1. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในประเทศ
1.1 การผลิต
เดือนกรกฎาคม 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 1.456 ล้านตัน หรือร้อยละ 16.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.49
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 3 ก.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 15,281 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 188,990 ตัน คิดเป็นร้อยละ 7.56 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา : ธ.ก.ส.)
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ค่อนข้างชะลอตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่ชะลอการรับซื้อ ประกอบกับไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ๆ จากต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาข้าวในทุกตลาดปรับตัวลดลง
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 มิถุนายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.977 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.075 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.67 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,277 บาท ราคาสูงขื้นจากตันละ 15,176 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,926 บาท ราคา ลดลงจากตันละ 12,407 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.88
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,893 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,009 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.58
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,960 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,865 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.34
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,040 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,586 บาท/ตัน)ราคาลดลงจากตันละ 1,069 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,588 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.71 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,002 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 833 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,702 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 846 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,164 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 462 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 733 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,377 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 755 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 25,135 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.91 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 758 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 895 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,764 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 925 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 30,794 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,030 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.2562 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ผลผลิตข้าวของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินโดนีเซีย รายงานว่า ข้าวเปลือกในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.7 คิดเป็น 59.9 ล้านตัน เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวและการปรับปรุงผลผลิตต่อไร่ โดยก่อนหน้านี้ทางสำนักงานสถิติฯได้คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวเปลือกจะมีจำนวน 58.3 ล้านตันเท่านั้น
2.2 ชาวนาปากีสถานร้องต้นทุนปลูกข้าวบาสมาติพุ่ง
สมาคมปลูกข้าวบาสมาติของปากีสถาน (Pakistan’s Basmati Growers Association : BGA) ได้ประณามการขาดแคลนไฟฟ้าและการปรับราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นในตลาดมืด ส่งผลให้ชาวนาปลูกข้าวบาสมาติต้องเริ่มต้นการเพาะปลูกช้าลงและยังทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอีกด้วย โดยทางสมาคมฯ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไม่มีมาตรการใด ๆ ช่วยเหลือชาวนา อีกทั้งยังปล่อยปละละเลยให้พ่อค้าน้ำมันโกงชาวนา ทางสมาคมได้ร้องขอให้รัฐบาลเอาใจใส่ดูแลชาวนาในเรื่องของราคาและการจัดสรรน้ำมันดีเซล โดยรัฐบาลอาจจะมีการเฝ้าติดตามและมีการจับกุมผู้ขายน้ำมันหากพบว่ามีการทุจริตเหมือนกับที่รัฐบาลได้วางมาตรการกับข้าวสาลี นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ได้ขอให้รัฐบาลดูแลด้านไฟฟ้าที่จำเป็นในการเพาะปลูกให้มีใช้ต่อเนื่องอย่างน้อย 16 ชั่วโมงต่อวัน
2.3 รัฐบาลฟิลิปปินส์ซื้อข้าว 60,000 ตันจากญี่ปุ่น
นายอาเธอร์ แย็ป (Arthur Yap) เลขาธิการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า ฟิลิปปินส์จะทำสัญญาซื้อข้าวเมล็ดยาวจำนวน 60,000 ตันจากญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. นี้ โดยก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้เสนอขายข้าวเมล็ดยาว 60,000 ตันและข้าวเมล็ดกลาง 140,000 ตัน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสต็อคข้าว ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศและตลาดโลกสูงขึ้น นายอาเธอร์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับเรื่องราคาและรายละเอียดอื่น ๆ ในสัญญาเพิ่งจะตกลงกันเสร็จเรียบร้อย แต่ไม่มีการเอ่ยถึงพันธุ์ข้าวที่จะนำเข้า
อนึ่ง ปีนี้ฟิลิปปินส์กลายเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุด โดยในขณะนี้ได้มีการนำเข้าข้าว 2.3 ล้านตันแล้วจากโควตาจำนวน 2.7 ล้านตัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2551--
-พห-
1.1 การผลิต
เดือนกรกฎาคม 2551 สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร คาดว่าจะมีผลผลิตข้าวนาปรังจะออกสู่ตลาด 1.456 ล้านตัน หรือร้อยละ 16.56 ของผลผลิตข้าวนาปรังทั้งหมด โดยผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงจากเดือนที่ผ่านมาร้อยละ 3.49
1.2 การตลาด
โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2551
- เป้าหมายรับจำนำ 2.5 ล้านตัน วงเงินรับจำนำ 25,000 ล้านบาทโดยรับจำนำเฉพาะข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งดำเนินการโดย
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกหนังสือรับรองผู้ปลูกข้าวนาปรัง ปี 2551
- อคส. ออกใบประทวนสินค้าให้แก่เกษตรกร
- ธ.ก.ส. รับจำนำใบประทวนที่ อคส. ออกให้แก่เกษตรกร
- ราคารับจำนำ กำหนดราคารับจำนำข้าวเปลือกเจ้านาปรังความชื้นไม่เกิน 15% ดังนี้
ชนิดข้าว ราคารับจำนำ (บาท/ตัน)
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 100% 14,000
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 5% 13,800
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 10% 13,600
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 15% 13,200
ข้าวเปลือกเจ้านาปรัง 25% 12,800
ข้าวเปลือกปทุมธานีชนิดสีได้ต้นข้าว 42 กรัม(ชนิดสีได้ต้นข้าวต่ำกว่า 42 กรัม ปรับลดตันละ 100 บาท) 14,000
- ระยะเวลารับจำนำ 15 มิ.ย. — 30 ก.ย. 51
- ผลการดำเนินงาน ณ วันที่ 3 ก.ค. 51 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 15,281 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 188,990 ตัน คิดเป็นร้อยละ 7.56 ของเป้าหมายที่รับจำนำ (ที่มา : ธ.ก.ส.)
ภาวะการซื้อขาย การซื้อขายข้าวในช่วงสัปดาห์นี้ค่อนข้างชะลอตัวต่อเนื่องจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากผู้ส่งออกส่วนใหญ่ชะลอการรับซื้อ ประกอบกับไม่มีคำสั่งซื้อใหม่ๆ จากต่างประเทศ ส่งผลให้ราคาข้าวในทุกตลาดปรับตัวลดลง
การส่งออก ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม — 30 มิถุนายน 2551 ไทยส่งออกข้าวทั้งหมด จำนวน 5.977 ล้านตันข้าวสาร เพิ่มขึ้นจาก 4.075 ล้านตันข้าวสาร ของการส่งออกข้าวในช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 46.67 (ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ)
1.3 ราคา
ราคาที่เกษตรกรขายได้ทั้งประเทศ
ราคาข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลินาปี ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 15,277 บาท ราคาสูงขื้นจากตันละ 15,176 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.67
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปี 5% ที่เกษตรกรขายได้สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 11,926 บาท ราคา ลดลงจากตันละ 12,407 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.88
ราคาข้าวเปลือกเจ้านาปีความชื้น 14-15% ที่เกษตรขายได้สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 11,893 บาท ราคาลดลงจากตันละ 13,009 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 8.58
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 19,960 บาท ราคาลดลงจากตันละ 20,865 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 4.34
ราคาส่งออก เอฟ.โอ.บี
ราคาข้าวหอมมะลิไทย ชั้น 2 (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 1,040 ดอลลาร์สหรัฐฯ (34,586 บาท/ตัน)ราคาลดลงจากตันละ 1,069 ดอลลาร์สหรัฐฯ (35,588 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.71 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,002 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 5% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 833 ดอลลาร์สหรัฐฯ (27,702 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 846 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 28,164 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.54 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 462 บาท
ราคาข้าวสารเจ้า 25% (ใหม่) ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้เฉลี่ยตันละ 733 ดอลลาร์สหรัฐฯ (24,377 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 755 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 25,135 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 2.91 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 758 บาท
ราคาข้าวนึ่ง 5% ส่งออก เอฟ.โอ.บี. สัปดาห์นี้ เฉลี่ยตันละ 895 ดอลลาร์สหรัฐฯ (29,764 บาท/ตัน) ราคาลดลงจากตันละ 925 ดอลลาร์สหรัฐฯ ( 30,794 บาท/ตัน) ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 3.24 และลดลงในรูปเงินบาทตันละ 1,030 บาท
หมายเหตุ : อัตราแลกเปลี่ยน 1 ดอลลาร์สหรัฐฯ เท่ากับ 33.2562 บาท
2. สรุปภาวะการผลิต การตลาด และราคาในต่างประเทศ
2.1 ผลผลิตข้าวของอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น
สำนักงานสถิติแห่งชาติของอินโดนีเซีย รายงานว่า ข้าวเปลือกในปีนี้เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาร้อยละ 4.7 คิดเป็น 59.9 ล้านตัน เนื่องจากการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกข้าวและการปรับปรุงผลผลิตต่อไร่ โดยก่อนหน้านี้ทางสำนักงานสถิติฯได้คาดการณ์ว่าผลผลิตข้าวเปลือกจะมีจำนวน 58.3 ล้านตันเท่านั้น
2.2 ชาวนาปากีสถานร้องต้นทุนปลูกข้าวบาสมาติพุ่ง
สมาคมปลูกข้าวบาสมาติของปากีสถาน (Pakistan’s Basmati Growers Association : BGA) ได้ประณามการขาดแคลนไฟฟ้าและการปรับราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นในตลาดมืด ส่งผลให้ชาวนาปลูกข้าวบาสมาติต้องเริ่มต้นการเพาะปลูกช้าลงและยังทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นอีกด้วย โดยทางสมาคมฯ ได้เปิดเผยเพิ่มเติมว่า รัฐบาลไม่มีมาตรการใด ๆ ช่วยเหลือชาวนา อีกทั้งยังปล่อยปละละเลยให้พ่อค้าน้ำมันโกงชาวนา ทางสมาคมได้ร้องขอให้รัฐบาลเอาใจใส่ดูแลชาวนาในเรื่องของราคาและการจัดสรรน้ำมันดีเซล โดยรัฐบาลอาจจะมีการเฝ้าติดตามและมีการจับกุมผู้ขายน้ำมันหากพบว่ามีการทุจริตเหมือนกับที่รัฐบาลได้วางมาตรการกับข้าวสาลี นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ได้ขอให้รัฐบาลดูแลด้านไฟฟ้าที่จำเป็นในการเพาะปลูกให้มีใช้ต่อเนื่องอย่างน้อย 16 ชั่วโมงต่อวัน
2.3 รัฐบาลฟิลิปปินส์ซื้อข้าว 60,000 ตันจากญี่ปุ่น
นายอาเธอร์ แย็ป (Arthur Yap) เลขาธิการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า ฟิลิปปินส์จะทำสัญญาซื้อข้าวเมล็ดยาวจำนวน 60,000 ตันจากญี่ปุ่นในเดือน ก.ค. นี้ โดยก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นได้เสนอขายข้าวเมล็ดยาว 60,000 ตันและข้าวเมล็ดกลาง 140,000 ตัน เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณสต็อคข้าว ซึ่งจะส่งผลให้ราคาข้าวในประเทศและตลาดโลกสูงขึ้น นายอาเธอร์ยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับเรื่องราคาและรายละเอียดอื่น ๆ ในสัญญาเพิ่งจะตกลงกันเสร็จเรียบร้อย แต่ไม่มีการเอ่ยถึงพันธุ์ข้าวที่จะนำเข้า
อนึ่ง ปีนี้ฟิลิปปินส์กลายเป็นผู้นำเข้าข้าวรายใหญ่ที่สุด โดยในขณะนี้ได้มีการนำเข้าข้าว 2.3 ล้านตันแล้วจากโควตาจำนวน 2.7 ล้านตัน
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 30 มิถุนายน - 6 กรกฎาคม 2551--
-พห-