สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 ประเมินสถานการณ์แนวโน้มกุ้งภาคตะวันออก ปี 51 พบ ทิศทางโน้มลงอย่างต่อเนื่องทั้งระบบ เหตุจากประเด็นการกดขี่ค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในห้องเย็นของไทยที่เผยแพร่ในสื่อต่างประเทศ จนห้องเย็นหลายแห่งชะลอการรับซื้อ แนะ คนไทยหันบริโภคกุ้งเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรไทยด้วยกัน
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ทางสศข.6 ได้ทำการประเมินสถานการณ์ภาวะและแนวโน้มกุ้งภาคตะวันออกในปี 2551 พบว่า มีทิศทางที่โน้มลงอย่างต่อเนื่องและอยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วง จึงได้ทำการศึกษาภาวะการผลิต การตลาดและLogistics กุ้งภาคตะวันออก
ผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า สถานการณ์ของห่วงโซ่อุปทานกุ้งทั้งระบบได้รับความเดือดร้อนจากภาวะราคากุ้งตกต่ำอย่างมาก โดยเฉพาะ “เกษตรกร” ที่แบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งค่าน้ำมันค่าอาหารกุ้ง และความเสี่ยงที่มากขึ้นต่อการตายของกุ้งภายใต้ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนภาคการตลาดก็เช่นเดียวกัน สภาพการประกอบการของ “แพรับซื้อกุ้ง” ไม่คึกคักสอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่ลดลง ทำให้เกิดค่าเสียโอกาสของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยเห็นได้จากรถตู้เย็นต้องจอดสนิทหรือติดป้ายรอขาย รวมทั้งต้นทุนค่าขนส่งต่อหน่วยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน
ห่วงโซ่หลักที่สำคัญของระบบตลาดกุ้งคือ “ห้องเย็น” ที่มีปัญหาเดิมเรื่องสหรัฐฯ ฟ้องร้องไทยทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐฯ และเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาดกุ้งไทยที่นำเข้าสหรัฐฯ รวมทั้งเก็บเงินค้ำประกันการนำเข้ากุ้ง (Continuous bord) จากผู้นำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ซึ่งผลักภาระให้แก่ผู้ส่งออกกุ้งไทย ล่าสุดประเด็นข่าวการกดขี่ค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในห้องเย็นของไทยที่เผยแพร่ในสื่อต่างประเทศทำให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(International Labour Organization : ILO) เข้ามาตรวจสอบการใช้แรงงานต่างด้าวของห้องเย็นในช่วงนี้ ทำให้ห้องเย็นหลายแห่งชะลอการรับซื้อชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1-12 มิถุนายน 2551 ส่งผลกระทบให้ราคากุ้งตกต่ำอย่างรุนแรง เพราะผลผลิตกุ้งไทยประมาณร้อยละ 85 ส่งออกจำหน่ายตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภาคตะวันออกได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากในเดือนมิถุนายนนี้เป็นช่วงเข้าสู่รอบผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นด้วย ถึงแม้เป็นที่ทราบดีว่าสภาพเศรษฐกิจในประเทศซบเซา และกุ้งถูกมองเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แต่อย่างไรก็ตาม ยังหวังพึ่งความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้ราคากุ้งขาวแวนาไมขนาด 70 ตัวต่อกก. ที่ซื้อขายในประเทศราคา กก. ละ 90 บาท มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าโปรตีนชนิดอื่น ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยช่วยกันซื้อกุ้งมาบริโภคให้มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรคนไทยด้วยกัน นางสุวคนธ์ กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ทางสศข.6 ได้ทำการประเมินสถานการณ์ภาวะและแนวโน้มกุ้งภาคตะวันออกในปี 2551 พบว่า มีทิศทางที่โน้มลงอย่างต่อเนื่องและอยู่ในเกณฑ์น่าเป็นห่วง จึงได้ทำการศึกษาภาวะการผลิต การตลาดและLogistics กุ้งภาคตะวันออก
ผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า สถานการณ์ของห่วงโซ่อุปทานกุ้งทั้งระบบได้รับความเดือดร้อนจากภาวะราคากุ้งตกต่ำอย่างมาก โดยเฉพาะ “เกษตรกร” ที่แบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งค่าน้ำมันค่าอาหารกุ้ง และความเสี่ยงที่มากขึ้นต่อการตายของกุ้งภายใต้ผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ปริมาณการผลิตลดลงอย่างต่อเนื่อง
ส่วนภาคการตลาดก็เช่นเดียวกัน สภาพการประกอบการของ “แพรับซื้อกุ้ง” ไม่คึกคักสอดคล้องกับปริมาณการผลิตที่ลดลง ทำให้เกิดค่าเสียโอกาสของอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ โดยเห็นได้จากรถตู้เย็นต้องจอดสนิทหรือติดป้ายรอขาย รวมทั้งต้นทุนค่าขนส่งต่อหน่วยที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน
ห่วงโซ่หลักที่สำคัญของระบบตลาดกุ้งคือ “ห้องเย็น” ที่มีปัญหาเดิมเรื่องสหรัฐฯ ฟ้องร้องไทยทุ่มตลาดกุ้งในสหรัฐฯ และเรียกเก็บภาษีทุ่มตลาดกุ้งไทยที่นำเข้าสหรัฐฯ รวมทั้งเก็บเงินค้ำประกันการนำเข้ากุ้ง (Continuous bord) จากผู้นำเข้ากุ้งของสหรัฐฯ ซึ่งผลักภาระให้แก่ผู้ส่งออกกุ้งไทย ล่าสุดประเด็นข่าวการกดขี่ค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในห้องเย็นของไทยที่เผยแพร่ในสื่อต่างประเทศทำให้องค์การแรงงานระหว่างประเทศ(International Labour Organization : ILO) เข้ามาตรวจสอบการใช้แรงงานต่างด้าวของห้องเย็นในช่วงนี้ ทำให้ห้องเย็นหลายแห่งชะลอการรับซื้อชั่วคราวตั้งแต่วันที่ 1-12 มิถุนายน 2551 ส่งผลกระทบให้ราคากุ้งตกต่ำอย่างรุนแรง เพราะผลผลิตกุ้งไทยประมาณร้อยละ 85 ส่งออกจำหน่ายตลาดต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกา
ทั้งนี้ กลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งภาคตะวันออกได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก เนื่องจากในเดือนมิถุนายนนี้เป็นช่วงเข้าสู่รอบผลผลิตออกสู่ตลาดมากขึ้นด้วย ถึงแม้เป็นที่ทราบดีว่าสภาพเศรษฐกิจในประเทศซบเซา และกุ้งถูกมองเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย แต่อย่างไรก็ตาม ยังหวังพึ่งความต้องการของผู้บริโภคภายในประเทศ ซึ่งขณะนี้ราคากุ้งขาวแวนาไมขนาด 70 ตัวต่อกก. ที่ซื้อขายในประเทศราคา กก. ละ 90 บาท มีราคาถูกกว่าเมื่อเทียบกับสินค้าโปรตีนชนิดอื่น ดังนั้น จึงอยากเชิญชวนให้คนไทยช่วยกันซื้อกุ้งมาบริโภคให้มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรคนไทยด้วยกัน นางสุวคนธ์ กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-