สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้ปริมาณการผลิตกุ้งโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เหตุเพราะประเทศผู้ผลิตหันไปเลี้ยงกุ้งขาวที่เลี้ยงง่าย โตเร็ว หวั่นผลผลิตมากเกินความต้องการ แนะเกษตรกรควรลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะเชื้อเพลิง และเร่งขยายตลาดสู่ประเทศที่มีกำลังซื้อสูง รวมทั้งต้องเข้มงวดตรวจสอบให้ได้มาตรฐานอย่างจริงจัง
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตกุ้งโลกในปี 2550 มีผลผลิตประมาณ 1,989,000 เมตริกตัน โดยประเทศไทยผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของโลก มีผลผลิตประมาณ 500,000 เมตริกตัน คิดเป็นร้อยละ 25.14 ของผลผลิตโลก รองลงมาคือ ประเทศจีน อินโดนีเซีย เอกวาดอร์ อินเดีย และเวียดนาม ทางด้านอัตราการขยายตัวของผลผลิตกุ้งโลกช่วงปี 2546 - 2550 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 6.99 โดยอัตราการขยายตัวสูงจะอยู่ในประเทศไทย อินโดนีเซีย เอกวาดอร์และเวียดนาม ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.06 ,14.22 , 29.10 และ 9.56 ต่อปี ตามลำดับ
โดยปริมาณการผลิตกุ้งมีแนวโน้มการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากประเทศผู้เลี้ยงกุ้งหันไปเลี้ยงกุ้งขาวซึ่งเลี้ยงง่าย โตเร็ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผลผลิตมากกว่าความต้องการซื้อ (Over Supply) ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของประเทศไทยทั้งกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมสูงกว่าประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ทางด้านการตลาดจะเห็นได้ว่าตลาดการส่งออกของไทยส่วนใหญ่ส่งออกไป 3 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกามีส่วนแบ่งของการส่งออกอยู่ในระดับสูงประมาณร้อยละ 59.75 ของมูลค่าการส่งออก เมื่อรวม 3 ตลาดส่วนแบ่งของการส่งออกกุ้งไทยสูงถึงร้อยละ 82.57 ของมูลค่าการส่งออก ส่วนความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยได้เปรียบการแข่งขันในการส่งออกกุ้งแปรรูปเหนือประเทศผู้ผลิตอื่นๆ แต่เสียเปรียบในการแข่งขันของกุ้งแช่เย็น แช่แข็ง รสนิยมของผู้บริโภคในสหภาพยุโรป ส่วนตลาดญี่ปุ่นก็เปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคจากกุ้งสดเป็นกุ้งแปรรูปมากขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าว เกษตรกรควรลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน และอาหารซึ่งมีสัดส่วนโครงสร้างต้นทุนที่สูง โดยใช้พลังงานที่ถูกกว่ารวมทั้งบริหารจัดการบ่ออย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง เช่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเซียได้ ทางด้านการตลาดการที่พึ่งพิงตลาดหลักเพียงไม่กี่ตลาด อาจจะมีความเสี่ยงโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชน มีอำนาจซื้อลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อาจจะส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันและทำให้การส่งออกลดลงได้ ทำอย่างไรจึงจะรักษาตลาดสหรัฐอเมริกา และขยายการส่งออกไปยังสภาพยุโรปมากขึ้น จากเดิมในปี 2549 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2 ในขณะที่ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) กลับคืนมา ซึ่งเป็นโอกาสในการส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรปมากขึ้น และควรขยายตลาดใหม่ เช่น ตลาดในตะวันออกกลาง ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ ซาอุดิอาระเบีย ฯลฯ รวมทั้งตลาดยุดรปตะวันออก เช่น รัสเซีย เป็นต้น
นางยินดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะเดียวกันควรเพิ่มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตที่ผลิตกุ้งขาวแวนนาไมในสัดส่วนที่สูงมาก ไปเป็นการผลิตกุ้งกุลาดำในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อสร้างความหลากหลายของสินค้า นอกจากนี้ประเทศผู้นำเข้าได้มีการเข้มงวดในด้านมาตรฐานด้านสุขภาพอนามัย ทางด้านผู้ผลิตคือเกษตรกรต้องปรับปรุงการผลิตและเข้มงวดมิให้มีสารตกค้าง เช่นการผลิตในระบบ GAP มาตรฐานการผลิตการจัดการสิ่งแวดล้อม (CoC) และโรงงานแปรรูปต้องได้รับมาตรฐาน HACCP หรือได้รับ มาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารและสุขอนามัย ภาครัฐต้องเข้มงวดและตรวจสอบอย่างจริงจังให้ได้มาตรฐานจริงๆ พร้อมทั้งขยายการผลิตกุ้งคุณภาพให้ครอบคลุมพื้นที่เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปริมาณการผลิตกุ้งโลกในปี 2550 มีผลผลิตประมาณ 1,989,000 เมตริกตัน โดยประเทศไทยผลิตได้เป็นอันดับ 1 ของโลก มีผลผลิตประมาณ 500,000 เมตริกตัน คิดเป็นร้อยละ 25.14 ของผลผลิตโลก รองลงมาคือ ประเทศจีน อินโดนีเซีย เอกวาดอร์ อินเดีย และเวียดนาม ทางด้านอัตราการขยายตัวของผลผลิตกุ้งโลกช่วงปี 2546 - 2550 มีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อปีร้อยละ 6.99 โดยอัตราการขยายตัวสูงจะอยู่ในประเทศไทย อินโดนีเซีย เอกวาดอร์และเวียดนาม ซึ่งมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.06 ,14.22 , 29.10 และ 9.56 ต่อปี ตามลำดับ
โดยปริมาณการผลิตกุ้งมีแนวโน้มการผลิตที่สูงขึ้น เนื่องจากประเทศผู้เลี้ยงกุ้งหันไปเลี้ยงกุ้งขาวซึ่งเลี้ยงง่าย โตเร็ว ซึ่งอาจจะส่งผลให้ผลผลิตมากกว่าความต้องการซื้อ (Over Supply) ในขณะที่ต้นทุนการผลิตของประเทศไทยทั้งกุ้งกุลาดำและกุ้งขาวแวนนาไมสูงกว่าประเทศผู้ผลิตอื่นๆ ทางด้านการตลาดจะเห็นได้ว่าตลาดการส่งออกของไทยส่วนใหญ่ส่งออกไป 3 ตลาดหลัก คือ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และสหภาพยุโรป โดยเฉพาะตลาดสหรัฐอเมริกามีส่วนแบ่งของการส่งออกอยู่ในระดับสูงประมาณร้อยละ 59.75 ของมูลค่าการส่งออก เมื่อรวม 3 ตลาดส่วนแบ่งของการส่งออกกุ้งไทยสูงถึงร้อยละ 82.57 ของมูลค่าการส่งออก ส่วนความสามารถในการแข่งขัน ประเทศไทยได้เปรียบการแข่งขันในการส่งออกกุ้งแปรรูปเหนือประเทศผู้ผลิตอื่นๆ แต่เสียเปรียบในการแข่งขันของกุ้งแช่เย็น แช่แข็ง รสนิยมของผู้บริโภคในสหภาพยุโรป ส่วนตลาดญี่ปุ่นก็เปลี่ยนพฤติกรรมในการบริโภคจากกุ้งสดเป็นกุ้งแปรรูปมากขึ้น
จากเหตุผลดังกล่าว เกษตรกรควรลดต้นทุนการผลิตโดยเฉพาะต้นทุนด้านพลังงาน และอาหารซึ่งมีสัดส่วนโครงสร้างต้นทุนที่สูง โดยใช้พลังงานที่ถูกกว่ารวมทั้งบริหารจัดการบ่ออย่างใกล้ชิดเพื่อให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่ง เช่น จีน เวียดนาม และอินโดนีเซียได้ ทางด้านการตลาดการที่พึ่งพิงตลาดหลักเพียงไม่กี่ตลาด อาจจะมีความเสี่ยงโดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ซึ่งประสบปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ประชาชน มีอำนาจซื้อลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อาจจะส่งผลถึงความสามารถในการแข่งขันและทำให้การส่งออกลดลงได้ ทำอย่างไรจึงจะรักษาตลาดสหรัฐอเมริกา และขยายการส่งออกไปยังสภาพยุโรปมากขึ้น จากเดิมในปี 2549 ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 2 ในขณะที่ประเทศไทยได้รับสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) กลับคืนมา ซึ่งเป็นโอกาสในการส่งออกกุ้งไทยไปสหภาพยุโรปมากขึ้น และควรขยายตลาดใหม่ เช่น ตลาดในตะวันออกกลาง ประเทศสหรัฐอาหรับอิมิเรสต์ ซาอุดิอาระเบีย ฯลฯ รวมทั้งตลาดยุดรปตะวันออก เช่น รัสเซีย เป็นต้น
นางยินดี กล่าวเพิ่มเติมว่า ในขณะเดียวกันควรเพิ่มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตที่ผลิตกุ้งขาวแวนนาไมในสัดส่วนที่สูงมาก ไปเป็นการผลิตกุ้งกุลาดำในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อสร้างความหลากหลายของสินค้า นอกจากนี้ประเทศผู้นำเข้าได้มีการเข้มงวดในด้านมาตรฐานด้านสุขภาพอนามัย ทางด้านผู้ผลิตคือเกษตรกรต้องปรับปรุงการผลิตและเข้มงวดมิให้มีสารตกค้าง เช่นการผลิตในระบบ GAP มาตรฐานการผลิตการจัดการสิ่งแวดล้อม (CoC) และโรงงานแปรรูปต้องได้รับมาตรฐาน HACCP หรือได้รับ มาตรฐานด้านความปลอดภัยอาหารและสุขอนามัย ภาครัฐต้องเข้มงวดและตรวจสอบอย่างจริงจังให้ได้มาตรฐานจริงๆ พร้อมทั้งขยายการผลิตกุ้งคุณภาพให้ครอบคลุมพื้นที่เลี้ยงกุ้งทั่วประเทศ
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-