ยงโคนม จากปี 2550 จำนวน 40, 591, 21และ 95ตัว ตามลำดับ หรือลดลงร้อยละ 15.81, 11.89, 10.19 และ 2.52 ตามลำดับ โดยการคัดโคนมที่มีอายุมากและให้นมน้อยออกขายโรงฆ่าสัตว์ สำหรับลูกโคนมที่เกิดใหม่ก็จะเลี้ยงเฉพาะเพศเมีย ส่วนเพศผู้จะเลี้ยงเพียง 1 เดือน ก็จะขายไปในราคาตัวละ 600 บาท ซึ่งเป็นราคาที่ค่อนข้างต่ำและคงที่มาประมาณ 2 ปีแล้วและโคนมเพศผู้ที่ขายออกไปนั้น พบว่า จะถูกส่งเข้าโรงฆ่าสัตว์ทันทีเพราะการเลี้ยงดูจะยากกว่าลูกโคเนื้อทั่วไป
สำหรับแนวโน้มในปี 2551 นั้น ปริมาณน้ำนมดิบโดยรวมคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากมีการคัดโคนมที่มีอายุมากและให้ปริมาณน้ำนมน้อยออกขาย โดยมีโคนมสาวที่รีดน้ำนมได้จำนวนมากขึ้นมาทดแทน ปริมาณการให้น้ำนมของโคนมโดยเฉลี่ยประมาณ 9.72 กิโลกรัม/ตัว จะเพิ่มขึ้นประมาณ 10.20 กิโลกรัม/ตัว เนื่องจากราคาน้ำนมดิบมีราคาสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรหันมาดูแลมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-