1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้าสูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ. - 31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51 เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551 หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ก.พ. 51 (ปรับปรุงยอด ณ วันที่ 3 มี.ค. 51)
หน่วย : ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวม ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) ข้าวทุกนิด เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 59,113 113,281 1,843 1,956 61,827 238,020 2.98
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ค่อนข้างชะลอตัว เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่มีข้าวในสต็อกเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวโดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 23 พฤษภาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.723 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.173 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 48.84 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,218 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,482 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,157 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,035 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,627 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,359 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.17
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 22,825 บาท ราคาลดลงจากตันละ 25,138 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.20
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,175 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,616 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,863 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.68 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,247 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 944 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,221 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,022 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,556 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.63 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,335 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 859 ดอลลาร์สหรัฐฯ( 27,499 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 916 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,179 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 372 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 991 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 31,725 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,070 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,085 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.38 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,360 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0133 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 สถานการณ์ข้าวประเทศกัมพูชา นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา ประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกข้าวเพื่อลดกระแสวิตกที่มีต่อปริมาณข้าวทั่วโลก โดยระบุว่ากัมพูชามีข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ
นายฮุน เซน เคยออกคำสั่งเมื่อเดือน มี.ค.ห้ามการส่งออกข้าวชั่วคราว เพื่อสกัดไม่ให้กักตุนข้าวทำให้ราคาสูงขึ้น ซึ่งราคาข้าวพุ่งสูงขึ้นถึงสองเท่าในปีนี้เกือบกิโลกรัมละ 1 เหรียญสหรัฐฯ ในตลาดในประเทศ ซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวว่า การส่งออกจะจำกัดไว้ที่ 1.6 ล้านตันเพื่อสำรองข้าวเอาไว้ภายในประเทศด้วย ซึ่งการยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกข้าวก็เพื่อช่วยลดกระแสวิตกของโลก โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และเกษตรกรก็จะได้รับประโยชน์จากการส่งออกข้าวด้วย
ทั้งนี้ เมื่อปีทีผ่านมา กัมพูชาผลิตข้าวได้ประมาณ 6.7 ล้านตัน และมีข้าวส่วนเกินที่สามารถส่งออกได้ประมาณ 2.3 ล้านตัน
2.2 การเจราจาตกลงซื้อขายข้าวประเทศฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้แจ้งต่อทางการไทย เพื่อให้มีการจัดส่งข้าวจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียด พร้อมระบุว่า ฟิลิปปินส์กำลังรอคำตอบจากไทย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่องค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) ระบุว่า ฟิลิปปินส์กำลังศึกษาข้อเสนอในการซื้อข้าว 300,000 ตันจากไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ แต่ยังไม่มีการตัดสินใจเรื่องการผ่านข้อเสนอ และระยะเวลา
ทั้งนี้รายงานข่าวล่าสุดระบุว่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ยืนยันระหว่างหารือกับประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ว่า ไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือฟิลิปปินส์ ด้วยการจัดส่งข้าวให้ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่า ภูมิภาคเอเชียไม่มีปัญหาขาดแคลนข้าวแน่นอน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า จะซื้อขายข้าวระหว่างกันในปริมาณเท่าใด
NFA ประกาศว่า ในวันที่ 27 พ.ค. นี้ จะจัดการประมูลเพื่อให้สิทธิ์ภาคเอกชนนำเข้าข้าวจำนวน 141,440 ตัน โดยกำหนดโควตาที่จะให้เอกชนยื่นข้อเสนอเพื่อที่จะจัดหาข้าวจากประเทศไทย 76,940 ตัน จีน 24,500 ตัน อินเดีย 25,000 ตัน และออสเตรเลีย 15,000 ตัน โดย NFA ได้กำหนดค่าธรรมเนียม Minimum service fee (MSF) ไวที่ 2 เปโซต่อก.ก. และยังกำหนดให้ราคานำเข้าสูงสุด (Maximum import price) ไม่เกิน 1,200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน C&F
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 พ.ค.-1 มิ.ย. 2551--
-พห-
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี ปี 2550/51
- เป้าหมายรับจำนำ 8 ล้านตันข้าวเปลือก โดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- ธ.ก.ส. รับจำนำจากเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรที่มียุ้งฉางเป็นของตัวเอง
- อคส. รับฝากและออกใบประทวน โดย ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกรและสถาบันเกษตกรที่ไม่มียุ้งฉางเป็นของตนเอง
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าว ณ ระดับความชื้น 15% แยกตามชนิดข้าว ในราคาที่สูงกว่าปีที่ผ่านมา โดยข้าวเจ้าสูงกว่าปีที่ผ่านมาตันละ 200 บาท ข้าวหอมมะลิ สูงขึ้นตันละ 300 บาท
- ระยะเวลารับจำนำ 1 พย.50 — กพ.51 ยกเว้นภาคใต้ให้รับจำนำระหว่าง 1 กพ. - 31 พค.51
- ระยะเวลาไถ่ถอน กรณีจำนำยุ้งฉางของ ธ.ก.ส. กำหนด 4 เดือน นับถือจากเดือนที่รับจำนำ และกรณีจำนำใบประทวนของ อคส. กำหนด 3 เดือน นับถัดจากเดือนที่รับจำนำ
- ระยะเวลาโครงการ 1 พย. 50 — 31 ตค.51
คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2550 ให้เปิดรับจำนำข้าวเปลือกเหนียวปี 2550/51 เฉพาะที่ยุ้งฉางเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ในราคาเพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาตันละ 400 บาท โดยรับจำนำข้าวเปลือกเหนียว 10% คละ ความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 7,900 บาท และ ข้าวเปลือกเหนียว 10% เมล็ดยาว ตันละ 8,100 บาท โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เริ่มรับจำนำได้ตั้งแต่ 23 พฤศจิกายน นี้เป็นต้นไป และให้สิ้นสุดระยะเวลารับจำนำ พร้อมโครงการรับจำนำข้าว 2550/2551 หรือในเดือนกุมภาพันธ์ 2551
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 1 พ.ย. 50 - 29 ก.พ. 51 (ปรับปรุงยอด ณ วันที่ 3 มี.ค. 51)
หน่วย : ตัน
สรุปผลการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี 2550/51
รายการ ข้าวเจ้า ข้าวหอมมะลิ ข้าวหอมจังหวัด ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียว รวม ร้อยละของ
(เฉพาะ ธกส.) ข้าวทุกนิด เป้าหมาย
ปริมาณรับจำนำ 59,113 113,281 1,843 1,956 61,827 238,020 2.98
ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการมาตรการรับจำนำข้าวเปลือกฯ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ค่อนข้างชะลอตัว เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่มีข้าวในสต็อกเพียงพอกับความต้องการ ขณะที่ผลผลิตข้าวนาปรังออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาข้าวโดยรวมปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ก่อน
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 23 พฤษภาคม 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 4.723 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.173 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 48.84 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 17,218 บาท ราคาลดลงจากตันละ 17,482 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.51
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 13,157 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 13,035 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.93
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,627 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,359 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.17
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 22,825 บาท ราคาลดลงจากตันละ 25,138 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 9.20
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,175 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,616 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,220 ดอลลาร์สหรัฐฯ (38,863 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.68 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,247 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 944 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,221 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,022 ดอลลาร์สหรัฐฯ (32,556 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.63 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,335 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 859 ดอลลาร์สหรัฐฯ( 27,499 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 916 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,179 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.22 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 372 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 991 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 31,725 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,070 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,085 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 7.38 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 2,360 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.0133 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 สถานการณ์ข้าวประเทศกัมพูชา นายกรัฐมนตรีฮุน เซน ของกัมพูชา ประกาศยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกข้าวเพื่อลดกระแสวิตกที่มีต่อปริมาณข้าวทั่วโลก โดยระบุว่ากัมพูชามีข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ
นายฮุน เซน เคยออกคำสั่งเมื่อเดือน มี.ค.ห้ามการส่งออกข้าวชั่วคราว เพื่อสกัดไม่ให้กักตุนข้าวทำให้ราคาสูงขึ้น ซึ่งราคาข้าวพุ่งสูงขึ้นถึงสองเท่าในปีนี้เกือบกิโลกรัมละ 1 เหรียญสหรัฐฯ ในตลาดในประเทศ ซึ่งนับว่าสูงเป็นประวัติการณ์ อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรีกัมพูชา กล่าวว่า การส่งออกจะจำกัดไว้ที่ 1.6 ล้านตันเพื่อสำรองข้าวเอาไว้ภายในประเทศด้วย ซึ่งการยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกข้าวก็เพื่อช่วยลดกระแสวิตกของโลก โดยเฉพาะฟิลิปปินส์ และเกษตรกรก็จะได้รับประโยชน์จากการส่งออกข้าวด้วย
ทั้งนี้ เมื่อปีทีผ่านมา กัมพูชาผลิตข้าวได้ประมาณ 6.7 ล้านตัน และมีข้าวส่วนเกินที่สามารถส่งออกได้ประมาณ 2.3 ล้านตัน
2.2 การเจราจาตกลงซื้อขายข้าวประเทศฟิลิปปินส์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้แจ้งต่อทางการไทย เพื่อให้มีการจัดส่งข้าวจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ได้ระบุรายละเอียด พร้อมระบุว่า ฟิลิปปินส์กำลังรอคำตอบจากไทย โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่องค์การอาหารแห่งชาติ (National Food Authority; NFA) ระบุว่า ฟิลิปปินส์กำลังศึกษาข้อเสนอในการซื้อข้าว 300,000 ตันจากไทย โดยเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงทวิภาคีระหว่าง 2 ประเทศ แต่ยังไม่มีการตัดสินใจเรื่องการผ่านข้อเสนอ และระยะเวลา
ทั้งนี้รายงานข่าวล่าสุดระบุว่า รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีของไทย ได้ยืนยันระหว่างหารือกับประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย ว่า ไทยพร้อมให้ความช่วยเหลือฟิลิปปินส์ ด้วยการจัดส่งข้าวให้ในฐานะที่เป็นประเทศเพื่อนบ้านและอาเซียน ขณะเดียวกันก็ยืนยันว่า ภูมิภาคเอเชียไม่มีปัญหาขาดแคลนข้าวแน่นอน อย่างไรก็ตาม ทั้งสองฝ่ายยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า จะซื้อขายข้าวระหว่างกันในปริมาณเท่าใด
NFA ประกาศว่า ในวันที่ 27 พ.ค. นี้ จะจัดการประมูลเพื่อให้สิทธิ์ภาคเอกชนนำเข้าข้าวจำนวน 141,440 ตัน โดยกำหนดโควตาที่จะให้เอกชนยื่นข้อเสนอเพื่อที่จะจัดหาข้าวจากประเทศไทย 76,940 ตัน จีน 24,500 ตัน อินเดีย 25,000 ตัน และออสเตรเลีย 15,000 ตัน โดย NFA ได้กำหนดค่าธรรมเนียม Minimum service fee (MSF) ไวที่ 2 เปโซต่อก.ก. และยังกำหนดให้ราคานำเข้าสูงสุด (Maximum import price) ไม่เกิน 1,200 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน C&F
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 26 พ.ค.-1 มิ.ย. 2551--
-พห-