1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
สถานการณ์ทูน่าราคาสูง
แหล่งข่าวจากกรมประมง เปิดเผยว่ากรมประมงได้ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศด้านข่าวสารการตลาดและบริการแนะแนวด้านเทคนิคของสินค้าสัตว์น้ำแห่งเอเชียและแปซิฟิก (INFOFISH) และสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปไทย ตลอดจนองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมาธิการทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (IOTC) ได้ประชุมการค้าทูน่าโลกครั้งที่ 10 ขึ้นที่กรุงเทพฯ
การประชุมครั้งนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับวัตถุดิบทูน่าที่จับได้น้อยลงเนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลทรัพยากรทูน่ากันเท่าที่ควร ประกอบกับภาวะโลกร้อนทำให้ปริมาณทูน่าลดลง ขณะที่ความต้องการบริโภคทูน่าของโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทูน่าสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เช่น ทูน่าสคิปแจ็ค ซึ่งนิยมใช้นำมาแปรรูปเป็นทูน่ากระป๋องมีราคาสูงถึงตันละ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว นอกจากนี้ ทูน่าบลูฟินและบิ๊กอายซึ่งเป็นทูน่าบริโภคสดมีปริมาณน้อยอยู่แล้วและราคาค่อนข้างแพงขณะนี้มีปัญหาปริมาณลดลงไปมาก สำหรับแนวทางป้องกันปัญหาทูน่าขาดแคลนในอนาคต ที่ประชุมได้มีแนวทาง คือ จะมีมาตรการห้ามไม่ให้เรือที่ไม่ได้เป็นสมาชิกองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวกับทูน่า ถือว่าเป็น “เรือเถื่อน” เช่น ไม่ได้เป็นสมาชิก IOTC ห้ามเข้าจับปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น เพื่อจะทำให้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนว่าปัจจุบันมีเรือจับปลาทูน่ากี่ลำ ปริมาณที่จับได้แต่ละปีเป็นจำนวนเท่าใด
นายณัฐ อ่อนศรี อุปนายกและประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่าในฐานะที่ไทยเป็นผู้นำเข้าทูน่าและแปรรูปทูน่าเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของโลก ต้องมีการปรับตัวในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะกรณีวัตถุดิบทูน่าที่ลดลงไป การผลิตผลิตภัณฑ์ทูน่าในอนาคตต้องเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ทูน่าที่มีส่วนผสมมากขึ้น เช่น ทูน่าสลัด จากปัจจุบันผู้ผลิตจะเน้นผลิตทูน่าในน้ำมัน และทูน่าในน้ำเกลือกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดีเขากล่าวว่า การที่วัตถุดิบทูน่าราคาแพง รวมถึงต้นทุนด้านอื่นๆ ที่แพงขึ้นโดยเฉพาะราคาน้ำมัน ทำให้ผู้ประกอบการทูน่าในอนาคตอาจจะเหลือเฉพาะรายใหญ่เท่านั้น เพราะรายย่อยไม่สามารถสู้ต้นทุนที่สูงได้และจะอยู่ลำบากมากขึ้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (6 — 12 พ.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 981.72 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 596.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 385.36 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.09 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.15 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 111.72 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.03 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 86.91 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 113.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 12.33 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 31 พ.ค. — 6 มิ.ย. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2551--
-พห-
การผลิต
สถานการณ์ทูน่าราคาสูง
แหล่งข่าวจากกรมประมง เปิดเผยว่ากรมประมงได้ร่วมกับองค์กรระหว่างประเทศด้านข่าวสารการตลาดและบริการแนะแนวด้านเทคนิคของสินค้าสัตว์น้ำแห่งเอเชียและแปซิฟิก (INFOFISH) และสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปไทย ตลอดจนองค์กรอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น คณะกรรมาธิการทูน่าแห่งมหาสมุทรอินเดีย (IOTC) ได้ประชุมการค้าทูน่าโลกครั้งที่ 10 ขึ้นที่กรุงเทพฯ
การประชุมครั้งนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้แสดงความวิตกกังวลเกี่ยวกับวัตถุดิบทูน่าที่จับได้น้อยลงเนื่องจากที่ผ่านมาไม่ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลทรัพยากรทูน่ากันเท่าที่ควร ประกอบกับภาวะโลกร้อนทำให้ปริมาณทูน่าลดลง ขณะที่ความต้องการบริโภคทูน่าของโลกเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ราคาทูน่าสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ เช่น ทูน่าสคิปแจ็ค ซึ่งนิยมใช้นำมาแปรรูปเป็นทูน่ากระป๋องมีราคาสูงถึงตันละ 1,900 ดอลลาร์สหรัฐฯ แล้ว นอกจากนี้ ทูน่าบลูฟินและบิ๊กอายซึ่งเป็นทูน่าบริโภคสดมีปริมาณน้อยอยู่แล้วและราคาค่อนข้างแพงขณะนี้มีปัญหาปริมาณลดลงไปมาก สำหรับแนวทางป้องกันปัญหาทูน่าขาดแคลนในอนาคต ที่ประชุมได้มีแนวทาง คือ จะมีมาตรการห้ามไม่ให้เรือที่ไม่ได้เป็นสมาชิกองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวกับทูน่า ถือว่าเป็น “เรือเถื่อน” เช่น ไม่ได้เป็นสมาชิก IOTC ห้ามเข้าจับปลาทูน่าในมหาสมุทรอินเดีย เป็นต้น เพื่อจะทำให้ทราบข้อมูลที่ชัดเจนว่าปัจจุบันมีเรือจับปลาทูน่ากี่ลำ ปริมาณที่จับได้แต่ละปีเป็นจำนวนเท่าใด
นายณัฐ อ่อนศรี อุปนายกและประธานกลุ่มผู้ผลิตปลาทูน่า สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป กล่าวว่าในฐานะที่ไทยเป็นผู้นำเข้าทูน่าและแปรรูปทูน่าเพื่อการส่งออกรายใหญ่ของโลก ต้องมีการปรับตัวในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะกรณีวัตถุดิบทูน่าที่ลดลงไป การผลิตผลิตภัณฑ์ทูน่าในอนาคตต้องเปลี่ยนเป็นผลิตภัณฑ์ทูน่าที่มีส่วนผสมมากขึ้น เช่น ทูน่าสลัด จากปัจจุบันผู้ผลิตจะเน้นผลิตทูน่าในน้ำมัน และทูน่าในน้ำเกลือกันเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ดีเขากล่าวว่า การที่วัตถุดิบทูน่าราคาแพง รวมถึงต้นทุนด้านอื่นๆ ที่แพงขึ้นโดยเฉพาะราคาน้ำมัน ทำให้ผู้ประกอบการทูน่าในอนาคตอาจจะเหลือเฉพาะรายใหญ่เท่านั้น เพราะรายย่อยไม่สามารถสู้ต้นทุนที่สูงได้และจะอยู่ลำบากมากขึ้น
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (6 — 12 พ.ค. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 981.72 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 596.36 ตัน สัตว์น้ำจืด 385.36 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.09 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 5.15 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 111.72 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 46.03 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 86.91 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.86 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.60 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.74 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 58.61 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 2.36 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.96 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 113.29 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 12.33 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 102.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 100.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.62 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 57.25 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 0.37 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 50.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.49 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 7.53 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.04 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 31 พ.ค. — 6 มิ.ย. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 27.29 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.29 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2551--
-พห-