1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
การใช้พลังงานทดแทนการเพาะเลี้ยงกุ้ง
นายสุรพล ประเทืองธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้ง กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จนส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งสูงถึงร้อยละ 50 — 60 ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากเดิมร้อยละ 10 ของต้นทุนทั้งหมด โดยเฉพาะการใช้เครื่องตีน้ำเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงกุ้ง ในขณะที่ราคากุ้งกลับต่ำลงอยู่ที่ร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2550 ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาดทุนประมาณ 12,000 บาทต่อไร่ ดังนั้น จำเป็นต้องลดต้นทุนการผลิตลงด้วยการหันมาใช้พลังงานทดแทน อย่างเช่น เครื่องตีน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งเปลี่ยนจากใช้น้ำมันดีเซลมาเป็นก๊าซธรรมชาติหรือไฟฟ้าแทน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจะประหยัดพลังงานได้มากกว่าน้ำมันดีเซลประมาณ 3 — 4 เท่า ปรับปรุงเทคนิค การเลี้ยงกุ้งและเครื่องสูบน้ำในนากุ้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งลดการใช้ไฟฟ้าในส่วนที่ไม่จำเป็นในฟาร์ม เลี้ยงกุ้งด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้เลี้ยงกุ้งปิดกิจการไปแล้วจำนวนมากจากราคาน้ำมันแพงและราคากุ้งที่ตกต่ำ เหลือเพียงผู้เลี้ยงกุ้งขนาดกลาง และในอนาคตจะเหลือเพียงผู้เลี้ยงกุ้งรายใหญ่เท่านั้น หากไม่รีบแก้ปัญหา
นายกสมคมผู้เลี้ยงกุ้ง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในอนาคตกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะผลักดันให้มีการใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ในนากุ้งมากขึ้น เพื่อเจาะตลาดกลุ่มยุโรปที่นิยมกุ้งที่มีการเพาะเลี้ยงด้วยธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (10 — 16 มิ.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 989.08 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 519.79 ตัน สัตว์น้ำจืด 469.29 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.13 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.82 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 218.47 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 21.54 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.62 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 109.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 112.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 3.23 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 0.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 5 — 11 ก.ค. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.37 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2551--
-พห-
การผลิต
การใช้พลังงานทดแทนการเพาะเลี้ยงกุ้ง
นายสุรพล ประเทืองธรรม นายกสมาคมผู้เลี้ยงกุ้ง กล่าวว่า ปัจจุบันกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งได้รับผลกระทบด้านราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น จนส่งผลให้ต้นทุนการเลี้ยงกุ้งเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งสูงถึงร้อยละ 50 — 60 ของต้นทุนทั้งหมด ส่วนต้นทุนพลังงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 จากเดิมร้อยละ 10 ของต้นทุนทั้งหมด โดยเฉพาะการใช้เครื่องตีน้ำเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงกุ้ง ในขณะที่ราคากุ้งกลับต่ำลงอยู่ที่ร้อยละ 5 เมื่อเทียบกับปี 2550 ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาดทุนประมาณ 12,000 บาทต่อไร่ ดังนั้น จำเป็นต้องลดต้นทุนการผลิตลงด้วยการหันมาใช้พลังงานทดแทน อย่างเช่น เครื่องตีน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้งเปลี่ยนจากใช้น้ำมันดีเซลมาเป็นก๊าซธรรมชาติหรือไฟฟ้าแทน โดยเฉพาะพลังงานไฟฟ้าจะประหยัดพลังงานได้มากกว่าน้ำมันดีเซลประมาณ 3 — 4 เท่า ปรับปรุงเทคนิค การเลี้ยงกุ้งและเครื่องสูบน้ำในนากุ้งให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งลดการใช้ไฟฟ้าในส่วนที่ไม่จำเป็นในฟาร์ม เลี้ยงกุ้งด้วย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ผู้เลี้ยงกุ้งปิดกิจการไปแล้วจำนวนมากจากราคาน้ำมันแพงและราคากุ้งที่ตกต่ำ เหลือเพียงผู้เลี้ยงกุ้งขนาดกลาง และในอนาคตจะเหลือเพียงผู้เลี้ยงกุ้งรายใหญ่เท่านั้น หากไม่รีบแก้ปัญหา
นายกสมคมผู้เลี้ยงกุ้ง กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในอนาคตกลุ่มเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะผลักดันให้มีการใช้พลังงานลมและแสงอาทิตย์ในนากุ้งมากขึ้น เพื่อเจาะตลาดกลุ่มยุโรปที่นิยมกุ้งที่มีการเพาะเลี้ยงด้วยธรรมชาติและรักษาสิ่งแวดล้อม
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (10 — 16 มิ.ย. 2551) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 989.08 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 519.79 ตัน สัตว์น้ำจืด 469.29 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.13 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 4.82 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 218.47 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 21.54 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.62 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.28 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.61 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 1.67 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ ไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.79 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 58.07 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.28 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 111.43 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 109.29 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.14 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) สัปดาห์นี้ไม่มีรายงานราคา
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 116.03 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 112.80 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 3.23 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 110.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 57.15 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.62 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่าน 0.47 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯ เฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 10.03 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 10.04 บาท ของสัปดาห์ที่ผ่านมา 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 5 — 11 ก.ค. 2551) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.10 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 30.73 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.37 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ประจำวันที่ 7 - 13 กรกฎาคม 2551--
-พห-