1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ชาวประมงเดือดร้อนหนักจากราคาน้ำมันพุ่งสูงต่อเนื่อง
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมปัญหาความเดือดร้อนชาวประมงว่า ได้รับมอบหมายจากนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เข้าร่วมประชุมแทนเพื่อหารือเกี่ยวกับความเดือดร้อนของชาวประมง ขณะที่ประสบปัญหาภาวะขาดทุน เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้แบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไว้ไม่ไหว บางรายถึงขั้นล้มละลาย ไม่มีเงินใช้หนี้จากการกู้ยืมเงินมาซื้อเรือ โดยชาวประมงเรียกร้องให้รัฐบาลซื้อเรือคืนเพื่อบรรเทาปัญหา
สำหรับมาตรการช่วยเหลือปัญหาชาวประมงเดือดร้อน เบื้องต้นครม.ได้เห็นชอบให้ตั้งจุดบริการน้ำมันม่วงบนฝั่งจำนวน 1.5 ล้านตัน/เดือนแล้ว ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วที่สุดประมาณสัปดาห์หน้าจะสามารถตั้งจุดบริการน้ำมันม่วงบนฝั่งได้ โดยให้องค์การสะพานปลาเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งให้มีการปรับลดน้ำมันม่วงลงจากราคาตลาด ลิตรละ 2 บาท ในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและความเดือดร้อนของชาวประมงชายฝั่งได้ในระดับหนึ่ง ส่วนการที่ชาวประมงเรียกร้องให้ซื้อเรือคืนหลายหมื่นลำนั้นคงต้องหารือในเรื่องนี้ต่อไป สำหรับเรื่องอื่นๆ ที่ชาวประมงเดือดร้อนก็ประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดูแลต่อไป
ด้านนายสุทิน ชาวปากน้ำ รองนายกสมาคมประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ชาวประมงชายฝั่งได้รับความนเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และชาวประมงทุกรายต้องประสบภาวะขาดทุนและกำลังจะล้มละลาย เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ ดูแล โดยเบื้องต้นต้องการให้ซื้อเรือคืน เพราะชาวประมงต้องไปกู้หนี้มาและไม่มีเงินผ่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนให้มีการปรับลดราคาน้ำมันม่วงลงมาลิตรละ 2 บาท เชื่อว่า ไม่สามารถช่วยเหลือแก้ปัญหาได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 เม.ย. — 5 พ.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,132.22 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 635.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 497.05 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.41 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.54 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.96 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 47.80 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.88 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 116.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 3.56 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 108.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.75 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 8.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 24—30 พ.ค. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.46 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 พ.ค.-1 มิ.ย. 2551--
-พห-
การผลิต
ชาวประมงเดือดร้อนหนักจากราคาน้ำมันพุ่งสูงต่อเนื่อง
นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังการประชุมปัญหาความเดือดร้อนชาวประมงว่า ได้รับมอบหมายจากนายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เข้าร่วมประชุมแทนเพื่อหารือเกี่ยวกับความเดือดร้อนของชาวประมง ขณะที่ประสบปัญหาภาวะขาดทุน เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ทำให้แบกรับภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไว้ไม่ไหว บางรายถึงขั้นล้มละลาย ไม่มีเงินใช้หนี้จากการกู้ยืมเงินมาซื้อเรือ โดยชาวประมงเรียกร้องให้รัฐบาลซื้อเรือคืนเพื่อบรรเทาปัญหา
สำหรับมาตรการช่วยเหลือปัญหาชาวประมงเดือดร้อน เบื้องต้นครม.ได้เห็นชอบให้ตั้งจุดบริการน้ำมันม่วงบนฝั่งจำนวน 1.5 ล้านตัน/เดือนแล้ว ซึ่งคาดว่าอย่างเร็วที่สุดประมาณสัปดาห์หน้าจะสามารถตั้งจุดบริการน้ำมันม่วงบนฝั่งได้ โดยให้องค์การสะพานปลาเป็นผู้รับผิดชอบ พร้อมทั้งให้มีการปรับลดน้ำมันม่วงลงจากราคาตลาด ลิตรละ 2 บาท ในระยะเวลา 6 เดือน เพื่อลดค่าใช้จ่ายและความเดือดร้อนของชาวประมงชายฝั่งได้ในระดับหนึ่ง ส่วนการที่ชาวประมงเรียกร้องให้ซื้อเรือคืนหลายหมื่นลำนั้นคงต้องหารือในเรื่องนี้ต่อไป สำหรับเรื่องอื่นๆ ที่ชาวประมงเดือดร้อนก็ประสานงานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เข้ามาดูแลต่อไป
ด้านนายสุทิน ชาวปากน้ำ รองนายกสมาคมประมงแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้ชาวประมงชายฝั่งได้รับความนเดือดร้อนเป็นอย่างมาก และชาวประมงทุกรายต้องประสบภาวะขาดทุนและกำลังจะล้มละลาย เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือ ดูแล โดยเบื้องต้นต้องการให้ซื้อเรือคืน เพราะชาวประมงต้องไปกู้หนี้มาและไม่มีเงินผ่อน เนื่องจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ส่วนให้มีการปรับลดราคาน้ำมันม่วงลงมาลิตรละ 2 บาท เชื่อว่า ไม่สามารถช่วยเหลือแก้ปัญหาได้
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (28 เม.ย. — 5 พ.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,132.22 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 635.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 497.05 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.41 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.54 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.96 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 47.80 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 99.88 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.60 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.75 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.15 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.92 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.33 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 97.86 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 113.29 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 116.85 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 3.56 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 108.75 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.75 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.25 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 49.21 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 8.04 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.53 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.44 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.09 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 24—30 พ.ค. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 26.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.46 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 พ.ค.-1 มิ.ย. 2551--
-พห-