1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
เลี้ยงกุ้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คุณเสาวนิตย์ พงษ์ประไพ อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตร สถานทูตไทยประจำออสเตรเลียนำสื่อมวลชนนักธุรกิจและผู้บริโภคจากประเทศออสเตรเลีย มาดูกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมกุ้งไทย ในระบบการเลี้ยงแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน กลุ่มชาวออสซี่ได้สัมผัสกับระบบการเลี้ยงกุ้งแบบ Biosecure System หรือเทคโนโลยีการเลี้ยงระบบโรงเรือนปิดของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยใช้พลาสติก PE และ ตาค่ายปูรอบพื้นบ่อและด้านข้างเพื่อป้องกันพาหะนำโรค ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิ และแสงให้เหมาะสมต่อการเลี้ยง น้ำมีระบบการบำบัดกลับมาใช้ใหม่และให้อาหารแบบอัตโนมัติ โดยไม่มีน้ำเสียออกมาทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในอัตราที่หนาแน่น 600 — 800 ตัวต่อตารางเมตร ที่สำคัญสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ด้วยการบันทึกข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับวัน เวลาในการรับวัตถุดิบ และแหล่งที่มาทุกๆ อย่างที่เข้ามาสู่ระบบ เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งซีพีเอฟนี้ ไม่มีการใช้สารปฏิชีวนะใดๆ ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ตามที่เรียกว่า โปรไบโอติก ฟาร์มมิ่ง (Probiotic Farming) เพราะได้เน้นการจัดการสภาพแวดล้อมด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นมิตรกับกุ้ง ทำให้กุ้งอยู่อย่างสบาย ไม่เครียด และสามารถปรับความสมดุล ทำให้ระบบทางเดินอาหารของกุ้งสมบูรณ์และสร้างภูมิคุ้มกัน มีความต้านทานต่อโรคได้ดี โดยไม่ต้องใช้ยาในการรักษา ขณะเดียวกันการผลิตลูกกุ้งขาว ซี.พี.ไวท์ ที่ส่งให้เกษตรกรในเครือข่ายก็มีคุณภาพ ปลอดเชื้อ อัตราการรอดสูง ความต้านทานต่อโรคดี แข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ผนวกกับการจัดการฟาร์มของเกษตรกรที่ปฏิบัติตามระบบอย่างปลอดภัย เป็นการสร้างความมั่นใจในคุณภาพผลผลิตกุ้งที่เลี้ยงด้วยระบบโปรไบโอติกว่าสะอาดปลอดภัยไร้สารตกค้างอย่างแน่นอน กลุ่มชาวออสซี่มีความสนใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งของไทยว่าก้าวหน้ากว่าที่อื่นๆ ที่เคยไปเห็นมา และคิดว่าจะต้องนำไปบอกเล่าให้กับคนในประเทศฟัง แต่ไม่ทราบว่าคนออสซี่จะประท้วง หรือสร้างเงื่อนไขอย่างไรบ้างเพื่อยกเงื่อนไขต่างๆ นำมากีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าที่เปิดการค้าเสรี
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (27 พ.ค. — 2 มิ.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,088.69 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 627.44 ตัน สัตว์น้ำจืด 461.25 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.04 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.98 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.84 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.68 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.15 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 1.02 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 109.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 21 — 27 มิ.ย. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.19 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.81 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 มิถุนายน 2551--
-พห-
การผลิต
เลี้ยงกุ้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
คุณเสาวนิตย์ พงษ์ประไพ อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายการเกษตร สถานทูตไทยประจำออสเตรเลียนำสื่อมวลชนนักธุรกิจและผู้บริโภคจากประเทศออสเตรเลีย มาดูกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมกุ้งไทย ในระบบการเลี้ยงแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน กลุ่มชาวออสซี่ได้สัมผัสกับระบบการเลี้ยงกุ้งแบบ Biosecure System หรือเทคโนโลยีการเลี้ยงระบบโรงเรือนปิดของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) โดยใช้พลาสติก PE และ ตาค่ายปูรอบพื้นบ่อและด้านข้างเพื่อป้องกันพาหะนำโรค ซึ่งมีการควบคุมอุณหภูมิ และแสงให้เหมาะสมต่อการเลี้ยง น้ำมีระบบการบำบัดกลับมาใช้ใหม่และให้อาหารแบบอัตโนมัติ โดยไม่มีน้ำเสียออกมาทำลายสิ่งแวดล้อม สามารถเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ในอัตราที่หนาแน่น 600 — 800 ตัวต่อตารางเมตร ที่สำคัญสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ด้วยการบันทึกข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับวัน เวลาในการรับวัตถุดิบ และแหล่งที่มาทุกๆ อย่างที่เข้ามาสู่ระบบ เทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งซีพีเอฟนี้ ไม่มีการใช้สารปฏิชีวนะใดๆ ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง ตามที่เรียกว่า โปรไบโอติก ฟาร์มมิ่ง (Probiotic Farming) เพราะได้เน้นการจัดการสภาพแวดล้อมด้วยจุลินทรีย์ที่เป็นมิตรกับกุ้ง ทำให้กุ้งอยู่อย่างสบาย ไม่เครียด และสามารถปรับความสมดุล ทำให้ระบบทางเดินอาหารของกุ้งสมบูรณ์และสร้างภูมิคุ้มกัน มีความต้านทานต่อโรคได้ดี โดยไม่ต้องใช้ยาในการรักษา ขณะเดียวกันการผลิตลูกกุ้งขาว ซี.พี.ไวท์ ที่ส่งให้เกษตรกรในเครือข่ายก็มีคุณภาพ ปลอดเชื้อ อัตราการรอดสูง ความต้านทานต่อโรคดี แข็งแรง เจริญเติบโตเร็ว ผนวกกับการจัดการฟาร์มของเกษตรกรที่ปฏิบัติตามระบบอย่างปลอดภัย เป็นการสร้างความมั่นใจในคุณภาพผลผลิตกุ้งที่เลี้ยงด้วยระบบโปรไบโอติกว่าสะอาดปลอดภัยไร้สารตกค้างอย่างแน่นอน กลุ่มชาวออสซี่มีความสนใจในการพัฒนาอุตสาหกรรมกุ้งของไทยว่าก้าวหน้ากว่าที่อื่นๆ ที่เคยไปเห็นมา และคิดว่าจะต้องนำไปบอกเล่าให้กับคนในประเทศฟัง แต่ไม่ทราบว่าคนออสซี่จะประท้วง หรือสร้างเงื่อนไขอย่างไรบ้างเพื่อยกเงื่อนไขต่างๆ นำมากีดกันทางการค้ากับประเทศคู่ค้าที่เปิดการค้าเสรี
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (27 พ.ค. — 2 มิ.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 1,088.69 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 627.44 ตัน สัตว์น้ำจืด 461.25 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.04 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.98 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 107.84 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 51.68 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 73.15 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.59 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 32.19 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.60 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.30 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.30 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.00 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 100.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.20 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 110.18 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 1.02 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง(60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 109.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.62 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 53.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.57 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 7.57 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 7.55 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.02 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 21 — 27 มิ.ย. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 28.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 27.19 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.81 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 23 - 29 มิถุนายน 2551--
-พห-