สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ลงพื้นที่ประเมินผลโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด พบ ชาวนายังประสบปัญหาต้นทุนการทำนาที่สูงขึ้น เหตุจากพิษเศรษฐกิจ วอนรัฐเข้าช่วยเหลือ หวังบรรเทาความเดือดร้อน
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลัง ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อประเมินผลโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ปี 2551 ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และยโสธร เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า เกษตรกรมีปัญหาต้นทุนการทำนาสูงขึ้นมากเนื่องมาจากราคาปัจจัยการผลิต
ซึ่งแม้ว่าราคาข้าวปีนี้จะอยู่ในระดับที่สูง แต่ข้อเท็จจริงกลับพบว่า ชาวนาในทุ่งกุลาร้องไห้ไม่ได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ได้ขายข้าวไปก่อนแล้ว ประกอบกับในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา การปลูกข้าวนาปีได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลต่อผลผลิตข้าวอย่างต่อเนื่องทำให้เกษตรกรยังไม่ได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง พร้อมออกมาขอร้องให้รัฐบาลเร่งหาทางช่วยเหลือ
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหานั้นมาจากราคาปัจจัยการผลิตในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่นี้ ที่กลับขึ้นราคาแซงหน้าไปกว่าเท่าตัว ทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงค่าแรงงาน โดยเฉพาะในกลุ่มปุ๋ยเคมีที่ราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 500 — 800 บาทต่อกระสอบ เป็น 1,000 — 1,300 บาทต่อกระสอบ เป็นเหตุให้เกษตรกรบางรายต้องลดปริมาณการใช้หรือเลิกใช้ปุ๋ยเคมีไปเลย จึงส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวที่จะได้รับ อีกทั้งค่าจ้างในการเก็บเกี่ยวก็คาดว่าจะสูงขึ้นอีกตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทางกระทรวงเกษตรจะได้ร่วมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขในการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) และโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลัง ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่เพื่อประเมินผลโครงการผลิตข้าวหอมมะลิมาตรฐานเพื่อการส่งออกในทุ่งกุลาร้องไห้ปี 2551 ในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ 5 จังหวัด ได้แก่ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ศรีสะเกษ และยโสธร เมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายนที่ผ่านมา ซึ่งพบว่า เกษตรกรมีปัญหาต้นทุนการทำนาสูงขึ้นมากเนื่องมาจากราคาปัจจัยการผลิต
ซึ่งแม้ว่าราคาข้าวปีนี้จะอยู่ในระดับที่สูง แต่ข้อเท็จจริงกลับพบว่า ชาวนาในทุ่งกุลาร้องไห้ไม่ได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่สูงขึ้น ทั้งนี้เพราะเกษตรกรส่วนใหญ่ได้ขายข้าวไปก่อนแล้ว ประกอบกับในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา การปลูกข้าวนาปีได้รับผลกระทบจากภาวะฝนแล้งและฝนทิ้งช่วง ส่งผลต่อผลผลิตข้าวอย่างต่อเนื่องทำให้เกษตรกรยังไม่ได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่เพิ่มขึ้นอย่างแท้จริง พร้อมออกมาขอร้องให้รัฐบาลเร่งหาทางช่วยเหลือ
นายอภิชาต กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัญหานั้นมาจากราคาปัจจัยการผลิตในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่นี้ ที่กลับขึ้นราคาแซงหน้าไปกว่าเท่าตัว ทั้งปุ๋ยเคมี สารเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงค่าแรงงาน โดยเฉพาะในกลุ่มปุ๋ยเคมีที่ราคาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 500 — 800 บาทต่อกระสอบ เป็น 1,000 — 1,300 บาทต่อกระสอบ เป็นเหตุให้เกษตรกรบางรายต้องลดปริมาณการใช้หรือเลิกใช้ปุ๋ยเคมีไปเลย จึงส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวที่จะได้รับ อีกทั้งค่าจ้างในการเก็บเกี่ยวก็คาดว่าจะสูงขึ้นอีกตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ซึ่งทางกระทรวงเกษตรจะได้ร่วมหารือเพื่อหาแนวทางแก้ไขในการลดต้นทุนการผลิตให้กับเกษตรกรต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-