กระทรวงเกษตรฯ เปิดบ้านต้อนรับ หน่วยงานภาครับฐจากประเทศอินโดนีเซีย ร่วมหารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น นโยบายและทิศทางการเกษตรของประเทศ ด้านอินโดฯ เผย สนใจแนวเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการระบบ ชลประทาน การปรับตัวหลังเกิดวิกฤตอาหารและพลังงาน ของไทยเป็นอย่างมาก
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการมาเยือนของคณะ National Institute of Public Administration of the Republic of Indonesia (NIPA)’s Leadership Training for Echelon I Batch XV จำนวน 35 คน ซึ่งมาจากหลายหน่วยงานในภาครัฐของประเทศอินโดนีเซีย เช่น กรมกิจการทางทะเลและประมง กรมกิจการสังคม องค์การประสานงานแห่งชาติด้านความปลอดภัยทางทะเล กรมอัยการ และผู้แทนจากจังหวัดสุราเวสีตะวันตก เป็นต้น โดยมี Dr. Purnaman Natakusumah เป็นหัวหน้าคณะ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ทิศทาง และนโยบายทำงานของกระทรวงเกษตร
ในการนี้ นางวรรณภา ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในนามของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น พร้อมตอบข้อซักถามถึงภาพรวมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งทิศทางการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติราชการตลอดระยะเวลา 4 ปี ดังนี้
ในด้านการดำเนินการตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ประกอบด้วย การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกร การดำเนินการกระจายการถือครองที่ดินและการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสม
ด้านกรอบงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมุ่งเน้น 3 แนวทาง คือ 1) เกษตรเพื่อเกษตร ให้เกษตรกร มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดสรรโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ รวมทั้งจัดตั้งสภาเกษตรกร 2) เกษตรเพื่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีอาหารบริโภคเพียงพอ และราคาเป็นธรรม และ3) เกษตรเพื่อเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้ประเทศ โดยการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผลักดันสินค้าเกษตรออกสู่ตลาด โดยการประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
และในส่วนแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2551-2554 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบาย 4 ด้าน คือ 1) นโยบายฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านการเกษตร 2) นโยบายปรับโครงสร้างภาคเกษตร 3) นโยบายพัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรการเกษตร และ 4) นโยบายการบริหารจัดการที่ดี
ทั้งนี้ คณะจาก NIPA ของอินโดนีเซีย ได้ให้การสนใจเป็นอย่างมากถึงโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยในหลายโครงการ เช่น โครงการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการระบบชลประทาน การปรับตัวหลังเกิดวิกฤตอาหารและพลังงาน การจัดที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรรายย่อย การช่วยเหลือเกษตรภาคประมง เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการมาเยือนของคณะ National Institute of Public Administration of the Republic of Indonesia (NIPA)’s Leadership Training for Echelon I Batch XV จำนวน 35 คน ซึ่งมาจากหลายหน่วยงานในภาครัฐของประเทศอินโดนีเซีย เช่น กรมกิจการทางทะเลและประมง กรมกิจการสังคม องค์การประสานงานแห่งชาติด้านความปลอดภัยทางทะเล กรมอัยการ และผู้แทนจากจังหวัดสุราเวสีตะวันตก เป็นต้น โดยมี Dr. Purnaman Natakusumah เป็นหัวหน้าคณะ เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น ทิศทาง และนโยบายทำงานของกระทรวงเกษตร
ในการนี้ นางวรรณภา ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพัฒนาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในนามของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็น พร้อมตอบข้อซักถามถึงภาพรวมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทั้งทิศทางการดำเนินงาน และแผนปฏิบัติราชการตลอดระยะเวลา 4 ปี ดังนี้
ในด้านการดำเนินการตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ประกอบด้วย การคุ้มครองและรักษาผลประโยชน์ของเกษตรกรในการผลิตและการตลาด ส่งเสริมให้สินค้าเกษตรได้รับผลตอบแทนสูงสุด รวมทั้งการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปของสภาเกษตรกร การดำเนินการกระจายการถือครองที่ดินและการจัดหาแหล่งน้ำเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำใช้อย่างพอเพียงและเหมาะสม
ด้านกรอบงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมุ่งเน้น 3 แนวทาง คือ 1) เกษตรเพื่อเกษตร ให้เกษตรกร มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยการเพิ่มผลผลิต ส่งเสริมการเรียนรู้ตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จัดสรรโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตร สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่ รวมทั้งจัดตั้งสภาเกษตรกร 2) เกษตรเพื่อประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีอาหารบริโภคเพียงพอ และราคาเป็นธรรม และ3) เกษตรเพื่อเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้ประเทศ โดยการปรับโครงสร้างสินค้าเกษตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด ผลักดันสินค้าเกษตรออกสู่ตลาด โดยการประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด
และในส่วนแผนปฏิบัติราชการ 4 ปี พ.ศ. 2551-2554 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบาย 4 ด้าน คือ 1) นโยบายฟื้นฟูความเชื่อมั่นด้านการเกษตร 2) นโยบายปรับโครงสร้างภาคเกษตร 3) นโยบายพัฒนา อนุรักษ์และฟื้นฟู ทรัพยากรการเกษตร และ 4) นโยบายการบริหารจัดการที่ดี
ทั้งนี้ คณะจาก NIPA ของอินโดนีเซีย ได้ให้การสนใจเป็นอย่างมากถึงโครงการของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไทยในหลายโครงการ เช่น โครงการตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการระบบชลประทาน การปรับตัวหลังเกิดวิกฤตอาหารและพลังงาน การจัดที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกรรายย่อย การช่วยเหลือเกษตรภาคประมง เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-