1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
-
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 จากสถานการณ์ที่คาดว่าผลผลิตข้าวนาปรังที่ออกสู่ตลาดมากและมีความชื้นสูง ทำให้ราคาข้าวตกต่ำทำให้เกษตรได้รับความเดือดร้อน ทำให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลังและ ธกส. ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 เป้าหมาย 2.5 ล้านตัน โดยให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 14,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 9,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกที่มีความชื้นมากกว่า 15% ให้หักลดน้ำหนักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน โดยจะเริ่มดำเนินโครงการในวันที่ 15 มิถุนายน 2551
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้นทั้งข้าวเปลือกและข้าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลประกาศรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังรุ่น 2 ตันละ 14,000 บาท ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 นี้ ในขณะที่ราคาส่งออกปรับตัวลดลงเนื่องจากตลาดชะลอตัวประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 6 มิถุนายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.222 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.489 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.67 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,244 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,941 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.02
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,216 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,855 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.04
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,412 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,986 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 22,155 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,065 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.18
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,076 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,406 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,091 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,348 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,942 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 850 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 27,969 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 27,993 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ1.62 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 24 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 759 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 24,975 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 780 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,272 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 297 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 931 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 30,635 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 945 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,618 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 17 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9051 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 อินโดนีเซียวางแผนเป็นผู้ส่งออกข้าวปีหน้า อินโดนีเซียเล็งผลประโยชน์จากการที่ราคาข้าวสูงขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนตัวเองจากประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวในปีหน้า สำหรับประเทศเป้าหมายที่จะส่งออก คือ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ซึ่งภายใต้ระเบียบการส่งออกข้าวฉบับใหม่ของอินโดนีเซียที่ประกาศเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้ระบุให้บูล็อค(Bulog) ซึ่งเป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวของอินโดนีเซียที่ได้รับการอนุญาตให้ส่งออกข้าว สามารถส่งออกข้าวได้เมื่อราคาข้าวภายในประเทศต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนดและปริมาณการข้าวสำรองในประเทศเกินกว่า 3 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณการสำรองภายในประเทศทุกปี โดยปีนี้อินโดนีเซียตั้งเป้าการผลิตข้าวให้ได้อย่างน้อย 34 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณการบริโภคภายในประเทศซึ่งอยู่ที่ 32 ล้านตัน ประมาณร้อยละ 6
2.2 รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาส่งออกข้าวให้ศรีลังกา รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาคำเรียกร้องของรัฐบาลศรีลังกาที่ต้องการให้ญี่ปุ่นจำหน่ายข้าวในสต็อกจำนวน 200,000 ตัน ให้ศรีลังกา เพื่อเป็นการบรรเทาการขาดแคลนอาหาร ญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนข้าว โดยการระบายข้าวในสต็อกที่ได้นำเข้าที่มีอยู่ขณะนี้จำนวน 1.5 ล้านตัน นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาการส่งออกข้าวจำนวน 200,0000 ตันตามคำร้องขอของรัฐบาลฟิลิปปินส์ด้วย
2.3 มาเลเซียเสนอซื้อข้าวอินเดีย มาเลเซียเสนอซื้อข้าวจากอินเดียเพื่อเก็บสำรองไว้สำหรับการบริโภคภายในประเทศ แต่รัฐบาลอินเดียยังคงชะลอการตัดสินใจเนื่องจากต้องการรอดูผลผลิตข้าวฤดูใหม่ที่จะถึงฤดูเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคมนี้ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลมาเลเซียได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลอินเดียเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนปาล์มน้ำมันของมาเลเซียกับข้าวของอินเดีย สำหรับอินเดียเป็นประเทศผู้นำเข้าปาล์มน้ำมันรายใหญ่ของโลกและเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสามของโลก จนกระทั่งในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้มีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์
2.4 อินเดียเพิ่มราคาแทรกแซงข้าว รัฐบาลอินเดียได้ประกาศเพิ่มราคาแทรกแซงข้าวเกรดทั่วไปอีกตันละ 1,050 รูปี เป็นตันละ 8,500 รูปี ในปีการค้าใหม่ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคม 2551 โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอินเดียระบุว่า รัฐบาลอินเดียจะไม่เพิ่มราคาแทรกแซงสินค้าเกษตรชนิดอื่นเนื่องจากเห็นว่าราคาอยู่ในระดับสูงกว่าราคาแทรกแซงอยู่แล้ว ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดียได้กำหนดราคาแทรกแซงสินค้าเกษตรหลายชนิดและจะรับซื้อสินค้าสินค้าดังกล่าวในกรณีที่ราคาต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนดเพื่อประกันรายได้ให้กับเกษตรกร
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
-
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551 จากสถานการณ์ที่คาดว่าผลผลิตข้าวนาปรังที่ออกสู่ตลาดมากและมีความชื้นสูง ทำให้ราคาข้าวตกต่ำทำให้เกษตรได้รับความเดือดร้อน ทำให้คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลังและ ธกส. ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 เป้าหมาย 2.5 ล้านตัน โดยให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 14,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 9,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกที่มีความชื้นมากกว่า 15% ให้หักลดน้ำหนักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน โดยจะเริ่มดำเนินโครงการในวันที่ 15 มิถุนายน 2551
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ ราคาข้าวในประเทศปรับตัวสูงขึ้นทั้งข้าวเปลือกและข้าวสาร ซึ่งเป็นผลมาจากการที่รัฐบาลประกาศรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังรุ่น 2 ตันละ 14,000 บาท ซึ่งจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2550 นี้ ในขณะที่ราคาส่งออกปรับตัวลดลงเนื่องจากตลาดชะลอตัวประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 6 มิถุนายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.222 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.489 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 49.67 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,244 บาท ราคาลดลงจากตันละ 16,941 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 10.02
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,216 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,855 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.04
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,412 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 11,986 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.55
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 22,155 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 21,065 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 5.18
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,076 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,406 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 1,091 ดอลลาร์สหรัฐฯ (37,348 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.38 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,942 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 850 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 27,969 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 864 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 27,993 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ1.62 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 24 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 759 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 24,975 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 780 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,272 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.69 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 297 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 931 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 30,635 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 945 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,618 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.48 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 17 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 32.9051 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 อินโดนีเซียวางแผนเป็นผู้ส่งออกข้าวปีหน้า อินโดนีเซียเล็งผลประโยชน์จากการที่ราคาข้าวสูงขึ้น โดยการปรับเปลี่ยนตัวเองจากประเทศผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่สุดของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศผู้ส่งออกข้าวในปีหน้า สำหรับประเทศเป้าหมายที่จะส่งออก คือ ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย ซึ่งภายใต้ระเบียบการส่งออกข้าวฉบับใหม่ของอินโดนีเซียที่ประกาศเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ได้ระบุให้บูล็อค(Bulog) ซึ่งเป็นตัวแทนเพียงหนึ่งเดียวของอินโดนีเซียที่ได้รับการอนุญาตให้ส่งออกข้าว สามารถส่งออกข้าวได้เมื่อราคาข้าวภายในประเทศต่ำกว่าที่รัฐบาลกำหนดและปริมาณการข้าวสำรองในประเทศเกินกว่า 3 ล้านตัน ซึ่งเป็นปริมาณการสำรองภายในประเทศทุกปี โดยปีนี้อินโดนีเซียตั้งเป้าการผลิตข้าวให้ได้อย่างน้อย 34 ล้านตัน ซึ่งสูงกว่าปริมาณการบริโภคภายในประเทศซึ่งอยู่ที่ 32 ล้านตัน ประมาณร้อยละ 6
2.2 รัฐบาลญี่ปุ่นพิจารณาส่งออกข้าวให้ศรีลังกา รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาคำเรียกร้องของรัฐบาลศรีลังกาที่ต้องการให้ญี่ปุ่นจำหน่ายข้าวในสต็อกจำนวน 200,000 ตัน ให้ศรีลังกา เพื่อเป็นการบรรเทาการขาดแคลนอาหาร ญี่ปุ่นมีนโยบายที่จะให้ความช่วยเหลือประเทศที่ขาดแคลนข้าว โดยการระบายข้าวในสต็อกที่ได้นำเข้าที่มีอยู่ขณะนี้จำนวน 1.5 ล้านตัน นอกจากนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นกำลังพิจารณาการส่งออกข้าวจำนวน 200,0000 ตันตามคำร้องขอของรัฐบาลฟิลิปปินส์ด้วย
2.3 มาเลเซียเสนอซื้อข้าวอินเดีย มาเลเซียเสนอซื้อข้าวจากอินเดียเพื่อเก็บสำรองไว้สำหรับการบริโภคภายในประเทศ แต่รัฐบาลอินเดียยังคงชะลอการตัดสินใจเนื่องจากต้องการรอดูผลผลิตข้าวฤดูใหม่ที่จะถึงฤดูเก็บเกี่ยวในเดือนตุลาคมนี้ โดยก่อนหน้านี้รัฐบาลมาเลเซียได้ยื่นข้อเสนอต่อรัฐบาลอินเดียเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนปาล์มน้ำมันของมาเลเซียกับข้าวของอินเดีย สำหรับอินเดียเป็นประเทศผู้นำเข้าปาล์มน้ำมันรายใหญ่ของโลกและเคยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่อันดับสามของโลก จนกระทั่งในเดือนตุลาคมที่ผ่านมาได้มีมาตรการจำกัดการส่งออกข้าวส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นอย่างเป็นประวัติการณ์
2.4 อินเดียเพิ่มราคาแทรกแซงข้าว รัฐบาลอินเดียได้ประกาศเพิ่มราคาแทรกแซงข้าวเกรดทั่วไปอีกตันละ 1,050 รูปี เป็นตันละ 8,500 รูปี ในปีการค้าใหม่ซึ่งจะเริ่มในเดือนตุลาคม 2551 โดยรัฐมนตรีกระทรวงการคลังของอินเดียระบุว่า รัฐบาลอินเดียจะไม่เพิ่มราคาแทรกแซงสินค้าเกษตรชนิดอื่นเนื่องจากเห็นว่าราคาอยู่ในระดับสูงกว่าราคาแทรกแซงอยู่แล้ว ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดียได้กำหนดราคาแทรกแซงสินค้าเกษตรหลายชนิดและจะรับซื้อสินค้าสินค้าดังกล่าวในกรณีที่ราคาต่ำกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนดเพื่อประกันรายได้ให้กับเกษตรกร
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 9 - 15 มิถุนายน 2551--
-พห-