กระทรวงเกษตรฯ ร่วมประชุม FAO ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เพื่อเตรียมรับมือวิกฤตความมั่นคงด้านอาหารโลก เผย ไทยเตรียมจัดทำยุทธศาสตร์รองรับ ผลักดันเป็นวาระแห่งชาติแล้ว แนะ ทุกประเทศต้องร่วมมือกันแก้ปัญหาความมั่นคงทางอาหารควบคู่ไปกับความมั่นคงทางพลังงาน
การประชุมดังกล่าว เป็นการประชุม High-Level Conference on World Food Security : The Challenges of Climate Change and Bioenergy ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ณ กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ 3-5 มิถุนายน 2551 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรฯของไทย เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งวัตถุประสงค์ของการประชุมคือ เพื่อสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพลังงานชีวภาพ รวมทั้งรับทราบนโยบายและการดำเนินงานของประเทศต่างๆในปัจจุบัน เพื่อนำมาช่วยเหลือประเทศหรือประชาคมระหว่างประเทศในการวางแผนรับมือวิกฤตอาหารอย่างยั่งยืน
ในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้แทนประทศไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมถึงนโยบายของไทย เกี่ยวกับประเด็นวิกฤตและความมั่นคงทางอาหารและพืชพลังงานว่า รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความสมดุลระหว่างการใช้พื้นที่เกษตรในการปลูกพืชอาหาร และพืชพลังงาน โดยถือเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญและเร่งด่วน มีการจัดทำยุทธศาสตร์รองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารโลกและการพัฒนาพืชพลังงาน เช่น การกำหนดเขตการเพาะปลูกสินค้าให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งพื้นที่ปลูกระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน
อย่างไรก็ตาม นโยบายความมั่นคงทางอาหารโลกจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาล ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ เช่น FAO WFP และ IFAD เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาความมั่นคงทางอาหารจะต้องทำควบคู่ไปกับความมั่นคงทางพลังงาน ทั้งนี้ รัฐบาลทุกประเทศควรเร่งดำเนินการการลงทุนด้านเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการวางระบบพื้นฐาน การพัฒนาเทคโนโลยี และการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยทางการเกษตร เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาวิกฤติดังกล่าว
อนึ่ง นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะที่ได้เข้าร่วมในคณะผู้แทนดังกล่าวด้วย ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งรัดการกำหนดกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ในการปกป้องความมั่นคงทางอาหารทั้งในปัจจุบัน ระยะกลาง และระยะยาว อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในปัจจุบันได้มีกลไกการทำงานที่ชัดเจนตามวาระแห่งชาติโดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 เรียบร้อยแล้ว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
การประชุมดังกล่าว เป็นการประชุม High-Level Conference on World Food Security : The Challenges of Climate Change and Bioenergy ขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ณ กรุงโรม สาธารณรัฐอิตาลี ระหว่างวันที่ 3-5 มิถุนายน 2551 โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายสมพัฒน์ แก้วพิจิตร) เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนจากกระทรวงเกษตรฯของไทย เข้าร่วมประชุมด้วย ซึ่งวัตถุประสงค์ของการประชุมคือ เพื่อสร้างความเข้าใจในความสัมพันธ์ระหว่างความมั่นคงด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพลังงานชีวภาพ รวมทั้งรับทราบนโยบายและการดำเนินงานของประเทศต่างๆในปัจจุบัน เพื่อนำมาช่วยเหลือประเทศหรือประชาคมระหว่างประเทศในการวางแผนรับมือวิกฤตอาหารอย่างยั่งยืน
ในโอกาสเดียวกันนี้ ผู้แทนประทศไทย ได้กล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุมถึงนโยบายของไทย เกี่ยวกับประเด็นวิกฤตและความมั่นคงทางอาหารและพืชพลังงานว่า รัฐบาลไทยได้ตระหนักถึงความจำเป็นในการสร้างความสมดุลระหว่างการใช้พื้นที่เกษตรในการปลูกพืชอาหาร และพืชพลังงาน โดยถือเป็นวาระแห่งชาติที่สำคัญและเร่งด่วน มีการจัดทำยุทธศาสตร์รองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารโลกและการพัฒนาพืชพลังงาน เช่น การกำหนดเขตการเพาะปลูกสินค้าให้ชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงการแย่งพื้นที่ปลูกระหว่างพืชอาหารและพืชพลังงาน
อย่างไรก็ตาม นโยบายความมั่นคงทางอาหารโลกจะสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องได้รับความร่วมมือจากรัฐบาล ตลอดจนองค์กรระหว่างประเทศ เช่น FAO WFP และ IFAD เป็นต้น ซึ่งการแก้ปัญหาความมั่นคงทางอาหารจะต้องทำควบคู่ไปกับความมั่นคงทางพลังงาน ทั้งนี้ รัฐบาลทุกประเทศควรเร่งดำเนินการการลงทุนด้านเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านการวางระบบพื้นฐาน การพัฒนาเทคโนโลยี และการส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยทางการเกษตร เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหาวิกฤติดังกล่าว
อนึ่ง นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ในฐานะที่ได้เข้าร่วมในคณะผู้แทนดังกล่าวด้วย ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งรัดการกำหนดกรอบนโยบาย ยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ ในการปกป้องความมั่นคงทางอาหารทั้งในปัจจุบัน ระยะกลาง และระยะยาว อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งในปัจจุบันได้มีกลไกการทำงานที่ชัดเจนตามวาระแห่งชาติโดยได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการบริหารจัดการเรื่องอาหารและพลังงานเพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤตอาหารและพลังงานของโลก ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 เรียบร้อยแล้ว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-