กระทรวงเกษตรฯ ประสาน ศึกษาธิการ ร่วมกันจัดตั้งโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในโรงเรียน ปี 50 เน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่การปฏิบัติ มอบ สศก. ประเมินผล พบประสบความสำเร็จ นักเรียนส่วนใหญ่สนใจและต้องการความรู้ด้านการเกษตรเพิ่มขึ้น
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในปี 2550 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในโรงเรียน ทั้งสิ้น 160 แห่ง มีนักเรียนเข้าร่วม 12,154 ราย ได้รับงบประมาณดำเนินการโรงเรียนละ 55,000 บาท โดยแนงทางการดำเนินงานเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการปฏิบัติ ซึ่งจัดอยู่ในชั่วโมงวิชาเกษตรเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 คาบ
สำหรับเหตุผลที่นักเรียนสนใจเข้าร่วมโครงการร้อยละ 91.8 ต้องการความรู้ด้านการเกษตรเพิ่ม ร้อยละ 89.34 ต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร้อยละ 72.95 เพราะอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน ร้อยละ 26.23 คาดหวังที่จะประกอบอาชีพการเกษตรในอนาคต และร้อยละ 1.64 คิดว่าจะนำความรู้กลับไปใช้ที่บ้านเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนได้
ซึ่งผลที่เกิดขึ้นหลังจากนักเรียนเข้าร่วมทำกิจกรรมของโครงการฯ โดยภาพรวมถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ตามเป้าหมายที่ตนเองตั้งใจไว้คือ ร้อยละ 92.62 มีความรู้ด้านการเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 95.08 ทำให้ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์มากขึ้น ร้อยละ 93.44 สามารถนำความรู้กลับไปใช้ที่บ้านได้จริง ซึ่งช่วยลดรายจ่ายให้กับครอบครัว ร้อยละ 90.16 ได้บริโภคอาหารปลอดภัย / ปลอดสารพิษ และร้อยละ 83.61 มีรายได้เสริมจากการขายผลผลิตที่ทำกิจกรรมในโรงเรียน นอกจากนี้ ร้อยละ 81.15 ยังเห็นว่าการมีโครงการช่วยทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นจากการทำเกษตรแบบอินทรีย์ชีวภาพ
ด้านนายนิพนธ์ ดิลกคุณานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ประเมินผล สศก. ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า หากต้องการให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้ว โครงการควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนการคัดเลือกโรงเรียน รวมทั้งการประชุมชี้แจงความสำคัญของโครงการ รวมถึงแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนให้แก่คณะอาจารย์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้แห่งความพอเพียง ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่เป็นของนักเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายมณฑล เจียมเจริญ รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในปี 2550 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชนในโรงเรียน ทั้งสิ้น 160 แห่ง มีนักเรียนเข้าร่วม 12,154 ราย ได้รับงบประมาณดำเนินการโรงเรียนละ 55,000 บาท โดยแนงทางการดำเนินงานเน้นการให้ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควบคู่กับการปฏิบัติ ซึ่งจัดอยู่ในชั่วโมงวิชาเกษตรเฉลี่ยสัปดาห์ละ 2 คาบ
สำหรับเหตุผลที่นักเรียนสนใจเข้าร่วมโครงการร้อยละ 91.8 ต้องการความรู้ด้านการเกษตรเพิ่ม ร้อยละ 89.34 ต้องการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ร้อยละ 72.95 เพราะอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียน ร้อยละ 26.23 คาดหวังที่จะประกอบอาชีพการเกษตรในอนาคต และร้อยละ 1.64 คิดว่าจะนำความรู้กลับไปใช้ที่บ้านเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนได้
ซึ่งผลที่เกิดขึ้นหลังจากนักเรียนเข้าร่วมทำกิจกรรมของโครงการฯ โดยภาพรวมถือว่าประสบความสำเร็จพอสมควร เนื่องจากนักเรียนส่วนใหญ่ได้รับประโยชน์ตามเป้าหมายที่ตนเองตั้งใจไว้คือ ร้อยละ 92.62 มีความรู้ด้านการเกษตรเพิ่มขึ้น ร้อยละ 95.08 ทำให้ใช้เวลาว่างเป็นประโยชน์มากขึ้น ร้อยละ 93.44 สามารถนำความรู้กลับไปใช้ที่บ้านได้จริง ซึ่งช่วยลดรายจ่ายให้กับครอบครัว ร้อยละ 90.16 ได้บริโภคอาหารปลอดภัย / ปลอดสารพิษ และร้อยละ 83.61 มีรายได้เสริมจากการขายผลผลิตที่ทำกิจกรรมในโรงเรียน นอกจากนี้ ร้อยละ 81.15 ยังเห็นว่าการมีโครงการช่วยทำให้สภาพแวดล้อมดีขึ้นจากการทำเกษตรแบบอินทรีย์ชีวภาพ
ด้านนายนิพนธ์ ดิลกคุณานันท์ ผู้อำนวยการศูนย์ประเมินผล สศก. ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า หากต้องการให้การดำเนินงานเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลแล้ว โครงการควรให้ความสำคัญกับขั้นตอนการคัดเลือกโรงเรียน รวมทั้งการประชุมชี้แจงความสำคัญของโครงการ รวมถึงแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนให้แก่คณะอาจารย์ให้มากยิ่งขึ้น เพื่อให้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ สามารถเป็นศูนย์เรียนรู้แห่งความพอเพียง ซึ่งไม่ใช่เพียงแต่เป็นของนักเรียนเท่านั้น แต่ยังเป็นศูนย์เรียนรู้ของชุมชนได้อีกทางหนึ่ง
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-