สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรชี้ แป้งมันสำปะหลังไทยยังเจาะตลาดแดนปลาดิบได้ เผยมีศักยภาพในการแข่งขัน คาดหากไทยสามารถปรับปรุงคุณภาพให้เหมาะสมกับชนิดอาหารทดแทนแป้งข้าวโพด ก็จะเป็นโอกาสทองของไทยในการขยายตลาดแป้งมัน รวมทั้งผลักดันให้มีการขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าความต้องการแป้งมันสำปะหลังไทยของญี่ปุ่นมีมาก ซึ่งแป้งมันสำปะหลังไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเทียบกับแป้งข้าวโพดและแป้งมันฝรั่ง แม้ว่าราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณโควตาที่ได้รับทั้งแป้งดิบและแป้งแปรรูป การเก็บภาษีเพิ่มเติม (levy) จากการนำเข้าแป้งดิบในโควตา รวมถึงภาษีนอกโควตาที่กำหนดไว้สูง ส่งผลให้การนำเข้าแป้งมันเพื่อทดแทนแป้งชนิดอื่นๆ ถูกจำกัด
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ไปศึกษาตลาดแป้งมันในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า ญี่ปุ่นมีการผลิตแป้งจากมันฝรั่งและมันเทศได้ประมาณร้อยละ 10 ของความต้องการใช้ทั้งหมด และนำเข้าเมล็ดข้าวโพดเพื่อผลิตแป้งอีกประมาณร้อยละ 72 ที่เหลือเป็นการนำเข้าในรูปแป้งทั้งแป้งดิบและแป้งแปรรูป โดยนำเข้าจากไทยประมาณร้อยละ 10 - 11 หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของแป้งนำเข้าทั้งหมด ซึ่งในปี 2550 ไทยส่งออกแป้งดิบ 138,000 ตัน
ทั้งนี้ผู้นำเข้าแป้งดิบจะได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าโดยไม่เสียภาษีนำเข้า แต่ต้องรับซื้อแป้งมันฝรั่งและมันเทศที่ผลิตในประเทศ รวมถึงจ่ายภาษีเพิ่มเติม (levy) ซึ่งคำนวณจากส่วนต่างของค่าเฉลี่ยของราคาแป้งนำเข้าและแป้งในประเทศ และนำเงินจากภาษีดังกล่าวมาอุดหนุนให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตมันฝรั่งและมันเทศในประเทศ สำหรับแป้งแปรรูป ตามความตกลง JTEPA ทำให้ไทยได้รับโควตาจำนวน 200,000 ตัน โดยไม่เสียภาษี ซึ่งในปี 2550 ไทยส่งออกแป้งแปรรูปถึง 240,000 ตัน ส่วนที่เกินโควตาต้องเสียภาษีร้อยละ 6.8
สำหรับความต้องการใช้แป้งในตลาดญี่ปุ่นมีประมาณปีละ 3.0 — 3.2 ล้านตัน โดยใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในรูป corn syrup, glucose syrup, maltodextrin ประมาณร้อยละ 60 ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษประมาณร้อยละ 8 - 10 ที่เหลือเป็นการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ โดยที่การขยายตัวของการใช้แป้งแปรรูปในอุตสาหกรรมเบเกอรี่และอาหารแช่เย็นแช่แข็งเติบโตตามสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มขยายตัว ทำให้ผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีคุณภาพและรสชาติดี ทั้งนี้อุตสาหกรรมอาหารใช้แป้งแปรรูปจากมันสำปะหลังทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิตและทำให้อายุสินค้า (Shelf life) ยาวนานขึ้น
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่าความต้องการแป้งของญี่ปุ่นยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิมที่ประมาณ 3.2 ล้านตัน เนื่องจากแนวโน้มอัตราการเพิ่มของประชากรลดลง ประกอบกับสัดส่วนของประชากรสูงอายุมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีคุณภาพดีขึ้น ดังนั้นหากไทยสามารถปรับปรุงคุณภาพของแป้งมันสำปะหลังซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีกว่าแป้งชนิดอื่น คือ ปราศจากกลิ่นและสี มีความเหนียวและคงรูปสูง ให้เหมาะสมกับชนิดอาหารทดแทนแป้งข้าวโพด ก็จะเป็นโอกาสทองของไทยในการขยายตลาดแป้งมัน ซึ่งปริมาณการนำเข้าของญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ราคาแป้งมันของไทยที่สามารถแข่งขันกับแป้งข้าวโพด การพัฒนาคุณสมบัติแป้งมันให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของแป้งมันไทยในอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงจำเป็นต้องมีการเจรจาและผลักดันให้มีการขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าความต้องการแป้งมันสำปะหลังไทยของญี่ปุ่นมีมาก ซึ่งแป้งมันสำปะหลังไทยมีศักยภาพในการแข่งขันเมื่อเทียบกับแป้งข้าวโพดและแป้งมันฝรั่ง แม้ว่าราคาได้ปรับตัวสูงขึ้นมาก อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณโควตาที่ได้รับทั้งแป้งดิบและแป้งแปรรูป การเก็บภาษีเพิ่มเติม (levy) จากการนำเข้าแป้งดิบในโควตา รวมถึงภาษีนอกโควตาที่กำหนดไว้สูง ส่งผลให้การนำเข้าแป้งมันเพื่อทดแทนแป้งชนิดอื่นๆ ถูกจำกัด
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรได้ไปศึกษาตลาดแป้งมันในประเทศญี่ปุ่น ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา พบว่า ญี่ปุ่นมีการผลิตแป้งจากมันฝรั่งและมันเทศได้ประมาณร้อยละ 10 ของความต้องการใช้ทั้งหมด และนำเข้าเมล็ดข้าวโพดเพื่อผลิตแป้งอีกประมาณร้อยละ 72 ที่เหลือเป็นการนำเข้าในรูปแป้งทั้งแป้งดิบและแป้งแปรรูป โดยนำเข้าจากไทยประมาณร้อยละ 10 - 11 หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของแป้งนำเข้าทั้งหมด ซึ่งในปี 2550 ไทยส่งออกแป้งดิบ 138,000 ตัน
ทั้งนี้ผู้นำเข้าแป้งดิบจะได้รับการจัดสรรโควตานำเข้าโดยไม่เสียภาษีนำเข้า แต่ต้องรับซื้อแป้งมันฝรั่งและมันเทศที่ผลิตในประเทศ รวมถึงจ่ายภาษีเพิ่มเติม (levy) ซึ่งคำนวณจากส่วนต่างของค่าเฉลี่ยของราคาแป้งนำเข้าและแป้งในประเทศ และนำเงินจากภาษีดังกล่าวมาอุดหนุนให้แก่เกษตรกรผู้ผลิตมันฝรั่งและมันเทศในประเทศ สำหรับแป้งแปรรูป ตามความตกลง JTEPA ทำให้ไทยได้รับโควตาจำนวน 200,000 ตัน โดยไม่เสียภาษี ซึ่งในปี 2550 ไทยส่งออกแป้งแปรรูปถึง 240,000 ตัน ส่วนที่เกินโควตาต้องเสียภาษีร้อยละ 6.8
สำหรับความต้องการใช้แป้งในตลาดญี่ปุ่นมีประมาณปีละ 3.0 — 3.2 ล้านตัน โดยใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มในรูป corn syrup, glucose syrup, maltodextrin ประมาณร้อยละ 60 ใช้ในอุตสาหกรรมกระดาษประมาณร้อยละ 8 - 10 ที่เหลือเป็นการใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและอื่นๆ โดยที่การขยายตัวของการใช้แป้งแปรรูปในอุตสาหกรรมเบเกอรี่และอาหารแช่เย็นแช่แข็งเติบโตตามสภาพเศรษฐกิจ ซึ่งปัจจุบันเศรษฐกิจของญี่ปุ่นเริ่มขยายตัว ทำให้ผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีคุณภาพและรสชาติดี ทั้งนี้อุตสาหกรรมอาหารใช้แป้งแปรรูปจากมันสำปะหลังทำให้รสชาติอาหารดีขึ้น ลดต้นทุนการผลิตและทำให้อายุสินค้า (Shelf life) ยาวนานขึ้น
นายมณฑล กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอีก 5 ปีข้างหน้า คาดว่าความต้องการแป้งของญี่ปุ่นยังทรงตัวอยู่ในระดับเดิมที่ประมาณ 3.2 ล้านตัน เนื่องจากแนวโน้มอัตราการเพิ่มของประชากรลดลง ประกอบกับสัดส่วนของประชากรสูงอายุมีมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคต้องการอาหารที่มีคุณภาพดีขึ้น ดังนั้นหากไทยสามารถปรับปรุงคุณภาพของแป้งมันสำปะหลังซึ่งมีคุณสมบัติที่ดีกว่าแป้งชนิดอื่น คือ ปราศจากกลิ่นและสี มีความเหนียวและคงรูปสูง ให้เหมาะสมกับชนิดอาหารทดแทนแป้งข้าวโพด ก็จะเป็นโอกาสทองของไทยในการขยายตลาดแป้งมัน ซึ่งปริมาณการนำเข้าของญี่ปุ่นขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ราคาแป้งมันของไทยที่สามารถแข่งขันกับแป้งข้าวโพด การพัฒนาคุณสมบัติแป้งมันให้เหมาะสมกับอุตสาหกรรมอาหารต่างๆ ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของแป้งมันไทยในอุตสาหกรรมอาหาร รวมถึงจำเป็นต้องมีการเจรจาและผลักดันให้มีการขยายโควตานำเข้าเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นมากขึ้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-