สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลุยพื้นที่ 5 จังหวัดภาคอีสาน ประเมินผลการฝึกอบรมศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้าน พบทุกศูนย์สามารถถ่ายทอดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้ครอบครัว เผยเกษตรกรนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี แนะหากมีการตั้งแกนนำขยายผล จะเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญต่อไป
นายพลเวท ท้าวมหาวงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยศูนย์ประเมินผล ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เพื่อประเมินผลโครงการศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงปี 2551 จำนวน 9 ศูนย์ปราชญ์ โดยทำการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ผู้กำกับดูแล ปราชญ์และวิทยากรที่ดำเนินการฝึกอบรม กลุ่มเกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรม และสังเกตการณ์กระบวนการฝึกอบรมของแต่ละศูนย์ปราชญ์
โดยพบว่า กิจกรรมที่ถ่ายทอดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มี 11 กิจกรรม ได้แก่ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำสารกำจัดศัตรูพืช / ฮอร์โมน การเผาถ่านและน้ำส้มควันไม้ การทำอิฐดินซีเมนต์ การเพาะปลูก การคัดและการขยายพันธุ์พืช การเลี้ยงสัตว์ การผลิตสมุนไพร และยารักษาโรค การแปรรูปอาหาร การทำเครื่องอุปโภคใช้ในชีวิตประจำวัน อาชีพเสริม และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ได้รับความสนใจจากเกษตรกรผู้เข้าอบรมมากที่สุด โดยแต่ละศูนย์เรียนรู้มีจุดเน้นเน้นย้ำในแต่ละกิจกรรมแตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ ทีมประเมินผลได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านใด สามารถประยุกต์หลักสูตรการถ่ายทอดตามองค์ความรู้ได้ทัง 11ด้านดังกล่าว และตรงกับความต้องการของเกษตรกรผู้เข้าฝึกอบรม ก็จะเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันศูนย์เรียนรู้ฯ ใดมีการตั้งแกนนำในการขยายผล ประสานงานกันในกลุ่มหรือกับศูนย์เรียนรู้ฯ นี้ได้ ก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้เรียนรู้มามากยิ่ง ๆ ขึ้นไป นายพลเวท กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายพลเวท ท้าวมหาวงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร โดยศูนย์ประเมินผล ได้ลงพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี เพื่อประเมินผลโครงการศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงปี 2551 จำนวน 9 ศูนย์ปราชญ์ โดยทำการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ได้แก่ เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ผู้กำกับดูแล ปราชญ์และวิทยากรที่ดำเนินการฝึกอบรม กลุ่มเกษตรกรผู้ผ่านการฝึกอบรม และสังเกตการณ์กระบวนการฝึกอบรมของแต่ละศูนย์ปราชญ์
โดยพบว่า กิจกรรมที่ถ่ายทอดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ มี 11 กิจกรรม ได้แก่ การทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ การทำสารกำจัดศัตรูพืช / ฮอร์โมน การเผาถ่านและน้ำส้มควันไม้ การทำอิฐดินซีเมนต์ การเพาะปลูก การคัดและการขยายพันธุ์พืช การเลี้ยงสัตว์ การผลิตสมุนไพร และยารักษาโรค การแปรรูปอาหาร การทำเครื่องอุปโภคใช้ในชีวิตประจำวัน อาชีพเสริม และการอนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งกิจกรรมการทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ได้รับความสนใจจากเกษตรกรผู้เข้าอบรมมากที่สุด โดยแต่ละศูนย์เรียนรู้มีจุดเน้นเน้นย้ำในแต่ละกิจกรรมแตกต่างกันออกไป
ทั้งนี้ ทีมประเมินผลได้ตั้งข้อสังเกตว่า หากศูนย์เรียนรู้ปราชญ์ชาวบ้านใด สามารถประยุกต์หลักสูตรการถ่ายทอดตามองค์ความรู้ได้ทัง 11ด้านดังกล่าว และตรงกับความต้องการของเกษตรกรผู้เข้าฝึกอบรม ก็จะเกิดประสิทธิภาพในการดำเนินงานมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันศูนย์เรียนรู้ฯ ใดมีการตั้งแกนนำในการขยายผล ประสานงานกันในกลุ่มหรือกับศูนย์เรียนรู้ฯ นี้ได้ ก็จะเป็นพลังขับเคลื่อนกิจกรรมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้เรียนรู้มามากยิ่ง ๆ ขึ้นไป นายพลเวท กล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-