สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเผย หลายหน่วยงานจับมือทำวิจัยน้ำมังคุด เพื่อออกจำหน่ายทั้งในและนอกประเทศ แก้ปัญหาราคาตกต่ำและผลผลิตล้นตลาด ชี้เป็นโอกาสอันดีของเกษตกรที่จะได้พัฒนาผลผลิตให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น
นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นับเป็นโอกาสและทางเลือกหนึ่งของชาวสวนมังคุด โดยเฉพาะในจังหวัดชุมพร สุรษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และระนอง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคใต้ ที่จะมีตลาดรองรับและขายผลผลิตได้ราคาดี
ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมจะต้องคัดเฉพาะเนื้อมังคุดล้วน ๆ เท่านั้น โดยจะต้องปอกและแกะเปลือกมังคุดสด ก่อนนำมาจำหน่ายในกิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ในเดือนที่มังคุดออกมามาก เกษตรกรขายได้เพียงกิโลกรัมละ 3 — 4 บาท เท่านั้น แต่เมื่อถึงปลายฤดูพ่อค้ารับซื้อน้อย เนื่องจากผลผลิตล้นตลาดทำให้ราคาตกต่ำอีกด้วย ส่งผลให้เกษตรกรบางรายตัดสินใจปล่อยให้มังคุดร่วงหล่นโดยไม่เก็บ ซึ่งจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรชาวสวนมังคุดที่ไม่ได้รับผลตอบแทนแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันภาคเอกชนหลายส่วน ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.หรือ ARDA) ผลิตน้ำมังคุดพร้อมดื่มสำเร็จแล้ว ขณะนี้คงเหลือการวิจัยคุณภาพและรสชาติจากผู้บริโภค ซึ่งอีกไม่นานจะออกสู่ตลาดในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ โดยใช้แบรนด์ Myhealth Plus ผลิตภัณฑ์น้ำมังคุดรักษ์สุขภาพ
ดังนั้น การพัฒนาให้มีการแปรรูปมังคุดจึงเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกรที่ผลผลิตจะไม่ล้นตลาด และได้ราคาสูงขึ้น เกษตรกรไม่ต้องขนส่งมังคุดทั้งเปลือกมาจำหน่ายซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายทั้งแรงงาน และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ในส่วนของเปลือกมังคุดยังสามารถนำมาตากแห้ง จำหน่ายไปทำสมุนไพร ครีมทาแผลสด แผลเปื่อย ครีมบำรุงผิว และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบแคปซูล ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย นายมนตรี กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมนตรี เมืองพรหม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 8 (สศข.8) จังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า นับเป็นโอกาสและทางเลือกหนึ่งของชาวสวนมังคุด โดยเฉพาะในจังหวัดชุมพร สุรษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พังงา และระนอง ซึ่งเป็นแหล่งผลิตที่สำคัญของภาคใต้ ที่จะมีตลาดรองรับและขายผลผลิตได้ราคาดี
ทั้งนี้เกษตรกรที่เข้าร่วมจะต้องคัดเฉพาะเนื้อมังคุดล้วน ๆ เท่านั้น โดยจะต้องปอกและแกะเปลือกมังคุดสด ก่อนนำมาจำหน่ายในกิโลกรัมละ 50 บาท ซึ่งนับว่าเป็นราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา ในเดือนที่มังคุดออกมามาก เกษตรกรขายได้เพียงกิโลกรัมละ 3 — 4 บาท เท่านั้น แต่เมื่อถึงปลายฤดูพ่อค้ารับซื้อน้อย เนื่องจากผลผลิตล้นตลาดทำให้ราคาตกต่ำอีกด้วย ส่งผลให้เกษตรกรบางรายตัดสินใจปล่อยให้มังคุดร่วงหล่นโดยไม่เก็บ ซึ่งจะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจให้กับเกษตรกรชาวสวนมังคุดที่ไม่ได้รับผลตอบแทนแต่อย่างใด
ขณะเดียวกันภาคเอกชนหลายส่วน ได้ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย และสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (สวก.หรือ ARDA) ผลิตน้ำมังคุดพร้อมดื่มสำเร็จแล้ว ขณะนี้คงเหลือการวิจัยคุณภาพและรสชาติจากผู้บริโภค ซึ่งอีกไม่นานจะออกสู่ตลาดในประเทศ และส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้ โดยใช้แบรนด์ Myhealth Plus ผลิตภัณฑ์น้ำมังคุดรักษ์สุขภาพ
ดังนั้น การพัฒนาให้มีการแปรรูปมังคุดจึงเป็นโอกาสที่ดีของเกษตรกรที่ผลผลิตจะไม่ล้นตลาด และได้ราคาสูงขึ้น เกษตรกรไม่ต้องขนส่งมังคุดทั้งเปลือกมาจำหน่ายซึ่งทำให้เสียค่าใช้จ่ายทั้งแรงงาน และค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งนี้ในส่วนของเปลือกมังคุดยังสามารถนำมาตากแห้ง จำหน่ายไปทำสมุนไพร ครีมทาแผลสด แผลเปื่อย ครีมบำรุงผิว และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารแบบแคปซูล ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอีกทางหนึ่งด้วย นายมนตรี กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-