สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระดมหน่วยงานในสังกัด กษ. ลงพื้นที่จังหวัดหนองคาย ร่วมจัดทำฐานข้อมูลยางพาราปี 50 โดยใช้วิธีการสำรวจข้อมูลระยะไกล พร้อมสาธิตขั้นตอนและวิธีปฏิบัติงานอย่างละเอียด คาดสามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐิจการเกษตรเขต 3 และศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก. ได้เข้าร่วมดำเนินงานตามโครงการจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของยางพารา ปี 2550 โดยใช้การสำรวจข้อมูลระยะไกลกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน สถาบันวิจัยยางพารา กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ณ ตำบลกุดบง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
สำหรับการดำเนินงานครั้งนี้ สศข.3 พร้อมคณะจากส่วนกลาง ได้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงการสำวจข้อมูลระยะไกลโดยใช้ภาพถ่ายออโต้สี ปี 2545 มาตราส่วน 1 .: 12,000 ของกรมพัฒนาที่ดินมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อสำรวจยางพาราที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี เป็นหลัก เนื่องจากในภาพถ่ายออโต้สี ไม่สามารถแยกพื้นที่ปลูกยางพาราดังกล่าวได้อย่างชัดเจน จึงต้องให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามออกไปตรวจสอบข้อมูลจริงในทุกพื้นที่ที่คาดว่าจะมีการปลูกยางพารา โดยขอความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นผู้นำทาง และให้เจ้าหน้าที่ใช้เครื่อง GPS ช่วยกำหนดจุดพิกัดในตำแหน่งต่าง ๆ ที่พบว่ามีการปลูกยางพารา เพื่อนำไปประกอบในการแปลภาพถ่ายได้ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
ซึ่งศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก.ได้สาธิตขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานอย่างละเอียด โดยการลงปฏิบัติจริงในพื้นที่ตำบลกุดบง ซึ่งใช้เป็นตำบลนำร่อง และครั้งนี้มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาคเข้าร่วมกิจกรรมนำร่องการสำรวจข้อมูลระยะไกลด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอน วิธีการกำเนินงาน พร้อมทั้งสามารถนำไปปฏิบัติงานตามโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายสุรศักดิ์ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายสุรศักดิ์ พันธ์นพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 3 (สศข.3) จังหวัดอุดรธานี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐิจการเกษตรเขต 3 และศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก. ได้เข้าร่วมดำเนินงานตามโครงการจัดทำฐานข้อมูลเชิงพื้นที่ของยางพารา ปี 2550 โดยใช้การสำรวจข้อมูลระยะไกลกับเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน สถาบันวิจัยยางพารา กรมส่งเสริมการเกษตร และสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง ณ ตำบลกุดบง อำเภอโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย
สำหรับการดำเนินงานครั้งนี้ สศข.3 พร้อมคณะจากส่วนกลาง ได้เข้าร่วมประชุมและชี้แจงการสำวจข้อมูลระยะไกลโดยใช้ภาพถ่ายออโต้สี ปี 2545 มาตราส่วน 1 .: 12,000 ของกรมพัฒนาที่ดินมาใช้ในการดำเนินงาน เพื่อสำรวจยางพาราที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี เป็นหลัก เนื่องจากในภาพถ่ายออโต้สี ไม่สามารถแยกพื้นที่ปลูกยางพาราดังกล่าวได้อย่างชัดเจน จึงต้องให้เจ้าหน้าที่ภาคสนามออกไปตรวจสอบข้อมูลจริงในทุกพื้นที่ที่คาดว่าจะมีการปลูกยางพารา โดยขอความร่วมมือจากเกษตรกรในพื้นที่เป็นผู้นำทาง และให้เจ้าหน้าที่ใช้เครื่อง GPS ช่วยกำหนดจุดพิกัดในตำแหน่งต่าง ๆ ที่พบว่ามีการปลูกยางพารา เพื่อนำไปประกอบในการแปลภาพถ่ายได้ถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
ซึ่งศูนย์สารสนเทศการเกษตร สศก.ได้สาธิตขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติงานอย่างละเอียด โดยการลงปฏิบัติจริงในพื้นที่ตำบลกุดบง ซึ่งใช้เป็นตำบลนำร่อง และครั้งนี้มีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องทั้งจากส่วนกลางและภูมิภาคเข้าร่วมกิจกรรมนำร่องการสำรวจข้อมูลระยะไกลด้วย เพื่อให้เจ้าหน้าที่มีความรู้ความเข้าใจในขั้นตอน วิธีการกำเนินงาน พร้อมทั้งสามารถนำไปปฏิบัติงานตามโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพ นายสุรศักดิ์ กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-