1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
เดือนมิถุนายน 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 1.508 ล้านตัน หรือร้อยละ 17.16 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 16.59
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
ตามที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลัง และ ธกส. ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 เป้าหมาย 2.5 ล้านตัน ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน โดยเริ่มดำเนินโครงการในวันที่ 15 มิถุนายน 2551 โดยให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 14,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 9,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกที่มีความชื้นมากกว่า 15% ให้หักลดน้ำหนักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยกำหนดเพดานการรับจำนำเป็นมูลค่าไม่เกินรายละ 3.5 แสนบาท นั้น
บัดนี้ ธกส. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการรับจำนำได้ขยายเพดานมูลค่าการรับจำนำเพิ่มขึ้นเป็นรายละไม่เกิน 5 แสนบาท
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ค่อนข้างชะลอตัว ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างรีรอการเสนอซื้อและเสนอขาย เนื่องจากความไม่แน่ใจในทิศทางของราคาหลังการเริ่มโครงการรับจำนำของรัฐบาล ผู้ซื้อต่างประเทศคาดว่าราคาน่าจะอ่อนตัวลงจึงชะลอการสั่งซื้อประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวของไทยปรับตัวลดลงอีกในสัปดาห์นี้ ในขณะที่ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาเป้าหมายโครงการรับจำนำของรัฐบาลที่ตั้งไว้ค่อนข้างสูง ยกเว้นข้าวหอมมะลิที่ราคาค่อนข้างทรงตัวตามภาวะตลาด
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 11 มิถุนายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.375 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.623 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 48.36 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,210 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,244 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,407 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,216 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,998 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,412 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.72
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,725 บาท ราคาลดลงนจากตันละ 22,155 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.45
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,081 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,699 บาท/ตัน)ราคาลดลงจากตันละ 1,084 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,669 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 30 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 856 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,269 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,200 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 69 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 763 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,198 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 765 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 25,172 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 936 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,911บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 937 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 30,832 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 79 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.0243 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2551/52 ประจำเดือนมิถุนายน 2551 ว่าจะมี 431.41 ล้านตันข้าวสาร (642.80 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 427.66 ล้านตันข้าวสาร (637.40 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2550/51 ร้อยละ 0.88 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในประเทศผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ บราซิล กัมพูชา จีน อินเดีย อิยิปต์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2551/52 ณ เดือนมิถุนายน 2551 ว่าผลผลิต ปี 2551/52 จะมี 431.41 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.88 การใช้ในประเทศจะมี 427.46 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.40 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 81.51 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.08
สำหรับการค้าข้าวของโลก (ส่งออก-นำเข้า) คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 27.05 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 28.44 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2550/51 ร้อยละ 4.90 โดยคาดว่าบังคลาเทศ บราซิล อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ จะลดการนำเข้าข้าว ในขณะที่คิวบา จีน ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย อียู และ สหรัฐฯ คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่า อินเดีย และสหรัฐ จะส่งออกลดลง ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล จีน กัมพูชา อียิปต์ ปากีสถาน อุรุกวัย และไทย
2.3 เวียดนามส่งออกข้าว 400,000 ตันให้คิวบา ปีนี้เวียดนามได้ส่งออกข้าวไปยังคิวบาแล้วเป็นจำนวนมากกว่า 200,000 ตัน และจะส่งออกเพิ่มขึ้นจนถึง 400,000 ตันตามสัญญาการส่งออกที่ได้ทำไว้ ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของคิวบาในขณะนี้ สมาพันธ์อาหารของเวียดนาม (Vietnam Food Association) ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เวียดนามกำลังส่งผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรไปช่วยเหลือคิวบาด้านการผลิตข้าวเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริโภค เพราะคิวบาสามารถที่จะผลิตข้าวได้เพียง 100,000 ตันต่อปีแต่บริโภคข้าวประมาณ 600,000 ตันต่อปี
2.4 ผลการประมูลข้าวฟิลิปปินส์ นายอาร์เธอร์ แย็ป (Arthur Yap) เลขาธิการกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้เปิดเผยว่าเวียดนามเป็นผู้ประมูลรายเดียวในการประมูลขายข้าวแก่ฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 แต่ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงปริมาณข้าวที่เวียดนามเสนอขาย สำหรับการประมูลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นการประมูลระดับรัฐบาลกับรัฐบาลเท่านั้น โดยได้เชิญ 8 ประเทศเพื่อทำการประมูล เช่น เวียดนาม ประเทศไทย อเมริกา ปากีสถาน เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย นายแย็บยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าเวียดนามได้เสนอเงื่อนไขที่ดี แต่ฟิลิปปินส์จะยืนยันข้อเสนอของเวียดนามภายในเจ็ดวัน
2.5 สต็อกข้าวอินโดนีเซียล้น สต็อกข้าวล่าสุดของอินโดนีเซียขณะนี้อยู่ที่ระดับ 1.8 ล้านตัน ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีของสต็อกข้าวอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าผลผลิตข้าวในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 35 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปีที่ผ่านมาที่ผลิตได้เพียง 33 ล้านตัน
2.4 อินเดียทบทวนมาตรการห้ามการส่งออกข้าว รัฐบาลอินเดียได้เปิดเผยว่าจะยังไม่มีการผ่อนปรนมาตรการห้ามการส่งออกข้าวและข้าวสาลี แต่จะมีการทบทวนการผ่อนคลายมาตรการห้ามการส่งออกข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยวที่จะมาถึงเดือนตุลาคมนี้ จี.เค.พิลัย (G.K. Pillai) เลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ของอินเดียได้เปิดเผยว่า รัฐบาลอินเดียได้คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวปีนี้จะประมาณ 94 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้อินเดียมีข้าวเหลือสามารถที่จะส่งออกได้ 3-4 ล้านตัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 มิถุนายน 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
เดือนมิถุนายน 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 1.508 ล้านตัน หรือร้อยละ 17.16 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 16.59
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
ตามที่คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ได้มีมติอนุมัติให้กระทรวงการคลัง และ ธกส. ดำเนินการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2551 เป้าหมาย 2.5 ล้านตัน ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน โดยเริ่มดำเนินโครงการในวันที่ 15 มิถุนายน 2551 โดยให้รับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 14,000 บาท และข้าวเปลือกเหนียความชื้นไม่เกิน 15% ในราคาตันละ 9,000 บาท ส่วนข้าวเปลือกที่มีความชื้นมากกว่า 15% ให้หักลดน้ำหนักได้ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด โดยกำหนดเพดานการรับจำนำเป็นมูลค่าไม่เกินรายละ 3.5 แสนบาท นั้น
บัดนี้ ธกส. ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการรับจำนำได้ขยายเพดานมูลค่าการรับจำนำเพิ่มขึ้นเป็นรายละไม่เกิน 5 แสนบาท
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ค่อนข้างชะลอตัว ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายต่างรีรอการเสนอซื้อและเสนอขาย เนื่องจากความไม่แน่ใจในทิศทางของราคาหลังการเริ่มโครงการรับจำนำของรัฐบาล ผู้ซื้อต่างประเทศคาดว่าราคาน่าจะอ่อนตัวลงจึงชะลอการสั่งซื้อประกอบกับการอ่อนค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ราคาส่งออกข้าวของไทยปรับตัวลดลงอีกในสัปดาห์นี้ ในขณะที่ราคาข้าวเปลือกภายในประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามราคาเป้าหมายโครงการรับจำนำของรัฐบาลที่ตั้งไว้ค่อนข้างสูง ยกเว้นข้าวหอมมะลิที่ราคาค่อนข้างทรงตัวตามภาวะตลาด
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 11 มิถุนายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.375 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 3.623 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 48.36 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,210 บาท ราคาลดลงจากตันละ 15,244 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.22
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 12,407 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,216 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.56
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 12,998 บาท ราคาสูงขึ้นจากตันละ 12,412 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.72
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 20,725 บาท ราคาลดลงนจากตันละ 22,155 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 6.45
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,081 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,699 บาท/ตัน)ราคาลดลงจากตันละ 1,084 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,669 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.28 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 30 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 856 ดอลลาร์สหรัฐฯ (28,269 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,200 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.12 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 69 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 763 ดอลลาร์สหรัฐฯ (25,198 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 765 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 25,172 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.26 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 26 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 936 ดอลลาร์สหรัฐฯ (30,911บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 937 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 30,832 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.11 แต่สูงขึ้นในรูปเงินบาทตันละ 79 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.0243 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ผลผลิตข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนเบื้องต้นว่าผลผลิตข้าวโลกปี 2551/52 ประจำเดือนมิถุนายน 2551 ว่าจะมี 431.41 ล้านตันข้าวสาร (642.80 ล้านตันข้าวเปลือก) เพิ่มขึ้นจาก 427.66 ล้านตันข้าวสาร (637.40 ล้านตันข้าวเปลือก) ของปี 2550/51 ร้อยละ 0.88 เนื่องจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตในประเทศผู้ผลิต ผู้บริโภคและผู้ส่งออกที่สำคัญของโลก เช่น บังคลาเทศ บราซิล กัมพูชา จีน อินเดีย อิยิปต์ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไนจีเรีย ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ และไทย
2.2 บัญชีสมดุลข้าวโลก กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ได้คาดคะเนบัญชีสมดุลข้าวโลกปี 2551/52 ณ เดือนมิถุนายน 2551 ว่าผลผลิต ปี 2551/52 จะมี 431.41 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 0.88 การใช้ในประเทศจะมี 427.46 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.40 และสต็อกปลายปีคงเหลือ 81.51 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 5.08
สำหรับการค้าข้าวของโลก (ส่งออก-นำเข้า) คาดว่าจะมีจำนวนประมาณ 27.05 ล้านตันข้าวสาร ลดลงจาก 28.44 ล้านตันข้าวสาร ในปี 2550/51 ร้อยละ 4.90 โดยคาดว่าบังคลาเทศ บราซิล อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ จะลดการนำเข้าข้าว ในขณะที่คิวบา จีน ไนจีเรีย ซาอุดิอาระเบีย อียู และ สหรัฐฯ คาดว่าจะนำเข้าเพิ่มขึ้น สำหรับการส่งออกคาดว่า อินเดีย และสหรัฐ จะส่งออกลดลง ส่วนประเทศที่คาดว่าจะส่งออกเพิ่มขึ้นได้แก่ อาร์เจนตินา บราซิล จีน กัมพูชา อียิปต์ ปากีสถาน อุรุกวัย และไทย
2.3 เวียดนามส่งออกข้าว 400,000 ตันให้คิวบา ปีนี้เวียดนามได้ส่งออกข้าวไปยังคิวบาแล้วเป็นจำนวนมากกว่า 200,000 ตัน และจะส่งออกเพิ่มขึ้นจนถึง 400,000 ตันตามสัญญาการส่งออกที่ได้ทำไว้ ส่งผลให้เวียดนามกลายเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของคิวบาในขณะนี้ สมาพันธ์อาหารของเวียดนาม (Vietnam Food Association) ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า เวียดนามกำลังส่งผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตรไปช่วยเหลือคิวบาด้านการผลิตข้าวเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการบริโภค เพราะคิวบาสามารถที่จะผลิตข้าวได้เพียง 100,000 ตันต่อปีแต่บริโภคข้าวประมาณ 600,000 ตันต่อปี
2.4 ผลการประมูลข้าวฟิลิปปินส์ นายอาร์เธอร์ แย็ป (Arthur Yap) เลขาธิการกระทรวงเกษตรของฟิลิปปินส์ได้เปิดเผยว่าเวียดนามเป็นผู้ประมูลรายเดียวในการประมูลขายข้าวแก่ฟิลิปปินส์เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน 2551 แต่ปฏิเสธที่จะกล่าวถึงปริมาณข้าวที่เวียดนามเสนอขาย สำหรับการประมูลเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาเป็นการประมูลระดับรัฐบาลกับรัฐบาลเท่านั้น โดยได้เชิญ 8 ประเทศเพื่อทำการประมูล เช่น เวียดนาม ประเทศไทย อเมริกา ปากีสถาน เกาหลีใต้ จีน ญี่ปุ่นและอินโดนีเซีย นายแย็บยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่าเวียดนามได้เสนอเงื่อนไขที่ดี แต่ฟิลิปปินส์จะยืนยันข้อเสนอของเวียดนามภายในเจ็ดวัน
2.5 สต็อกข้าวอินโดนีเซียล้น สต็อกข้าวล่าสุดของอินโดนีเซียขณะนี้อยู่ที่ระดับ 1.8 ล้านตัน ซึ่งเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบ 10 ปีของสต็อกข้าวอินโดนีเซีย รัฐบาลอินโดนีเซียคาดว่าผลผลิตข้าวในปีนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 35 ล้านตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปีที่ผ่านมาที่ผลิตได้เพียง 33 ล้านตัน
2.4 อินเดียทบทวนมาตรการห้ามการส่งออกข้าว รัฐบาลอินเดียได้เปิดเผยว่าจะยังไม่มีการผ่อนปรนมาตรการห้ามการส่งออกข้าวและข้าวสาลี แต่จะมีการทบทวนการผ่อนคลายมาตรการห้ามการส่งออกข้าวหลังฤดูเก็บเกี่ยวที่จะมาถึงเดือนตุลาคมนี้ จี.เค.พิลัย (G.K. Pillai) เลขาธิการกระทรวงพาณิชย์ของอินเดียได้เปิดเผยว่า รัฐบาลอินเดียได้คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวปีนี้จะประมาณ 94 ล้านตัน ซึ่งจะทำให้อินเดียมีข้าวเหลือสามารถที่จะส่งออกได้ 3-4 ล้านตัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 16 - 22 มิถุนายน 2551--
-พห-