สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมสัมมนาโครงการนำร่องพื้นที่เหมาะสมการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตข้าวสังข์หยดจังหวัดพัทลุง เผย ตลาดข้าวสังข์หยดแนวโน้มสดใส เป็นที่ต้องการในตลาด แต่ยังขาดการควบคุมให้ได้มาตรฐาน แนะทุกภาคส่วนร่วมสนับสนุน ยกระดับคุณภาพ และรณรงค์ให้เห็นคุณค่า หันมาบริโภคร่วมกัน
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานราชการ ผู้ประกอบการ รวมถึงกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ได้จัดสัมมนาโครงการนำร่องพื้นที่เหมาะสมการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตข้าวสังข์หยดจังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
จากผลการสัมมนา ทุกฝ่ายต่างให้การตอบรับว่า ตลาดข้าวสังข์หยดมีอนาคตที่ดี ผู้บริโภค มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจุดเด่นในด้านคุณค่าทางโภชนาการ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในระดับบน ในขณะที่ยังผลิตได้จำนวนจำกัด และยังไม่สามารถยกระดับมาตรฐานผลผลิตให้คงเส้นคงวา ดังนั้น เพื่อรักษาระดับราคาให้มั่นคง จึงจำเป็นต้องให้การสนับสนุนการควบคุมคุณภาพ การใช้ตรายี่ห้อ รวมทั้งจัดทำช่องทางการขายผ่านทางอินเตอร์เนต ซึ่งจะช่วยให้ช่องทางการตลาดกว้างมากขึ้น
ทีผ่านมา ข้าวสังข์หยดที่ผลิตในจังหวัดพัทลุงโดยทั่วไปยังมีปัญหาด้านคุณภาพ โดยปัญหาที่พบได้แก่ มีข้าวอื่นปะปน เมล็ดแข็ง มีกรวด ทรายปน ทำให้ผู้บริโภคไม่ยอมบริโภคอีก ซึ่งต่างจากข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงที่มีคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ดูแลในการควบคุมคุณภาพการผลิตทุกขั้นตอน แต่การยกระดับคุณภาพให้ได้เป็นข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง (GI) นั้น เกษตรกรจะมีความยากลำบากในการเข้าสู่กระบวนดังกล่าว จึงทำให้คุณภาพข้าวสังข์หยดโดยทั่วไปไม่คงเส้นคงวา จำเป็นที่รัฐบาลและหน่วยงานในจังหวัดต้องให้ความสำคัญ และร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์การพัฒนาคุณภาพ เช่น รถเกี่ยวข้าวชุมชน และอุปกรณ์เครื่องแยกหิน กรวด ทราย ใช้ประกอบในเครื่องสีข้าวให้สามารถ สีข้าวได้คุณภาพดีให้แก่โรงสีของสหกรณ์การเกษตร และโรงสีของกลุ่มเกษตรกร
ในส่วนของผู้ประกอบการโรงสีมีความคาดหวังในการยกระดับคุณภาพข้าวสังข์หยด โดยเสนอให้ อบต. ดำเนินการในการนำข้าวสังข์หยดพันธุ์ดีที่มีมาตรฐานเดียวกันไปแลกเปลี่ยนข้าวกับเกษตรกร โดยใช้งบประมาณของ อบต. ในการชดเชยส่วนต่างของราคาที่แลกเปลี่ยน เพื่อให้สามารถผลิตข้าวสังข์หยดคุณภาพได้ทั้งหมดในฤดูกาลใหม่นี้
สำหรับการประชาสัมพันธ์ ในระดับจังหวัดจะต้องมีการรณรงค์ให้ชาวจังหวัดพัทลุง และร้านอาหารในจังหวัดพัทลุง หันมาให้ความสำคัญ โดยการบริโภค และนำข้าวสังข์หยด มาไว้เป็นทางเลือกให้กับลูกค้า อีกทั้งการรณรงค์ให้นำข้าวสังข์หยด ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มาใช้เป็นอาหารกลางวันของนักเรียน และใช้เป็นอาหารของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งสัมมนาในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่นำไปสู่การพบปะและเจรจาทางการค้าระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผู้แปรรูปข้าวสังข์หยดกับบริษัทผู้จำหน่ายข้าว เพื่อขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคระดับบน ต่อไป นางยินดี กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางยินดี แก้วประกอบ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต (สศข.9) จังหวัดสงขลา สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และหน่วยงานราชการ ผู้ประกอบการ รวมถึงกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดพัทลุง ได้จัดสัมมนาโครงการนำร่องพื้นที่เหมาะสมการอนุรักษ์และพัฒนาการผลิตข้าวสังข์หยดจังหวัดพัทลุง เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา ณ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตพัทลุง
จากผลการสัมมนา ทุกฝ่ายต่างให้การตอบรับว่า ตลาดข้าวสังข์หยดมีอนาคตที่ดี ผู้บริโภค มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีจุดเด่นในด้านคุณค่าทางโภชนาการ เป็นที่ต้องการของผู้บริโภคในระดับบน ในขณะที่ยังผลิตได้จำนวนจำกัด และยังไม่สามารถยกระดับมาตรฐานผลผลิตให้คงเส้นคงวา ดังนั้น เพื่อรักษาระดับราคาให้มั่นคง จึงจำเป็นต้องให้การสนับสนุนการควบคุมคุณภาพ การใช้ตรายี่ห้อ รวมทั้งจัดทำช่องทางการขายผ่านทางอินเตอร์เนต ซึ่งจะช่วยให้ช่องทางการตลาดกว้างมากขึ้น
ทีผ่านมา ข้าวสังข์หยดที่ผลิตในจังหวัดพัทลุงโดยทั่วไปยังมีปัญหาด้านคุณภาพ โดยปัญหาที่พบได้แก่ มีข้าวอื่นปะปน เมล็ดแข็ง มีกรวด ทรายปน ทำให้ผู้บริโภคไม่ยอมบริโภคอีก ซึ่งต่างจากข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุงที่มีคณะกรรมการสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ดูแลในการควบคุมคุณภาพการผลิตทุกขั้นตอน แต่การยกระดับคุณภาพให้ได้เป็นข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง (GI) นั้น เกษตรกรจะมีความยากลำบากในการเข้าสู่กระบวนดังกล่าว จึงทำให้คุณภาพข้าวสังข์หยดโดยทั่วไปไม่คงเส้นคงวา จำเป็นที่รัฐบาลและหน่วยงานในจังหวัดต้องให้ความสำคัญ และร่วมสนับสนุนงบประมาณในการจัดหาอุปกรณ์การพัฒนาคุณภาพ เช่น รถเกี่ยวข้าวชุมชน และอุปกรณ์เครื่องแยกหิน กรวด ทราย ใช้ประกอบในเครื่องสีข้าวให้สามารถ สีข้าวได้คุณภาพดีให้แก่โรงสีของสหกรณ์การเกษตร และโรงสีของกลุ่มเกษตรกร
ในส่วนของผู้ประกอบการโรงสีมีความคาดหวังในการยกระดับคุณภาพข้าวสังข์หยด โดยเสนอให้ อบต. ดำเนินการในการนำข้าวสังข์หยดพันธุ์ดีที่มีมาตรฐานเดียวกันไปแลกเปลี่ยนข้าวกับเกษตรกร โดยใช้งบประมาณของ อบต. ในการชดเชยส่วนต่างของราคาที่แลกเปลี่ยน เพื่อให้สามารถผลิตข้าวสังข์หยดคุณภาพได้ทั้งหมดในฤดูกาลใหม่นี้
สำหรับการประชาสัมพันธ์ ในระดับจังหวัดจะต้องมีการรณรงค์ให้ชาวจังหวัดพัทลุง และร้านอาหารในจังหวัดพัทลุง หันมาให้ความสำคัญ โดยการบริโภค และนำข้าวสังข์หยด มาไว้เป็นทางเลือกให้กับลูกค้า อีกทั้งการรณรงค์ให้นำข้าวสังข์หยด ซึ่งมีคุณค่าทางโภชนาการสูง มาใช้เป็นอาหารกลางวันของนักเรียน และใช้เป็นอาหารของผู้ป่วยในโรงพยาบาล ซึ่งสัมมนาในครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่นำไปสู่การพบปะและเจรจาทางการค้าระหว่างกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิต ผู้แปรรูปข้าวสังข์หยดกับบริษัทผู้จำหน่ายข้าว เพื่อขยายตลาดไปสู่ผู้บริโภคระดับบน ต่อไป นางยินดี กล่าวทิ้งท้าย
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-